บทคัดย่อ
เป็นการวิจัยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการถอดบทเรียน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมพร้อม ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นการตรวจสอบและสังเคราะห์ข้อมูล ขั้นการจัดเก็บข้อมูล ขั้นเผยแพร่การถอดบทเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. จำนวน 207 คน ที่รับผิดชอบดำเนินงานควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชนจาก 8 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 7, 8, 9, และ 10 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและจากการสนทนากลุ่มจำนวน 16 กลุ่มๆ ละ 12-13 คน เกี่ยวกับการดำเนินงานเฝ้าระวังฯ 5 ด้าน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าความเที่ยง 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า อสม. มีการดำเนินงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชน สูงสุดคือการค้นหาคัดกรองกลุ่มเสี่ยง (ร้อยละ 97.6) รองลงมาคือการเคาะประตูเยี่ยมบ้านติดตามสังเกตอาการ (ร้อยละ 89.4) การเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงานของ อสม. (ร้อยละ 87.0) การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน (ร้อยละ 86.0) และจัดทำบัญชีรายชื่อกลุ่มเสี่ยงแยกกลุ่มเสี่ยงเพื่อสังเกตอาการ (ร้อยละ 84.5) ตามลำดับ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า อสม. เป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังและควบคุมโรคโควิด-19 ในระดับหมู่บ้าน อสม.ดำเนินการตามข้อสั่งการของศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับตำบลที่สอดรับกับนโยบายมาตรการของประเทศ อสม. มีการเตรียมพร้อมป้องกันตนเอง ติดตามเคาะประตูเยี่ยมบ้าน เพื่อดูแลและติดตามการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยง ให้ความรู้และแจกจ่ายอุปกรณ์การป้องกันตนเองแก่ประชาชน รายงานผลการดำเนินงานต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่ ผ่านไลน์กลุ่มและแอปลิเคชันอื่นๆ ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานฯ คือ อสม.มีประสบการณ์ทำงานด้านสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่อง อสม.มีการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายและได้รับความร่วมมือจากชุมชน มีสิ่งสนับสนุนและมีการกำกับติดตาม อุปสรรคในการดำเนินงานฯ คือ ขาดความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการรายงาน ขาดแนวทางการทำงานที่ชัดเจน อุปกรณ์ป้องกันตนเองไม่เพียงพอ ข้อเสนอเชิงนโยบายทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศคือ ควรพัฒนาศักยภาพของ อสม.ในด้านการจัดทำโปรแกรมแนวทางการทำงาน ด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านการบูรณาการการทำงานแบบเครือข่าย
บทคัดย่อ
This mixed method research aimed to learn lessons leading to policy suggestions from the implementation of surveillance, prevention and control of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) pandemic in communities by village health volunteers (VHVs) in the north-east, Thailand. The lessons were extracted through a 5 steps process; project preparation or definition, data collection, verification and synthesis of data, storage of data and dissemination of learning. The sample size consisted of 207 VHVs from 8 provinces of health regions 7, 8, 9, and 10. Data were collected by 16 focus group discussions (12-13 members in a group) and a questionnaire survey based on practice guidelines for VHV on surveillance for COVID-19 as defined by the Department of Health Services Support, Ministry of Public Health. The questionnaire validated by 3 experts and achieved a reliability score of 0.94. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and qualitative by content analysis. Quantitative analysis, found 97.6% of VHVs respondents performed searching and screening of high risk groups, 89.4% conducted home visits to follow-up on sign and symptom, 87.0% prepared themselves for protection, 86.0% created performance reports and 84.5% consolidated reports of high-risks groups under observation. The VHVs were under the top-down guidance of the district-level Department of Disease Control’s policies. The qualitative analysis revealed that the VHVs were an integral part of village-level prevention strategy. The VHVs took steps to ensure self-precaution while visiting houses similar to disease control officers. The VHV also communicated with villagers regarding risks, disease knowledge including distributing protective equipment. The VHVs continuously reported to the local health professionals via LINE groups and other applications. The success of the project was attributable to the local VHVs and their dedication including their volunteer compassion, in addition, cooperation between networks and the communities, support, and monitoring. However, limitations were the knowledge, skills, technology including lack of clear operation guidelines, insufficient protective equipment, levels of cooperation between networks and citizens. Therefore, policies suggestions were on development of management infrastructure, capacity building of VHVs potential and knowledge, guideline and operation handbook, management of information technology and the network integration.