บทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เริ่มเข้าสู่ประเทศไทยในต้นปี 2563 และแพร่กระจายเป็นภัยคุกคามโลกอย่างกว้างขวาง (Pandemic) มีผู้ป่วยใน 2 ปี มากกว่า 500 ล้านคน และเสียชีวิตกว่า 6 ล้านคน ทุกประเทศต้องประกาศใช้มาตรการในภาวะฉุกเฉิน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตปกติ และก่อให้เกิดวิกฤติทางสังคมและเศรษฐกิจตามมาอย่างรุนแรง รัฐบาลในทุกประเทศจึงหันมาหาทางสร้างความสมดุลระหว่างการป้องกันควบคุมโรคกับการฟื้นศักยภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศให้คืนมาใน พ.ศ. 2565 เป้าประสงค์ การวินิจฉัยและเฝ้าระวังของประเทศไทยในปีแรก มุ่งที่ประชากรจากจุดตรวจคัดกรอง ผู้เดินทางผ่านแดนและวิเคราะห์ด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งมีปริมาณการตรวจที่จำกัด ส่งผลให้ระบบเฝ้าระวังติดตามโรคโควิด-19 ที่เสนอต่อสาธารณชนขาดความครอบคลุมถึงสถานการณ์ในชุมชน จึงขาดข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต้องใช้ในการวางแผนป้องกันควบคุมโรค อีกทั้ง ไม่ครอบคลุมถึงประสิทธิผลของมาตรการและผลกระทบที่เกิดต่อสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งบั่นทอนศักยภาพและกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป้าประสงค์สำคัญ มุ่งทดสอบปรับวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางชีวภาพการแพทย์และศึกษาทบทวนกรอบการจัดการระบบเฝ้าระวังติดตามปัญหาโควิด-19 ในนานาชาติ เพื่อนำมาปรับใช้ในการเฝ้าระวังและติดตามโรคให้เท่าทันการแพร่ระบาดของไวรัส SAR-CoV-2 ที่กลายพันธุ์เร็ว การปรับเปลี่ยนสถานะภูมิคุ้มกันของประชากรกลุ่มต่างๆ ทั้งที่ถูกกระตุ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติและการได้รับวัคซีนที่มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วหลากหลายชนิดในแต่ละพื้นที่ชุมชน สำหรับให้ทั้งผู้รับผิดชอบนโยบายในพื้นที่ชุมชนและในระดับประเทศ ได้นำมาใช้พิจารณาปรับมาตรการดำเนินงานควบคุมโรคให้มีประสิทธิผลดีขึ้นโดยไม่ก่อข้อจำกัดทางสังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนเสริมหนุนแต่ละพื้นที่ให้เพิ่มสมรรถนะการใช้ข่าวสารการเฝ้าระวังติดตามโรคสำหรับวางแผนจัดการควบคุมโรคได้เหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไขเหตุปัจจัยของการแพร่ระบาดซึ่งแตกต่างกันในแต่ละชุมชน ระเบียบวิธี การเลือกพื้นที่ชุมชนในอำเภอทุ่งยางแดงและอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นตัวแทนของชุมชนเฉพาะที่มีการตรวจวัดการติดเชื้อและภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 และได้รับการติดตามต่อเนื่องมาเป็นประชากรศึกษาในปี พ.ศ. 2564 เพื่อตรวจภูมิคุ้มกันด้วยวิธี ELISA เปรียบเทียบกับผลการตรวจด้วย RT-PCR จากการคัดกรองในปี พ.ศ. 2563 รวมทั้งนำตัวอย่างเลือดมาทำการตรวจหา Specific T cell Immunity และปฏิกิริยา Cytokines ของกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนนำน้ำกลั้วคอมาตรวจ Mass spectrometry เพื่อตรวจหาโปรตีนของเชื้อในน้ำลาย ทั้งนี้ เพื่อศึกษาปรับปรุงรูปแบบ วิธีการและกระบวนการวิเคราะห์ในการรวบรวมสารส่งตรวจจากพื้นที่นำส่งสู่ห้องปฏิบัติการกลางในกรุงเทพฯ และปรับการตรวจวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 การทบทวนเอกสารเกี่ยวกับการปรับใช้เทคนิควิธีที่เหมาะสมกับการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ในการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาและข้อเสนอให้ใช้ในนานาประเทศใน พ.ศ. 2565 ประกอบการวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอในการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในวาระที่จะปรับนโยบายสู่การควบคุมโรคประจำถิ่นในประเทศไทย ผลการศึกษา ผลการตรวจภูมิคุ้มกันด้วยวิธี ELISA และการตรวจหาการติดเชื้อด้วยการคัดกรองด้วย Antigen Test Kit (ATK) และการตรวจ RT-PCR เป็นเครื่องมือการติดตามเฝ้าระวังการติดเชื้อยังสามารถนำมาใช้ในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ส่วนการตรวจหา Specific T cell Immunity สามารถปรับเทคนิควิธีให้ทำได้ในระดับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ส่วนการตรวจหา Cytokine Th1 ได้ปรับให้นำมาใช้สำหรับตรวจและคาดการณ์ผู้ป่วยที่ควรรับไว้ในโรงพยาบาล ส่วนวิธี Mass Spectrometry ยังไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย บทสรุป การปรับใช้วิธีการตรวจสำคัญทั้ง 4 วิธี ให้เหมาะสมกับข้อจำกัดของหน่วยบริการและห้องปฏิบัติการกับแนวทางการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ทางด้านประชาคมและขอบเขตยุทธศาสตร์การจัดระบบเฝ้าระวังและติดตามโรคได้นำมาจัดทำเป็นข้อเสนอในการกำหนดนิยาม จัดวางแนวทางและยุทธศาสตร์ทางเลือกสำหรับการกำหนดระบบและระเบียบวิธีการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในประเทศไทย สำหรับใช้ประกอบการวางแผนจัดการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ในระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ
บทคัดย่อ
Background Thailand was firstly imported SARS-CoV-2 from Travelers from China in January 2020. As COVID-19 has transmitted globally as pandemic to cause more than 500 million cases and 6 million deaths in last 2 years. Emergency disaster measure has been enforced which has impacted to social-economic crisis in most of the countries. Thus, every country redirect effort to modify its disease prevention and control measures to compensate for social and economic downturn. Purposes In the first year of pandemic, surveillance of COVID-19 in Thailand has been constrained by focusing to mobility populations at the screening immigration ports for imported travelers and tested by RT-PCR technic. The surveillance information has been daily reported for public. Thus, the disease control managers at local level would never have sufficient intelligence for planning and adjust intervention measures to facilitate their own community socio-economic resilience. The study aims to modify tests from medical laboratory as biomarkers for monitor rapid genomic variation of SARS-CoV-2; Immunological status of population from both natural infection and variation type of vaccination; as well as effectiveness of each social and public health measures applied to each community. Such intelligence should be strong basis for planning at national as well as local level. Methodology Community from Thungyangdaeng District and Yarang District, Pattani Province has been selected to represent an area-based population which were infected and studied since 2020 as longitudinal cohort study of RT-PCR test and Immunity study for 2 years. The study included the preparatory phase of the 2 community hospitals and teams for collecting information and specimens; conveyance of specimens to central laboratory in Bangkok; modification technic of laboratory procedures to fit with the test requirement; and feedback the analysis to depict the existing epidemic situation of COVID-19 in local area. The immunity status of population will be tested by ELISA. The incidence and prevalence of COVID-19 in community has been estimated from the RT-PCR test and immunological study. Specific T cell Immunity and Cytokines reaction in the populations’ specimens has been study in the Central Lab. Throat gargle from the population has been tested through Mass Spectrometry to identify protein of SARS-CoV-2 in the central lab as well. Literature review have been conducted to study the evolution of COVID-19 Surveillance and Monitoring system employed in international recommendation and emerging technology for evaluate the situation of local disease control management. These novel technology and systems might be applied to be recommendation to improve the country’s and local level’s COVID-19 surveillance and monitoring systems in Thailand. Result ELISA based Immunological test, Antigen Test Kit (ATK), RT-PCR can be main tools for monitor of Incidence of infection, and sustainable immunology in individual community and at the country level. Specific T cell Immunity and Cytokine Th1 test requires further modification in transportation to Laboratory and adjustment of Lab technic. These 2 tests would be benefit to justification of the duration of immunity and prediction of severity of infection as well as durable prevention of individual and community Immunity. However, Mass Spectrometry has not been well supported for application in Thailand. Systematic surveillance of SARS-CoV-2 and its variants in wastewater may be trialed for sequencing analysis as environment surveillance. Conclusion Modification of 4 tests have been recommended to be feasible to be applied to COVID-19 Surveillance and Monitoring in Thailand. Environmental surveillance (SARS-CoV-2 variants in Wastewater) may be experimented in high-risk area. Definition of systematic COVID-19 surveillance and its strategy and wholistic scope of monitoring in all related sectors in area-based and National level should be established