บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ขาดส่งเงินสมทบหรือส่งเงินสมทบไม่ต่อเนื่อง โดยเก็บข้อมูล 2 วิธี คือ 1) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับอาสาสมัครแรงงานและเครือข่ายประกันสังคมตามมาตรา 40 จำนวน 9 คน จากลำพูน บุรีรัมย์ ขอนแก่น กรุงเทพมหานคร และภูเก็ต และผู้ที่มีประสบการณ์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 และ 40 และมีส่วนช่วยส่งเสริมการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมจำนวน 1 คน จากกรุงเทพมหานคร และ 2) ทบทวนความเห็นเกี่ยวกับประกันสังคมตามมาตรา 40 ที่ประชาชนเขียนเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ระหว่าง พ.ศ. 2559–2564 ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุและอุปสรรคของการขาดส่งเงินสมทบหรือส่งเงินสมทบไม่ต่อเนื่อง ประกอบด้วย ขั้นตอนและเอกสารในการเบิกเงินยุ่งยาก จำนวนเงินบำเหน็จน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ สิทธิประโยชน์ไม่เท่าเทียมกับประกันอื่น การไม่ทราบถึงผลกระทบของการขาดส่งเงินสมทบ การไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรหลังขาดส่งเงินสมทบ การหลงลืมวัน ความไม่สะดวกส่งเงินสมทบตามช่องทางที่มีอยู่ และการไม่มีเงินส่ง ข้อค้นพบนี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางในการลดปัญหาและอุปสรรคในการขอรับประโยชน์ทดแทนเพื่อป้องกันไม่ให้ผลกระทบขยายวงกว้างไปสู่แรงงานนอกระบบที่ยังไม่เข้าระบบประกันสังคมและผู้ประกันตนที่ยังไม่เคยขอรับประโยชน์ทดแทน แนวทางการสื่อสารสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการขาดส่งเงินสมทบ และระบบแจ้งเตือนและช่องทางการส่งเงินสมทบที่เข้าถึงผู้ประกันตนในพื้นที่นอกเขตเมือง
บทคัดย่อ
The present qualitative study aimed to explore and understand reasons why insured persons under Social Security Act Article 40 missed paying contribution. Two data collection methods were used. First, telephone interviews, data were collected from nine village labour volunteers and community-based social security network members for Article 40 and one insured person who had experiences with Article 33, 39, and 40. The informants were from Lamphun, Burriram, Khon Kaen, Bangkok, and Phuket. Second, online public comments related to Social Security Act Article 40 published during 2011-2021 were reviewed. The findings showed that reasons the insured persons under Article 40 missed contribution payment included: too complex procedures of benefit claim, less elderly lump sum than expected, unequal benefits compared to other insurance schemes, not knowing the consequences of missed contribution payment, not knowing what and how to do when having missed contribution payments, being unaware of contribution payment deadline, inconvenience with available contribution payment channels, and poverty. These findings suggest eliminating barriers and improving ease of claiming benefits, raising awareness of health risks and consequences of missing contribution payments on benefit claims, and developing out-reach communication for contribution payment alert system, and easy to access contribution payment methods in remote communities.