Show simple item record

Understanding Perceived Needs for Tooth Replacement in Older Adults: A Case Study of Dan Kwian

dc.contributor.authorณัฐพล ถินสถิตย์th_TH
dc.contributor.authorNatthapol Thinsathidth_TH
dc.contributor.authorมัทนา เกษตระทัตth_TH
dc.contributor.authorMatana Kettratadth_TH
dc.date.accessioned2022-12-29T03:50:59Z
dc.date.available2022-12-29T03:50:59Z
dc.date.issued2565-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2565) : 456-471th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5788
dc.description.abstractการสูญเสียฟันอาจมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างไม่ตรงไปตรงมานัก การสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งล่าสุดพบว่า ผู้สูงอายุที่ทันตแพทย์แนะนำให้ใส่ฟันทดแทน มีเพียงจำนวนครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มารับบริการใส่ฟัน แม้จะมีการสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐให้ใส่ฟันทดแทนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการรักษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการใส่ฟันทดแทนของผู้สูงอายุ โดยเจาะจงเลือกผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลด่านเกวียนซึ่งเคยได้รับการแนะนำให้ใส่ฟันจากทันตาภิบาล เป็นผู้ที่เคยใส่ฟันเทียมแต่ปัจจุบันไม่ได้ใส่ และผู้ไม่เคยไปรับบริการใส่ฟันเทียมเลย ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งพบว่าข้อมูลอิ่มตัวเมื่อสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 29 คน จากการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัยพบว่าความต้องการใส่ฟันของผู้สูงอายุมี 2 ประเด็นหลักที่น่าสนใจ ประเด็นแรกเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการใส่ฟัน 1.1) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุอยากใส่ฟัน คือ การเล่าปากต่อปากของเพื่อนบ้าน และ การชักชวนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน 1.2) บทบาทของฟันต่อการเข้าสู่สังคมกระตุ้นให้อยากใส่ฟันไม่แพ้เรื่องอาหารและโภชนาการ และ 1.3) ค่าใช้จ่ายทางอ้อมในการมาใส่ฟันทำให้ความอยากใส่ฟันลดลง และประเด็นที่สองพบว่าความต้องการใส่ฟันสามารถเปลี่ยนแปลงลื่นไหลได้ตามกาลเวลา อันเนื่องมาจาก 2.1) วัฒนธรรมการปล่อยวางเมื่ออายุหรือมีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น และ 2.2) เหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงเวลาต่างกันทำให้ความต้องการใส่ฟันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ การไม่ไปใส่ฟัน อาจไม่ได้แปลว่าไม่อยากใส่ โดยสรุปแล้วข้อมูลเชิงลึกจากงานวิจัยนี้อาจนำไปปรับใช้กับนโยบายเพื่อทำให้ความต้องการใส่ฟันทดแทนให้กับผู้สูงอายุจากมุมมองของทันตบุคลากรและมุมมองของผู้สูงอายุในพื้นที่ใกล้เคียงกันมากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isoenth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.subjectQuality of Lifeth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectฟันปลอมth_TH
dc.titleการทำความเข้าใจความต้องการใส่ฟันทดแทนของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาด่านเกวียนth_TH
dc.title.alternativeUnderstanding Perceived Needs for Tooth Replacement in Older Adults: A Case Study of Dan Kwianth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeTooth loss holds a complex relationship with oral health-related quality of life. A recent national survey reported only half of Thai elderly population with fewer than 20 remaining teeth had their dentures made, despite a policy promoting denture fabrication free of charge. The aim of this study was to explore the perspectives of older adults’ perceived needs for tooth replacement. We purposefully selected older adults living in Dan Kwian subdistrict who were identified with a denture needed by a dental nurse but not currently wearing the prosthesis, for a face-to-face in-depth semi-structure interview. Data saturation was reached with 29 older adults. Inductive content analysis of the interview transcripts yielded two main themes. First, the factors influencing the needs for denture were: 1.1) “the word of mouth from neighbors & the village health volunteer as the main influencer” inducing the needs; 1.2) the socialization stimulated the needs; and 1.3) indirect cost despite free denture hindering the needs. Second, the dynamic of conflicting priorities: 2.1) from attach to detach once getting old or being ill; 2.2) changing perceived needs over time in response to changes in life circumstance. In sum, insights from this study may help reduce the discrepancies between professionally defined needs and the patient perceived needs.th_TH
dc.subject.keywordTooth Replacementth_TH
dc.subject.keywordฟันทดแทนth_TH
.custom.citationณัฐพล ถินสถิตย์, Natthapol Thinsathid, มัทนา เกษตระทัต and Matana Kettratad. "การทำความเข้าใจความต้องการใส่ฟันทดแทนของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาด่านเกวียน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5788">http://hdl.handle.net/11228/5788</a>.
.custom.total_download287
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month9
.custom.downloaded_this_year57
.custom.downloaded_fiscal_year117

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v16n ...
Size: 1.899Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record