dc.contributor.author | อุษา ฉายเกล็ดแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Usa Chaikledkaew | th_TH |
dc.contributor.author | มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Montarat Thavorncharoensap | th_TH |
dc.contributor.author | จิระพรรณ จิตติคุณ | th_TH |
dc.contributor.author | Jiraphun Jittikoon | th_TH |
dc.contributor.author | ศิตาพร ยังคง | th_TH |
dc.contributor.author | Sitaporn Youngkong | th_TH |
dc.contributor.author | สุรัคเมธ มหาศิริมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | Surakameth Mahasirimongkol | th_TH |
dc.contributor.author | พนิดา อยู่เพ็ชร | th_TH |
dc.contributor.author | Panida Yoopetch | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-01-31T08:35:14Z | |
dc.date.available | 2023-01-31T08:35:14Z | |
dc.date.issued | 2565-12 | |
dc.identifier.other | hs2938 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5817 | |
dc.description.abstract | วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย M. Tuberculosis ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอด ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ง่าย ผู้สัมผัสที่อยู่ใกล้ชิดมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคหรือติดเชื้อวัณโรคแฝง ซึ่งมีโอกาสพัฒนาไปเป็นผู้ป่วยวัณโรค วิธีการวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคแฝงที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ 1) การทดสอบทางผิวหนัง (Tuberculin skin test, TST) 2) การตรวจเลือดเพื่อวัดการหลั่งของ Interferon gamma (Interferon-gamma release assays, IGRAs) ในประเทศไทยการตรวจวินิจฉัยวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสด้วย IGRA มีราคาสูงและยังไม่ถูกบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ดังนั้น การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการวินิจฉัยและการรักษาวัณโรคแฝงจึงเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายยุติวัณโรคที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณโดยใช้มุมมองทางสังคมและมุมมองของรัฐบาล รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ของมาตรการค้นหาและตรวจวินิจฉัยวัณโรคแฝง วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง Decision tree และ Markov เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณ โดยใช้ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและมีกรอบระยะเวลาตลอดชีวิต ต้นทุนและผลลัพธ์ในอนาคตถูกปรับค่าให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราการปรับลดร้อยละ 3 ต่อปี อ้างอิงตามข้อเสนอแนะของคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย วิเคราะห์ความไม่แน่นอนของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์ความอ่อนไหวแบบทางเดียวและแบบอาศัยความน่าจะเป็น ทางเลือกสำหรับมาตรการวินิจฉัยวัณโรคแฝง ได้แก่ 1) ไม่มีการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคแฝง 2) ทดสอบด้วย TST และหากพบผลเป็นบวก จะให้การรักษาวัณโรคแฝง 3) ทดสอบด้วย IGRA และหากพบผลเป็นบวกจะให้การรักษาวัณโรคแฝง และทำการประเมินความเป็นไปได้ของการวินิจฉัยวัณโรคแฝง โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมและการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา: ค่าอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental cost-effectiveness ratio, ICER) ของการทดสอบด้วย IGRA เมื่อเปรียบเทียบกับการทดสอบด้วย TST มีค่าเท่ากับ 1,220,287 บาทต่อปีสุขภาวะ ณ ความเต็มใจจ่าย 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ แสดงให้เห็นว่าการทดสอบด้วย IGRA ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ แต่หากราคา IGRA ลดลงเท่ากับ 575 บาท การทดสอบด้วย IGRA จะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในบริบทของประเทศไทย ภาระงบประมาณที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 5 ปี สำหรับการทดสอบด้วย TST และ IGRA เท่ากับ 148 ล้านบาท และ 330 ล้านบาท ตามลำดับ ความเป็นไปได้ของการวินิจฉัยวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสปัจจุบันอาจยังไม่มีความพร้อมในทางปฏิบัติ เนื่องด้วยข้อจำกัดของจำนวนห้องปฏิบัติการและเจ้าหน้าที่ชันสูตร | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | วัณโรค | th_TH |
dc.subject | Tuberculosis | th_TH |
dc.subject | วัณโรค--ผู้ป่วย | th_TH |
dc.subject | Tuberculosis--Patients | th_TH |
dc.subject | วัณโรค--การวินิจฉัย | th_TH |
dc.subject | Tuberculosis--Diagnosis | th_TH |
dc.subject | วัณโรค--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | Tuberculosis--Prevention & Control | th_TH |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Economics | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนต่อหน่วย | th_TH |
dc.subject | Cost--Analysis | th_TH |
dc.subject | Cost-Benefit Analysis | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ความคุ้มทุน | th_TH |
dc.subject | ค่ารักษาพยาบาล--การวิเคราะห์ต้นทุน | th_TH |
dc.subject | ค่าบริการทางแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical Fees | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการค้นหาและตรวจวินิจฉัยวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค | th_TH |
dc.title.alternative | Economic Evaluation of Programmatic Screening Strategies for Latent Tuberculosis Infection (LTBI) in TB Contacts | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Introduction: Tuberculosis (TB) is a communicable disease caused by M. tuberculosis. Contacts of TB cases become clinically active TB or remain in the latent tuberculosis infection (LTBI), which is subsequent progression to tuberculosis disease. Currently, the available tests for LTBI diagnosis include tuberculin skin test (TST) and interferon-gamma release assay (IGRA). In Thailand, IGRA test is costly and has not been included in the benefit package. The results from this study can be used as an evidence informed policy whether IGRA test should be included in the benefit package and can be applied to support the strategies to eradicate TB. Objectives: To evaluate cost-utility analysis, budget impact analysis and feasibility analysis of LTBI diagnosis for contacts of TB patients using societal and government perspectives. Methodology: Cost-utility analysis using a decision tree and Markov model was performed to simulate the costs and utilities, and to estimate the budget impact of contacts with pulmonary TB patients. All parameters were obtained from published studies. Lifetime horizon was applied with both costs and outcomes discounted by 3%, as recommended by the guidelines of economic evaluation in Thailand. One way and probabilistic sensitivity analyses were conducted to examine the uncertainty of input parameters. This study considered three alternative diagnosis strategies as follows: 1) No screening, 2) TST alone to diagnose LTBI, if TST test was positive, treatment would be provided, and 3) IGRA alone to diagnose LTBI, if IGRA test was positive, treatment would be provided. Focus group discussion and literature reviews were applied for feasibility analysis. Results: The incremental cost-effectiveness ratios (ICER) of IGRA alone compared with TST alone was THB 1,220,287 per QALY gained. At the willingness to pay (WTP) THB 160,000 per QALY gained, IGRA would not be cost-effective. If the price of IGRA was decreased to THB 575 per test, the strategy of IGRA would be cost-effective. Five-year budget for TST and IGRA was estimated to be THB 148 million and THB 330 million, respectively. The barriers for IGRA implementation were lack of laboratory infrastructure and limited availability of laboratory personnel. | th_TH |
dc.identifier.callno | W74 อ864ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 64-018 | |
dc.subject.keyword | วัณโรคแฝง | th_TH |
dc.subject.keyword | Latent Tuberculosis Infection | th_TH |
dc.subject.keyword | LTBI | th_TH |
dc.subject.keyword | Economic Evaluation | th_TH |
.custom.citation | อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, Usa Chaikledkaew, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, Montarat Thavorncharoensap, จิระพรรณ จิตติคุณ, Jiraphun Jittikoon, ศิตาพร ยังคง, Sitaporn Youngkong, สุรัคเมธ มหาศิริมงคล, Surakameth Mahasirimongkol, พนิดา อยู่เพ็ชร and Panida Yoopetch. "การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการค้นหาและตรวจวินิจฉัยวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5817">http://hdl.handle.net/11228/5817</a>. | |
.custom.total_download | 91 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 35 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 6 | |