บทคัดย่อ
Global Diet Quality Score (GDQS) เป็นหนึ่งในดัชนีประเมินภาพรวมของคุณภาพการบริโภคอาหาร ที่ครอบคลุมทั้งด้านความเสี่ยงของการขาดสารอาหารและความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ที่ผ่านมามีการทดสอบความแม่นยำเที่ยงตรงโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากประเทศต่างๆ อย่างไรก็ตามการนำ GDQS มาประยุกต์ในประชากรไทยยังมีความจำเป็นที่ต้องทดสอบประสิทธิภาพ เนื่องจากอาหารไทยมีความหลากหลายของส่วนประกอบอาจทำให้การใช้ GDQS เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของการขาดสารอาหารและความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ผลที่แตกต่างจากการศึกษาที่ผ่านมา วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ GDQS ในการบ่งชี้การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอและความเสี่ยงต่อการเกิดโรค วิธีวิจัย ดำเนินการศึกษาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ไทย จำนวน 600 คน อายุ 40-60 ปี คำนวณ GDQS จากการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์อาหารที่บริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (24-hr dietary recall, 24HR) การสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามความถี่การบริโภคอาหารกึ่งปริมาณ (Semi-quantitative food frequency questionnaire, FFQ) และการใช้ GDQS-Assessment System (GDQS-AS) อีกทั้งคำนวณดัชนีบ่งชี้ความหลากหลายในอาหารขั้นต่ำสำหรับผู้หญิง (Minimum Dietary Diversity for Women, MDD-W) และดัชนีการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ (Alternative Healthy Eating Index-2010, AHEI-2010) ประเมินภาวะโภชนาการด้วยการวัดสัดส่วนร่างกายและองค์ประกอบร่างกาย วัดความดันโลหิตและตรวจวัดค่าชีวเคมี ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีประเมินภาพรวมของคุณภาพการบริโภคอาหารต่างๆ กับผลลัพธ์ด้วยสถิติความสัมพันธ์สเปียร์แมนและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แล้วใช้ Wolfe test และ Wald test เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของดัชนีต่างๆ ผลการศึกษา พบภาวะน้ำหนักเกินจนถึงอ้วน (ค่าดัชนีมวลกาย ≥25 กก./ม2) ร้อยละ 47.5 พบภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 8.9 และ 23.8 ภาวะความดันโลหิตสูงพบ ร้อยละ 54.1 และ 39.4 และภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ร้อยละ 42.5 และ 35.9 ในเพศชายและเพศหญิง ค่าเฉลี่ยโซเดียมที่ขับออกในปัสสาวะคิดเป็น 3,397 มก./วัน (147.7 มิลลิโมล/วัน) คะแนน GDQS ที่คำนวณจาก GDQS-AS และ FFQ มีความใกล้เคียงกัน ในขณะที่คะแนน GDQS-24HR ต่ำกว่า การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า คะแนน GDQS ที่ได้จาก GDQS-AS สามารถสะท้อนได้ทั้งสารอาหารที่ได้รับ ความเพียงพอของสารอาหารและผลลัพธ์ทางโภชนาการได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนน GDQS ที่ได้จากการสัมภาษณ์ด้วย 24HR และ FFQ โดยภาพรวมไม่พบความแตกต่างในประสิทธิภาพของ GDQS, MDD-W และ AHEI-2010 ในการบ่งชี้การได้รับสารอาหารเพียงพอและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่ GDQS ที่คำนวณจาก FFQ สามารถบ่งชี้การได้รับสารอาหารเพียงพอได้ดีกว่า ในขณะที่ AHEI-2010 ที่คำนวณจาก FFQ สามารถทำนายผลลัพธ์ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ดีกว่า สรุป โดยภาพรวม GDQS-AS มีประสิทธิภาพดีกว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีอื่นในแง่ของความสัมพันธ์กับสารอาหารและผลลัพธ์ทางโภชนาการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อประเมินคุณภาพการบริโภคอาหารได้ ในขณะที่ GDQS ที่คำนวณจาก FFQ ยังสามารถบ่งชี้ด้านการได้รับสารอาหารเพียงพอได้ดีกว่า ทั้งนี้การศึกษานี้สะท้อนเพียงความสัมพันธ์แบบภาคตัดขวางของ GDQS กับความเพียงพอของสารอาหารที่ได้รับและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่าง GDQS กับความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป
บทคัดย่อ
The Global Diet Quality Score (GDQS) is a comprehensive metric that covers both the risks of nutritional deficiency and the risk of diet-related noncommunicable diseases (NCD). Validation tests were previously performed using secondary data from various countries. However, the study of the application of the GDQS to the Thai population is still necessary. Because Thai food usually consists of a variety of components, the GDQS may reflect the risks of nutrient inadequacy and the risks of NCD differently from the previous studies. Objective: This study aimed to characterize the GDQS’s performance by estimating the associations between the GDQS and diverse outcomes reflective of undernutrition and diet-related NCD risks. Methods: A cross-sectional study was conducted in Thai adults aged 40-60 years. GDQS was calculated from dietary data collected using a 24-hr dietary recall (24HR), a semi-quantitative food frequency questionnaire (FFQ), and the GDQS-Assessment System (GDQS-AS). Additional metrics were also calculated, including the Minimum Dietary Diversity for Women (MDD-W) and the Alternative Healthy Eating Index-2010 (AHEI-2010). Nutritional status was determined through anthropometric, body composition, blood pressure, and biochemical marker assessments. Spearman rank correlations and multivariable adjusted regression models were performed to evaluate the associations between GDQS and diverse outcomes reflective of undernutrition and diet-related NCD risks. Wolfe test and Wald test were used to compare the strength and trend of the correlations of the GDQS and outcomes between different dietary data collection methods and different metrics. Results: The prevalence of overweight to obesity (Body mass index ≥25 kg/m2) was 47.5%. Anemia was reported in 8.9% of men and 23.8% of women, hypertension in 54.1% of men and 39.4% of women, and metabolic syndrome in 42.5% of men and 35.9% of women. Mean urinary sodium excretion was 3,397 mg/day (147.7 mmol/day). The GDQS calculated by GDQS-AS and FFQ were relatively similar, while the GDQS-24HR was lower. Multivariable adjusted regression analysis found that GDQS-AS performed better in reflecting nutrient intakes, nutrient adequacy, and nutritional outcomes than GDQS computed from 24HR and FFQ. GDQS, MDD-W, and AHEI-2010 similarly performed in indicating nutrient adequacy and risks of NCD. Nevertheless, GDQS computed from FFQ better reflected nutrient adequacy. Conclusion: Overall, GDQS-AS had a relatively stronger performance in capturing both nutrient intakes and nutritional outcomes compared with GDQS computed from other methods, whereas GDQS scored from FFQ was outperformed
in capturing nutrient adequacy. Findings from this study only reflected a cross-sectional correlation between GDQS and nutrient adequacy and NCD risks. Thus, further study to longitudinally explore the correlations between GDQS and NCD risks is required.