dc.contributor.author | ณศมน วรรณลภากร | th_TH |
dc.contributor.author | Nasamon Wanlapakorn | th_TH |
dc.contributor.author | ยง ภู่วรวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | Yong Poovorawan | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฐินี สุทธินรเศรษฐ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Natthinee Sudhinaraset | th_TH |
dc.contributor.author | สิทธิชัย กนกอุดม | th_TH |
dc.contributor.author | Sitthichai Kanokudom | th_TH |
dc.contributor.author | หนึ่งฤทัย สุนทรวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nungruthai Suntronwong | th_TH |
dc.contributor.author | จิระ จันทร์แสนโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jira Chansaenroj | th_TH |
dc.contributor.author | ฤทธิเดช ยอแสง | th_TH |
dc.contributor.author | Ritthideach Yorsaeng | th_TH |
dc.contributor.author | ทักษพร ทัศนาธร | th_TH |
dc.contributor.author | Thaksaporn Thatsanatorn | th_TH |
dc.contributor.author | ดลชิดา ศรีเหมือน | th_TH |
dc.contributor.author | Donchida Srimuan | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-27T04:13:55Z | |
dc.date.available | 2023-03-27T04:13:55Z | |
dc.date.issued | 2566-03 | |
dc.identifier.other | hs2961 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5841 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความปลอดภัยและผลภูมิต้านทานหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ 2 เข็ม และการให้วัคซีนเชื้อตาย 1 หรือ 2 เข็ม และตามด้วยวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอในเด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ prospective cohort study ได้ดำเนินการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในประเทศไทยระหว่างเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยอาสาสมัครในโครงการวิจัยนี้ ได้แก่ เด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงอายุระหว่าง 5-11 ปี โดยจะแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือ อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ (BNT162b2) 2 เข็มโดยมีระยะห่าง 2 เข็ม เท่ากับ 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 คือ อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายซิโนแวค (CoronaVac) และตามด้วยไฟเซอร์ (BNT162b2) โดยมีระยะห่าง 2 เข็ม เท่ากับ 4 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 3 คือ อาสาสมัครที่เคยได้รับวัคซีนซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV) มาแล้ว 2 เข็ม โดยจะต้องมีระยะห่างหลังเข็ม 2 ประมาณ 1-3 เดือน โดยมีการรับวัคซีนจากโรงพยาบาลอื่น ซึ่งมีการบันทึกข้อมูล และมาวัคซีนเข็มสาม (booster) เป็น ไฟเซอร์ (BNT162b2) 1 เข็ม ที่ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความปลอดภัยจากการรับวัคซีนจะทำการประเมินโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่ให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง สำหรับผลภูมิต้านทานจะทำการวิเคราะห์โดยการตรวจวัดระดับแอนติบอดีชนิดที่จับกับโปรตีนตัวรับของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิม และทดสอบความสามารถของแอนติบอดีในการป้องกันการเข้าเซลล์ของไวรัส สายพันธุ์โอไมครอน (BA.2 และ BA.5) ผลการวิจัย: อาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและมีคุณสมบัติในการเข้าร่วมโครงการจำนวน 166 คน จากการศึกษาความปลอดภัยจากการรับวัคซีน พบว่า มีอาการข้างเคียงจากการรับวัคซีนทั้งแบบ local และ systemic ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 7 วันหลังการฉีดวัคซีน อยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางและทนได้ สำหรับผลการตรวจวัดผลภูมิต้านทานหลังจากการรับวัคซีนเข็ม 1 เข็ม 2 ไปแล้วหนึ่งเดือนในกลุ่มอาสาสมัครที่รับวัคซีนไฟเซอร์ (BNT162b2) สองเข็ม (GMT 2872 BAU/mL) และกลุ่มที่รับวัคซีนเชื้อตายซิโนแวค (CoronaVac) เป็นเข็มแรก และรับวัคซีนไฟเซอร์ (BNT162b2) เป็นเข็มที่สอง (GMT 3021 BAU/mL) และวัดภูมิต้านทานหลังการรับเข็มสามด้วยวัคซีนไฟเซอร์หลังการรับวัคซีนซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV) มาแล้วสองเข็ม (GMT 3269 BAU/mL) โดยพบว่า มีระดับของ IgG ชนิดที่จับกับโปรตีนตัวรับของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิม ใกล้เคียงกันทั้ง 3 กลุ่ม อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม และกลุ่มที่ได้รับซิโนฟาร์ม BBIBP-CorV 2 เข็ม และรับไฟเซอร์ (BNT162b2) เป็นเข็มสาม มีความสามารถของแอนติบอดีในการป้องกันการเข้าเซลล์ของไวรัส สายพันธุ์โอไมครอน (BA.2 และ BA.5) ได้ดีกว่ากลุ่มที่รับวัคซีนเชื้อตายซิโนแวค (CoronaVac) เป็นเข็มแรก และรับวัคซีนไฟเซอร์ (BNT162b2) เป็นเข็มที่สอง สรุปผลการวิจัย: กลุ่มที่รับวัคซีนเชื้อตายซิโนแวคเป็นเข็มแรก และรับวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่สองจะมีระดับแอนติบอดีที่ทำหน้าที่ในการป้องกันการเข้าเซลล์ของไวรัส สายพันธุ์โอไมครอน (BA.2 และ BA.5) ที่ต่ำกว่า กลุ่มที่การรับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม และกลุ่มที่ได้รับซิโนฟาร์ม 2 เข็ม และรับไฟเซอร์เป็นเข็มสาม | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เด็ก | th_TH |
dc.subject | Children | th_TH |
dc.subject | วัคซีน | th_TH |
dc.subject | Vaccines | th_TH |
dc.subject | วัคซีนโควิด-19 | th_TH |
dc.subject | COVID-19 Vaccines | th_TH |
dc.subject | SARS-CoV-2 | th_TH |
dc.subject | Immunity | th_TH |
dc.subject | ภูมิคุ้มกัน | th_TH |
dc.subject | Immune System | th_TH |
dc.subject | ระบบภูมิคุ้มกัน | th_TH |
dc.subject | ภูมิคุ้มกันวิทยา | th_TH |
dc.subject | Immunology | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | COVID-19--Prevention and Control | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบความปลอดภัยและผลภูมิต้านทานหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ 2 ครั้ง และการให้วัคซีนเชื้อตายตามด้วยวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอในเด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี | th_TH |
dc.title.alternative | Comparison of the Safety and Immunogenicity of Two-Dose mRNA COVID-19 Vaccine and Inactivated Followed by an mRNA Vaccine in Children Aged 5 - 11 Years | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Objective: To compare the reactogenicity and immunogenicity between the two-dose mRNA COVID-19 vaccine regimen and one or two doses of inactivated vaccine followed by an mRNA vaccine regimen in healthy children between 5-11 years of age. Methods: A prospective cohort study was performed at King Chulalongkorn Memorial Hospital in Thailand between March to June 2022. Healthy children between 5-11 years of age were enrolled and received the two-dose mRNA COVID-19 vaccine (BNT162b2) regimen or the inactivated (CoronaVac) vaccine followed by the BNT162b2 vaccine regimen. In addition, healthy children who received two doses of BBIBP-CorV between 1-3 months prior were enrolled to receive a heterologous BNT162b2 as a third dose (booster). Reactogenicity was assessed by a self-reported online questionnaire. Immunogenicity analysis was performed to determine binding antibodies to wild-type SARS-CoV-2. Neutralizing antibodies to Omicron variants (BA.2 and BA.5) were tested using the focus reduction neutralization test. Results: Overall, 166 eligible children were enrolled. Local and systemic adverse events which occurred within 7 days after vaccination were mild to moderate and well-tolerated. At one-month, post-two or post-three doses, children vaccinated with two-dose BNT162b2 (GMT 2872 BAU/mL), CoronaVac/BNT162b2 (GMT 3021 BAU/mL), and two-dose BBIBP-CorV followed by BNT162b2 (GMT 3269 BAU/mL) elicited similar levels of anti-receptor-binding domain (RBD) IgG (ns). However, the two-dose BNT162b2 and two-dose BBIBP-CorV followed by BNT162b2 groups elicited higher neutralizing activities against Omicron BA.2 and BA.5 variant than the CoronaVac/BNT162b2 group. Conclusion: The heterologous, CoronaVac vaccine followed by the BNT162b2 vaccine, regimen elicited lower neutralizing activities against the emerging Omicron BA.2 and BA.5 variant than the two-dose mRNA regimen. A third dose (booster) mRNA vaccine should be prioritized for this group. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 ณ259ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-098 | |
dc.subject.keyword | วัคซีนเข็มกระตุ้น | th_TH |
dc.subject.keyword | ภูมิต้านทาน | th_TH |
.custom.citation | ณศมน วรรณลภากร, Nasamon Wanlapakorn, ยง ภู่วรวรรณ, Yong Poovorawan, ณัฐินี สุทธินรเศรษฐ์, Natthinee Sudhinaraset, สิทธิชัย กนกอุดม, Sitthichai Kanokudom, หนึ่งฤทัย สุนทรวงศ์, Nungruthai Suntronwong, จิระ จันทร์แสนโรจน์, Jira Chansaenroj, ฤทธิเดช ยอแสง, Ritthideach Yorsaeng, ทักษพร ทัศนาธร, Thaksaporn Thatsanatorn, ดลชิดา ศรีเหมือน and Donchida Srimuan. "การศึกษาเปรียบเทียบความปลอดภัยและผลภูมิต้านทานหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ 2 ครั้ง และการให้วัคซีนเชื้อตายตามด้วยวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอในเด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5841">http://hdl.handle.net/11228/5841</a>. | |
.custom.total_download | 27 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 9 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 | |