บทคัดย่อ
โครงการวิจัยผสมผสานแบบแผนรองรับภายในต่อเนื่องกันมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาประสบการณ์ อุปสรรค และสิ่งสนับสนุนการดำเนินงานของเภสัชกรในคลินิกหมอครอบครัว การสนทนากลุ่มกับเภสัชกร 24 คน จาก 6 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 6 ผลการวิเคราะห์เนื้อหามี 3 ประเด็นหลัก คือ อุปสรรคและสิ่งสนับสนุนการทำงานของเภสัชกรในระดับนโยบาย ผู้ร่วมงาน และเภสัชกร โดยมีอุปสรรคที่สำคัญ คือ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและระบบการเชื่อมต่อข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์จากคลินิกหมอครอบครัวไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย อย่างไรก็ตาม พบว่า การดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิผลอาศัยการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ และการได้รับข้อมูลด้านยาที่ทันสมัยจากรูปแบบปฏิบัติงานไม่ประจำที่หน่วยบริการปฐมภูมิ และทักษะการสื่อสารของเภสัชกรนำไปสู่ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาด้านยา ส่วนที่ 2 การศึกษาแบบกึ่งทดลองไปข้างหน้า เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการใช้ยา ผลของการลดความดันโลหิต และการยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกรโดยแพทย์ และหาปัจจัยจากผู้ป่วยและการทำงานของเภสัชกรที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาด้านยา เก็บข้อมูลในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,471 คน ซึ่งได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมที่คลินิกหมอครอบครัว 3 ครั้งติดต่อกันโดยเภสัชกรที่เข้าร่วมการศึกษาในส่วนที่ 1 ใช้แบบเก็บข้อมูลปัญหาการใช้ยาอ้างอิงจากการแบ่งประเภทโดย Cipolle et al พบปัญหาการใช้ยาทั้งหมด 379 ปัญหา ปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาสูงที่สุด 164 ปัญหา (ร้อยละ 43.3) หลังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม ปัญหาการใช้ยาทั้งหมดลดลงร้อยละ 33.2 และ 32.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (c2(2) = 46.78, p<0.001) เมื่อติดตามครั้งที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ค่าความดันโลหิตไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละของการยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกรโดยแพทย์เท่ากับ 77.8, 70.3 และ 68.4 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา คือ การยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกรโดยแพทย์ (rs=0.18, p=0.020) สอดคล้องกับผลการศึกษาส่วนที่ 1 รูปแบบการวิจัยผสมผสานเชื่อมโยงผลการศึกษาทั้งหมด ทำให้มองเห็นภาพรวมในการทำงานเภสัชกรรมปฐมภูมิได้ชัดเจนมากขึ้น
บทคัดย่อ
The sequential embedded mixed-method research consisted of two phases. In phase 1, the qualitative phase was aimed to explore the experience, barriers and supports of the pharmacists in the primary care cluster. Focus group discussion was conducted with 24 pharmacists from 6 provinces of the health region 6. Findings of content analysis comprised three main themes: barriers and supports from the policy; colleagues; and the pharmacist. The barrier was the health information access and incomplete data flows from the primary care cluster to the hospital and vice versa. Effective patient care needed inter-professional teamwork in receiving updated medication knowledge from the part-time pharmacist in the primary care unit. Communication skills helped the pharmacist provide effective resolutions to drug-related problems (DRPs). In phase 2, the prospective, quasi-experimental study aimed to examine DRPs, blood pressure control, and physician acceptance to pharmacists’ roles, as well as, to examine relationships of patient’s or pharmacist’s factors with the effective resolutions to DRPs. Data collection form of DRPs was adopted from Cipolle et al’s classification. Quantitative data collection was performed on 1,471 hypertensive patients who were attended consecutively 3 visits by the pharmacists participated in the phase 1. Of all 379 DRPs identified, the highest problem was 164 of non-adherence (43.3%). After the primary pharmacy care, the DRPs were significantly decreased by 33.2% and 32.4% (c2(2)=46.78, p < 0.001) at visit 1 and 2, respectively. Blood pressure was unchanged. Physician acceptance rates to pharmacists’ roles were 77.8%, 70.3% and 68.4% consecutively. The factor related to the effective resolving non-adherence was the physician acceptance (rs = 0.18, p = 0.020), consistent to phase 1’s findings. This sequential embedded mixed-method research provided linkages of all findings which clearly illustrated the overview duty of primary care pharmacy.