บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตถือได้ว่าเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 จากนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้โรงพยาบาลต้องเลื่อนนัดผู้ป่วยออกไป ระเบียบวิธีศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของระบบการแพทย์ ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างคือ อายุรแพทย์โรคไต (n=2) เภสัชกร (n=6) พยาบาลเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง (n=10) และผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง (n=80) เลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ 1. การศึกษาสถานการณ์ 2. การออกแบบและพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลฯ และ 3. การศึกษาผลการใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง โดยเปรียบเทียบระยะเวลาของการรักษา ต้นทุน ความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon signed-rank test และสถิติ paired t-test ผลการศึกษา 1. ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความยากลำบากในการเดินทางไปพบแพทย์ตามนัด เกิดปัญหาการรับยาต่อเนื่อง และมีข้อจำกัดในการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ผู้ป่วยและทีมสหวิชาชีพ เสนอแนะว่าในช่วงวิกฤตโควิด-19 ควรปรับรูปแบบการดูแลรักษา โดยใช้ไลน์ (LINE) หรือแอปพลิเคชันอื่นที่สามารถดาวน์โหลดมาไว้ในสมาร์ตโฟน (smart phone) ทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองในสถานการณ์โควิด-19 และการสื่อสารกับแพทย์หรือพยาบาลเมื่อพบปัญหาได้ในทันที 2. ความเป็นไปได้ในการใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องตามการรับรู้ของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องและผู้ดูแล อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อสิ้นสุดการทดลองทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบแพทย์ทางไกลในระดับมาก 3. เส้นทางการเจ็บป่วยของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องมี 3 เส้นทาง ประกอบด้วย กลุ่มที่ควบคุมอาการของโรคได้ดี กลุ่มที่ควบคุมอาการของโรคได้ปานกลาง และกลุ่มที่ควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดี 4. การจัดการยา erythropoietin (EPO) และยารักษาโรคไตเรื้อรังและโรคร่วม เป็นการจัดส่งยาให้กับผู้ป่วยผ่านโรงพยาบาลลูกข่ายใกล้บ้าน วิจารณ์และข้อยุติ ต้นทุนในการรักษาด้วยระบบแพทย์ทางไกลสูงกว่าการรักษาตามปกติ จากต้นทุนค่าลงทุนที่ลูกข่าย ถ้าจำนวนบริการที่ลูกข่ายมากขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยของระบบแพทย์ทางไกลก็จะลดลง ระบบการแพทย์ทางไกลเป็นการให้บริการทางการแพทย์รูปแบบหนึ่งที่สามารถลดการเข้ามารับบริการในโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ดูแลได้ดี ดังนั้นสถานบริการอาจนำระบบการแพทย์ทางไกลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปพัฒนาและขยายผลในการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นๆ โดยผสมผสานการเข้ารับบริการระหว่างการแพทย์ทางไกล และการเข้ามาพบแพทย์ในโรงพยาบาลตามปกติต่อไป
บทคัดย่อ
Background and rationale: Chronic kidney patients with renal replacement therapy were at risk of COVID-19. During COVID-19 pandemic with social distancing practices, hospitals postponed patient’s appointments. Methodology: The purpose of this mixed-method study was to develop and examine the effectiveness of telemedicine model in caring for peritoneal dialysis patients from lessons learned during the COVID-19 pandemic. The samples included 2 nephrologists, 6 pharmacists, 10 peritoneal dialysis nurses, and 80 peritoneal dialysis patients. Purposive sampling was used to select the participants. The study comprised 3 phases: phase 1 situation analysis; phase 2 design and development of a model of telemedicine service for peritoneal dialysis patients; and phase 3 result study of the telemedicine model by comparing the treatment time, cost and satisfaction. The research instruments covered a semi-structured interview guide, feasibility questionnaire of telemedicine model, cost record form, and satisfaction questionnaires for multidisciplinary team and peritoneal patients and caregivers. The quantitative data was analyzed using descriptive statistics, Wilcoxon signed-rank test, and paired t-test. Results: 1. During COVID-19 pandemic, patients and their caregivers have difficulty getting to the hospital as scheduled, the continuity of taking medication and the limitation of home visits. Patients and multidisciplinary teams suggested that during COVID-19, the methods of care should be adjusted, using telephone online platforms, such as Line application, to provide patients and caregivers the knowledge to promote self-care. The applications should be downloaded onto a mobile phone for immediate communication with the doctor and nurse when abnormal symptoms and problems were found. 2. According to patients and care providers, the feasibility of a telemedicine model in caring for peritoneal dialysis patients was moderate at the beginning. The model was rated highly by the multidisciplinary team, patients, and caregivers at the conclusion of the intervention. 3. Three patterns of patient journeys of peritoneal dialysis patients were identified based on clinical status of the patients: a well-controlled, a moderate control, and an uncontrolled symptom group. and 4. medication management of erythropoietin (EPO) and other medications for chronic kidney disease and co-morbidities were delivered through a nearby client hospital network. Discussion and conclusion: The cost of telemedicine model incurred higher capital costs at periphery. The higher number of services should lower the unit costs. Telemedicine was proved to be a feasible model of providing care among patients who had good disease progression control and reducing hospital visits. Therefore, the health service may develop and expand the results of this study to other chronic diseases. The provider should combine telemedicine with outpatient service.