บทคัดย่อ
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2566 ประกอบด้วย บทบรรณาธิการ เรื่อง บทบาทวารสารวิชาการด้านการวิจัยระบบสาธารณสุข โดย ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย และขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาต้นฉบับ นิพนธ์ต้นฉบับ จำนวน 10 บทความ ได้แก่ 1) การประเมินความเป็นไปได้และการยอมรับองค์กรเครือข่ายสุขภาพเพื่อการจัดระบบบริการทางการแพทย์ในระบบประกันสังคม: การวิจัยเชิงนโยบาย โดย ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์, บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ และ ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย 2) การพัฒนาแนวทางและรูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสมระหว่างภาคชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชนในการบริหารจัดการและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ โดย วณิชา ชื่นกองแก้ว และคณะ 3) ปัจจัยการอภิบาลระบบที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนของประเทศไทย โดย สุมาลี เฮงสุวรรณ, วินัย ลีสมิทธิ์ และ ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย 4) เส้นทางการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทยและข้อเสนอเชิงเนื้อหาในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ โดย ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา, พนม คลี่ฉายา และ อรุโณทัย วรรณถาวร 5) ประสบการณ์ อุปสรรค สิ่งสนับสนุน และผลลัพธ์ของการดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยเภสัชกรในคลินิกหมอครอบครัวในเขตสุขภาพที่ 6 โดย สายชล ชำปฏิ และคณะ 6) การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานบริการเภสัชกรรมทางไกลในประเทศไทย โดย วิไลลักษณ์ ตันตะโยธิน และคณะ 7) การพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง บทเรียนจากการระบาดของ โควิด-19 โดย ดาราวรรณ รองเมือง และคณะ 8) ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และรูปแบบการให้บริการกิจกรรมบำบัดทางไกลในยุคชีวิตวิถีใหม่ โดย มะลิวัลย์ เรือนคำ และคณะ 9) การเปลี่ยนแปลงของอัตราการใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่นอกบ้านในช่วงโควิด-19: การวิเคราะห์จากภาพกล้องวงจรปิดโดยปัญญาประดิษฐ์ โดย ทยา กิติยากร, สุภารี บุญมานันท์ และ รัตน์ชัยนันท์ ธรรมสุจริต 10) การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนากำลังคนด้านการพยาบาล: การผลิต การกระจายและการธำรงรักษาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดย อติญาณ์ ศรเกษตริน และคณะ บทความพิเศษ จำนวน 2 บทความ ได้แก่ 1) ประเทศไทยกับการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพจิตในเวทีระดับโลก โดย วริศา พานิชเกรียงไกร และคณะ 2) 13 ปี เส้นทางการเรียนรู้และพัฒนา Stroke Fast Track ของประเทศไทย โดย สมศักดิ์ เทียมเก่า