บทคัดย่อ
แม้ว่าสภาเภสัชกรรมได้ออกประกาศ เรื่องการกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางขั้นพื้นฐานของระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลและการบริบาลเภสัชกรรม และจัดทำสถาปัตยกรรมข้อมูลที่รองรับการดำเนินงานเภสัชกรรมทางไกล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เริ่มจากการทบทวนวรรณกรรม สนทนากลุ่ม รับฟังความเห็น เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ร่างแนวทางขั้นพื้นฐานของระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล แนวทางการบริบาลเภสัชกรรม ผลการศึกษาในระยะที่ 1 ประกอบด้วย ชุดข้อมูลขั้นต่ำที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการบริการเภสัชกรรมทางไกล แบ่งเป็น ข้อมูลผู้ป่วย ใบสั่งจ่ายยา การจ่ายยา การขนส่ง ชุดข้อมูลทั้งหมด ประกอบกับแนวทางขั้นพื้นฐานในการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล และบริบาลเภสัชกรรม ได้นำไปเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการศึกษาในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูลที่รองรับการดำเนินงานเภสัชกรรมทางไกลโดยใช้ร่างแนวทางฯ จากระยะที่ 1 รับฟังความเห็น และสรุปสถาปัตยกรรมข้อมูลที่รองรับการดำเนินงานเภสัชกรรมทางไกล และผลการศึกษาในระยะที่ 2 ประกอบด้วย ร่างรูปแบบและโครงสร้างมาตรฐานข้อมูล สำหรับข้อมูลประวัติส่วนตัว ประวัติทางสุขภาพ ประวัติการรักษาและประวัติการขนส่งยาของผู้รับบริการ ใช้โครงของ HL7 FHIR (health level 7 fast healthcare interoperability resource) และปรับแต่งให้มีความจำเพาะกับบริการเภสัชกรรมทางไกลในประเทศไทย เป็น Thailand Telepharmacy Profile เพื่อใช้ในการนำไปต่อยอดในการให้บริการทางสุขภาพแก่ผู้รับบริการ
บทคัดย่อ
Although the Pharmacy Council has launched the Guidelines for Telepharmacy, it required additional details for implementation. The present study aimed to develop the standard practice for telepharmacy and guidelines for pharmaceutical care and to design data architecture that supported and facilitated the operation of telepharmacy. This developmental research was designed into 2 phases. The first phase combined literature review, focus group discussion, and stakeholder hearing with the aim of developing the basic guidelines for telepharmacy and guidelines for pharmaceutical care. Minimum dataset consisting of patient data, prescription, dispensing, logistics, and guidelines for pharmaceutical care was an output and recommendation of phase I study. The results from the first phase were inputs for stakeholder consultation of the second phase. The output of phase II study was the telepharmacy data architecture compliance to HL7 FHIR (health level 7 fast healthcare interoperability resource) for telepharmacy data sharing consisting of patient personal information, health data, treatment history, and logistic statistics. The recommended data architecture of the phase 2 study was named “Thailand Telepharmacy Profile”. Finally, this present study proposes the Pharmacy Council of Thailand to implement the guidelines and standard data set.