บทคัดย่อ
โครงการนี้มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนารูปแบบหรือกลไกการสนับสนุนทางวิชาการ สำหรับการตัดสินใจประเด็นเชิงนโยบายที่มีความซับซ้อนมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายในระยะเวลาที่จำกัด โดยในโครงการนี้จะใช้ประเด็นการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2566 เป็นภารกิจในการดำเนินการ วิธีการดำเนินการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) จัดตั้งคณะทำงานเป็น 2 ทีม ได้แก่ “ทีมมดงาน” เป็นทีมขนาดเล็กที่เป็นทีมทำงานหลักของโครงการ เพื่อติดตามสถานการณ์ของการถ่ายโอนฯ และ “ทีมไทยแลนด์” ที่เป็นคณะทำงานที่ใหญ่ขึ้น เพื่อการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งจากผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ 2) ติดตามสถานการณ์ การถ่ายโอนสถานีอนามัย และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ. ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การทบทวนวรรณกรรม การเข้าร่วมการอบรมหรือการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนฯ 3) สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 4) สำรวจสถานการณ์การดำเนินงานและความคิดเห็นของ อบจ. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์และปรึกษาหารือในทีมมดงานเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบาย แนวคิด 6 เสาหลักของระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลกได้ถูกนำมาใช้เป็นกรอบความคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล แนวคิด Primary healthcare measurement framework and indicators ขององค์การอนามัยโลก ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการติดตามความเคลื่อนไหวของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจัดทำแผนที่การวิจัย (research mapping) ผลการดำเนินงานพบว่า ในปีงบประมาณ 2566 มีการถ่ายโอนสถานีอนามัย และ รพ.สต. จำนวน 3,263 แห่ง จากกระทรวงสาธารณสุข ให้แก่ อบจ. ใน 49 จังหวัด หลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2564 มีการระบุบทบาทหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบ เมื่อวิเคราะห์ด้วยกรอบ 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ พบว่า รายละเอียดที่เกี่ยวกับระบบยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยาและระบบข้อมูลสุขภาพมีน้อยกว่าระบบอื่นๆ ก่อนการถ่ายโอนฯ มีการดำเนินการที่สำคัญ คือ การชี้แจงแนวทางปฏิบัติในหลายรูปแบบทั้งที่เป็นเอกสารราชการ หนังสือซักซ้อม การจัดอบรมหรือการจัดประชุมและการออกระเบียบเพื่อให้มีความชัดเจนในการดำเนินการ ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในการนำไปสู่การปฏิบัติ คือ การขาดความชัดเจนในประเด็นการถ่ายโอนบุคลากร เช่น วิธีการจัดจ้าง ค่าตอบแทน ความก้าวหน้าและภาระงาน บุคลากรที่จัดจ้างประเภทพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการถ่ายโอนมากที่สุด เนื่องจากเป็นรูปแบบการจ้างที่มีเฉพาะในกระทรวงสาธารณสุขในขณะที่ยังไม่เคยมีระเบียบการจ้างในลักษณะเดียวกันนี้ในกระทรวงมหาดไทย การสำรวจความพร้อมในการถ่ายโอนภารกิจของ อบจ. และ สสจ. ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 และกันยายน พ.ศ. 2565 พบว่า กิจกรรมที่ อบจ. มีความพร้อม 3 อันดับแรก ได้แก่ การจัดตั้ง “คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่” (กสพ.) การประชุม กสพ. และมีการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ ความคิดเห็นที่ทั้ง อบจ. และ สสจ. มีความเห็นตรงกัน เป็นประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของ สสจ. ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ควบคุมมาตรฐานและระบบประกันคุณภาพบริการของสถานีอนามัยและ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนฯ 2) ช่วยเหลือ สนับสนุนและให้คำปรึกษาด้านวิชาการแก่ อบจ. และ 3) มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพของ อบจ. การจัดทำแผนที่การวิจัย (research mapping) มีโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนฯ จำนวน 18 โครงการ และมีโครงการที่มีผลการศึกษาสำเร็จแล้ว จำนวน 4 โครงการ ในประเด็น การจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มาตรฐานบริการ กำลังคนและต้นแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิ การศึกษาครั้งนี้ได้บันทึกสถานการณ์ก่อนการถ่ายโอนสถานีอนามัยและ รพ.สต. และหลังการถ่ายโอนที่เกิดขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 มีประเด็นที่ควรติดตามต่อ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การจัดสรรบุคลากรสุขภาพทั้งในส่วนของ อบจ. และ สสจ. 2) การกำกับติดตามสถานีอนามัยและ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนฯ 3) การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของ อบจ. เช่น การจัดการกำลังคน การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพและการจัดการระบบยาและเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา 4) บทบาทของกระทรวงสาธารณสุข ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนฯ สำหรับรูปแบบหรือกลไกการสนับสนุนทางวิชาการสำหรับการตัดสินใจประเด็นเชิงนโยบาย ทีมมดงานและทีมไทยแลนด์ ควรติดตามสถานการณ์การถ่ายโอนต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยควรกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับระยะถัดไป คือ 1) การสนับสนุนทางวิชาการสำหรับการตัดสินใจประเด็นเชิงนโยบายควรมีเป้าหมายเพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า ระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากการถ่ายโอนน้อยที่สุดและเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าก่อนการถ่ายโอนฯ 2) ติดตามสถานการณ์หลังการถ่ายโอนฯ ในปีงบประมาณ 2566 ในลักษณะภาพรวมของประเทศ เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเชื่อมโยงกับบริบทในระดับพื้นที่ 3) ติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนฯ และจัดทำแผนที่งานวิจัยให้เป็นปัจจุบัน 4) ขยายการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้กำหนดนโยบายและผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยรวมทั้งส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนของการปกครองท้องถิ่นและนักวิชาการ
บทคัดย่อ
The objectives of this project are to develop patterns or mechanisms to support evidence-based policy decision-making, especially for issues that are complex, involve many stakeholders, and/or have a limited time frame. This project focuses on the transfer of the duties of Chaloem Phra Kiat 60 Years Nawamin Maharachini Health Center and Tambon Health Promoting Hospital (THPH) to the Provincial Administrative Organization (PAO), which occurred in the fiscal year 2023. There are four main processes: (1) building up two main teams, a small working group as a core team called “Working Ant Team” to monitor the situation of the transfer, and a larger working group called “Thailand Team” for stakeholder participation including policymakers, specialists, and academics; (2) monitoring the situation of the transfer of the duties of the health centers and THPHs to PAOs via several methods, such as literature review, attending training or meeting related to the transferring; 3) interviewing stakeholders; and 4) surveying the progress of policy implementation and opinions of PAOs and Provincial Public Health Offices (PPHO). Data were analyzed and consulted within the Working Ant Team for perspective sharing between researchers and policymakers. The concept of the six building blocks of the health system from the World Health Organization (WHO) was used as a framework for analysis. The concept of primary healthcare measurement framework and indicators from the WHO was used as a framework for monitoring the progress of related research and conducting a research mapping. The results revealed that, in the fiscal year 2023, three thousand two hundred and sixtythree health centers and THPHs transferred from the Ministry of Public Health to PAO in 49 provinces. The manual for transferring the duties of the Chaloem Phra Kiat 60 Years Nawamin Maharachini Health Center and THPH to the PAO in 2021 mentioned roles and responsibilities specified to responsible institutions. Analyzed the manual with the six building blocks of the health system, the issues of the drug and medical devices and health information systems were less detailed than other systems. Before the transfer, important activities were communicating the guideline in various methods such as official documents, orders for rehearsal of understanding, training workshops, or meetings, and introducing regulations for clarification procedures. One of the main problems to implement the manual was the lack of clarity in transferring health workforce issues, such as the issue of hiring, incentive, career path, and job description. The Ministry of Public Health’s employees faced the most impact of transferring because this type of hiring is specific to the regulation of the Ministry of Public Health while there has not been a regulation for hiring like this in the Ministry of Interior. The survey of readiness of PAO and PPHO for transferring the health centers and THPHs from August to September 2022 revealed that the three most ready activities of PAO are establishing “the Committee for Health in Area Level” (CHA), meeting of CHA, and documenting a plan for health in area level. Opinions those PAO and PPHO agree with are about the roles of PPHO. PPHO should 1) regulate and control the standard of care of the transferred health centers and THPHs 2) technical support and supervise the PAO, and 3) participate in the development of the health information system of PAO. Mapping of research related to transferring the health centers and THPHs revealed 18 research projects. Four projects finished are about the allocation of budget from the National Health Security Office, the standard of care, health workforce, and prototype of primary health care system. This study documented the situation before the transfer of the health centers and THPHs and after transferring on 2nd October 2022 to November 2023. There are 4 main issues to further follow up: (1) allocating of health workforces of both PAO and PPHO, (2) monitoring and regulating of transferred health stations and THPHs, (3) policy implementation of PAO such as management of health resource, development of health information system, and management of drug and medical devices system, (4) roles of the Ministry of Public Health according to the manual of transferring. For patterns or mechanisms to support evidence-based policy decision-making, the Working Ant Team and the Thailand Team should keep monitoring the situation continuously. The objectives for the further phase should be (1) to support evidence-based policy decision making for ensuring primary health care in Thailand keep progress with the least impacts from transferring and develop for better before transferring, (2) to monitor the situation after the transfer in the fiscal year 2023, as an overview of the country, connecting with stakeholders, and contextualizing with information in area level (3) to monitor the progress of research projects related to the transfer and update the research mapping (4) to expand stakeholder participating for both policymakers and implementers including the public health side, the local government side, and the academic side.