บทคัดย่อ
ระบบการติดตามการตลาดอาหารและเครื่องดื่มมีความสำคัญต่อการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของอุตสาหกรรมอาหาร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการติดตามฯในประเทศไทยและในต่างประเทศ และวิเคราะห์ช่องว่างและโอกาสในการพัฒนาระบบนี้ในประเทศไทย ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2564 จากฐานข้อมูล PubMed, Google Scholar เว็บไซต์องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ยูนิเซฟ และเว็บไซต์กฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย ชิลี สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และออสเตรเลีย รวมทั้งใช้ Google search engine ส่วนกระบวนการสัมภาษณ์นั้น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากภาคนโยบาย วิชาการ และประชาสังคม จากนั้นวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้เกณฑ์กรอบการดำเนินงานตามชุดข้อเสนอแนะด้านการตลาดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ให้กับเด็กขององค์การอนามัยโลก ผลการศึกษาพบว่า ไทย ชิลีและสาธารณรัฐเกาหลีมีหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ติดตามฯ ไทยและชิลีร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามฯ ออสเตรเลียไม่เพียงแค่มีการติดตามฯ แบบการกำกับดูแลร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเท่านั้น แต่มีภาคประชาสังคมที่กระตือรือร้นเข้าติดตามฯร่วมด้วย ระบบการติดตามฯ ของไทยยังขาดกำลังคนในการติดตามฯ ขาดการติดตามฯ ข้อมูลผลลัพธ์ฯ และขาดการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีและการสร้างความร่วมมือและแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคม ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาระบบติดตามฯในประเทศไทยต่อไป
บทคัดย่อ
A monitoring system of food and beverage marketing plays a crucial role in tracking progress in the marketing of food industry particularly the marketing of unhealthy food and beverage. The objective of this study was to review the existing monitoring system of food and beverage marketing in Thailand and foreign countries, and to analyze the gaps and opportunities for improving the monitoring system of food and beverage marketing in Thailand. Document review and in-depth interviews with the stakeholders were conducted. Searches were performed through PubMed, Google Scholar, websites of international organizations (such as UNICEF) and relevant organizations in Thailand, selected country databases such as Chile, Republic of Korea, and Australia from 2007 to 2021-timeframe. Purposive sampling was used to identify key informants from government agencies, academia, and civil societies for interviews. Content analysis by using the World Health Organization’s set of recommendations on marketing of foods and non-alcoholic beverages to children was performed on the data from stakeholder interviews and document reviews. Results showed that Thailand, Chile, and the Republic of Korea had government agencies responsible for monitoring the marketing of food and beverage. While the governments of Thailand and Chile cooperated with relevant agencies to monitor the marketing of food and beverage, Australia was active in co-regulation between government and private sectors to monitor food and beverage marketing in collaboration with active civil society sector. Key challenges for Thailand included lack of human resource, outcomes monitoring, and progress report on complaint management. Opportunities for improvement included technology utilization, collaboration and information sharing with relevant agencies and civil society.