บทคัดย่อ
ในปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกขณะ และพบว่ามีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นกับความชุกของโรคเรื้อรัง แต่กลับพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอ้วน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของโรคอ้วน ความชุกของโรคอ้วนที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย และความชุกของภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยนอกที่อายุมากกว่า 18 ปี โดยไม่รวมผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2563 จากผู้ป่วยนอกทั้งหมด 327,300 คน มีผู้ป่วยที่มีครบทั้งน้ำหนักและส่วนสูงจำนวน 135,112 คน เมื่อใช้เกณฑ์โรคอ้วนคือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก./ตร.ม. ขึ้นไป พบโรคอ้วนร้อยละ 35.6 ซึ่งมีเพียงร้อยละ 15.9 ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคอ้วนในเวชระเบียน และพบความชุกของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคอ้วนคิดเป็นร้อยละ 21.3, 12.3 และ 32.4 ตามลำดับ เมื่อใช้เกณฑ์โรคอ้วนคือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กก./ตร.ม.ขึ้นไป พบโรคอ้วนร้อยละ 9.5 มีร้อยละ 33.5 ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคอ้วนในเวชระเบียน และพบความชุกของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคอ้วนคิดเป็นร้อยละ 16.3, 18.8 และ 11.3 ตามลำดับ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วนแม้จะมีดัชนีมวลกายถึงเกณฑ์ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนในการศึกษานี้มีความชุกของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูงต่ำกว่าการศึกษาในประเทศตะวันตก
บทคัดย่อ
At present, it is apparent that the incidence of obesity keeps increasing. It has also been discovered that there is a strong positive correlation between body mass index and the prevalence of chronic diseases. However, there are still many undiagnosed obesity patients. Therefore, the present research aimed to determine the prevalence of obesity in terms of underdiagnosed cases and chronic diseases in all obese patients from the Prince of Songkla University Hospital information system. This study employed a cross-sectional descriptive approach. We gathered data of all outpatients older than 18 years, excluding pregnancy cases. Data collection was taken from the hospital information system between 1 January 2016 and 31 December 2020. From 327,300 patients, a total of 135,112 patients were included in the study and 35.6% of patients met the Asia Pacific criteria for obesity (BMI ≥ 25 km/m2), but only 15.9% of them were given a diagnosis of obesity using Asia. The prevalence of 3 chronic conditions in obese patients was 21.3% for hypertension, 12.3% for type 2 diabetes mellitus, and 32.4% for dyslipidemia. Moreover, 9.5% of patients met the World Health Organization criteria for obesity (BMI ≥ 30 kg/m2), but only 33.5% of them were given a diagnosis of obesity. The prevalence of 3 chronic conditions in obese patients was 16.3% for hypertension, 18.8% for type 2 diabetes mellitus, and 11.3% for dyslipidemia. This present study showed that despite having a BMI exceeding the threshold for obesity, many people are still not given a diagnosis of obesity. Moreover, the prevalence of hypertension, type 2 diabetes mellitus, and dyslipidemia found among obese patients were lower than research in western countries.