บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: โรคไตวายเฉียบพลันเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ ในประเทศไทย ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่เข้าถึงบริการบำบัดทดแทนไตมีแนวโน้มลดลง ซึ่งมีสมมติฐานอยู่สองประการคือ ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีจำนวนลดลง หรือเข้าไม่ถึงการรักษาที่พึงได้รับ โดยยังไม่มีมาตรการใดๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการแก้ไขปัญหา รวมถึงปัญหาความแตกต่างของระบบบริการในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนปัญหาที่เสนอโดยผู้ให้บริการในเรื่องการชดเชยค่าบริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องที่อ้างว่ายังไม่สะท้อนต้นทุนค่าบริการที่แท้จริง วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อสำรวจทรัพยากรในการให้บริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องของโรงพยาบาลในประเทศไทย ระเบียบวิธีศึกษา: การศึกษานี้ใช้ข้อมูลจากการทบทวนเอกสารและข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาก่อนหน้าในประเทศไทย เช่น ข้อมูลการกระจายตัวของโรงพยาบาล ข้อมูลการฝึกอบรมของบุคลากรทางการแพทย์ ข้อบ่งชี้ของการให้บริการ ลักษณะผู้ป่วยที่ได้รับบริการ และข้อมูลการสำรวจการให้บริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง ร่วมกับการสำรวจด้วยแบบสอบถามจากโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 280 แห่ง ผลการศึกษา: พบว่าโรงพยาบาลสามารถให้บริการล้างไตแบบต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้และเห็นควรเพิ่มอัตราการเบิกชดเชยแก่โรงพยาบาล เฉลี่ย 25,563 บาทต่อผู้ป่วยหนึ่งราย ทั้งนี้หากมีการปรับอัตราชดเชยค่าบริการล้างไตแบบต่อเนื่องให้เหมาะสมมากขึ้น โรงพยาบาลร้อยละ 88 มีความเห็นว่าสามารถให้บริการเพิ่มขึ้นได้ และจะทำให้ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันในระยะวิกฤตสามารถเข้าถึงบริการบำบัดทดแทนไตต่อเนื่องได้มากขึ้น
บทคัดย่อ
Background: Acute kidney injury can occur from many reasons. As a result, the body cannot excrete wastes from the body. In Thailand, the number of acute kidney injury patients accessing renal replacement therapy show a decreasing trend with two potential assumptions: true reduction in the number of patients; or inaccessible to the treatment. There are no measures from relevant agencies to address this problem, in addition to different service systems even in the same service providers. Moreover, the reimbursement for continuous renal replacement therapy (CRRT) does not reflect the actual cost of the service. Objective: The objective of this study was to survey the hospital resources for providing CRRT in Thailand. Methods: The study used data from a document review and secondary data from a previous study in Thailand including distribution of hospitals, medical personnel training information and characteristics of patients receiving services. A questionnaire survey on CRRT services in 280 public and private hospitals registered to the National Health Security System in the fiscal year 2020 was undertaken. Results: The survey revealed that hospitals were capable of providing CRRT services to more patients if the reimbursement to hospital increased to an average of 25,563 baht per patient. Given the appropriate reimbursement rates for CRRT services, 88% of the hospitals could provide services to more number of patients with acute kidney injury in critical periods, leading to greater access to CRRT.