บทคัดย่อ
กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (non-communicable diseases, NCDs) นับว่าเป็นปัญหาหลักด้านสุขภาพทั่วโลก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของสถานพยาบาล (wellness center) โดยปรับใช้กรอบการประเมิน RE-AIM (reach, effectiveness, adoption, implementation and maintenance) และศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาแบบย้อนหลังเสริมด้วยการสัมภาษณ์เพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้รับ (retrospective plus interview study) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินนำเสนอในสองรูปแบบการให้บริการอันได้แก่ รูปแบบการออกกำลังกายที่บ้าน (home exercise) และรูปแบบของการใช้ fitness center โดยใช้ข้อสมมติฐานทางการเงินและการจัดบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การประเมินโปรแกรมโดยใช้โมเดล RE-AIM แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเข้าถึงในทุกกลุ่ม ถึงแม้ว่าตัวอย่างจะน้อยในการศึกษานี้แต่ผลการศึกษาแสดงถึงผลลัพธ์ในเชิงบวก กล่าวคือ จากจำนวนผู้ที่เข้ารับการบริการในโปรแกรมทั้งสิ้น 217 ราย มีผลลัพธ์ในเรื่องการลดน้ำหนักและดัชนีมวลกายที่ดีขึ้น ภายหลังจากการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเกินกว่าสองเดือน ทั้งนี้จากรูปแบบดังกล่าวสามารถนำมาขยายต่อในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้เมื่อประเมินความเป็นไปได้ทางการเงินของโปรแกรมสองรูปแบบ พบว่า การให้บริการทั้งสองแบบ มีจุดคุ้มทุนในปีแรกของการจัดบริการ โดยรูปแบบ home exercise มีระยะเวลาคืนทุน 0.36 ปี และรูปแบบ fitness center มีระยะเวลาคืนทุน 5.44 ปี สำหรับการคิดอัตราค่าบริการ 4,500 บาทต่อรายสำหรับการรับบริการ 6 เดือน ส่วนผลการวิเคราะห์อัตราคืนทุนภายในโครงการให้ผลบวกซึ่งหมายถึงการลงทุนทั้งสองรูปแบบมีความคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในสถานพยาบาลเพียงสองแห่งและยังพบความท้าทายในเรื่องระบบข้อมูล ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปควรเพิ่มจำนวนสถานพยาบาลที่มีการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาข้อค้นพบจากการศึกษานี้
บทคัดย่อ
Background: Non-communicable diseases (NCDs) are serious health issues in many countries. This paper aimed to evaluate a wellness center or health promotion program using the reach, effectiveness, adoption, implementation and maintenance (RE-AIM) framework and to investigate financial feasibility of NCDs prevention and promotion program in Thailand. Methodology: A retrospective plus interview study was used in this paper. Data were obtained from two wellness centers in public hospitals, Thailand. RE-AIM model was used to evaluate the program. Financial feasibility was performed with the home exercise and fitness center models based on financial and service assumptions. Results: A total of 217 participants were included in this study. After attending the prevention and promotion program for more than two months, the participants’ body weights and body mass indexes reduced significantly. Regarding the RE-AIM framework, the wellness centers reached target groups and continued providing services in the public hospitals. In terms of a financial feasibility study, the model could break-even in the first year (0.36 year for home exercise, while a fitness center model was 5.44 years with a fee of 4,500 THB per person). For the internal rate of return (IRR), both models showed positive investment. Discussion: RE-AIM model indicated that the wellness centers successfully reached its target groups. The findings provided a positive outcome and positive investment by financial feasibility study despite small sample size. Further studies are recommended to involve more hospitals to improve the generalizability of our findings.