บทคัดย่อ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาความแออัดของโรงพยาบาลใหญ่ยังคงเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง และจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จึงต้องมีการลดการไปโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล รวมถึงลดการรับและแพร่เชื้อของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาความแออัดของโรงพยาบาล คือ การเปิดบริการรับยาต่อเนื่องจากร้านยาคุณภาพนอกโรงพยาบาล การวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายหลักเพื่อ (1) ศึกษาความต้องการรับบริการของประชาชนจากการขยายขอบเขตการให้บริการด้านยา รวมถึง (2) การประเมินต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นกับร้านยาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการเข้าร่วมโครงการของร้านยาชุมชน การศึกษาครั้งนี้ใช้สถิติ chi-square เพื่อทดสอบสมมติฐานทางสถิติในการศึกษาความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการลดความแออัดของโรงพยาบาล และ ประเมินต้นทุนการให้บริการ อาศัยแนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนตามกิจกรรม เพื่อประมาณการต้นทุนส่วนเพิ่ม (marginal cost) ที่เกิดขึ้นจากการขยายหรือปรับปรุงการให้บริการด้านยาเพิ่มเติมที่เกิดแก่ร้านยาชุมชน ผลการศึกษา พบว่า (1) บริการที่ประชาชนต้องการสูงสุด ได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น การดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการดูแลฉุกเฉินในด้านต่างๆ เกี่ยวกับยา และการฉีดวัคซีน (2) บริการที่ร้านยาสามารถถ่ายโอนหรือให้บริการเสริมจากโรงพยาบาลมาสู่ร้านยาในชุมชน มีทั้งหมด 8 บริการ คือ 1) การวัดความดัน 2) การวัดระดับน้ำตาลในเลือด 3) การจัดส่งยาถึงบ้าน 4) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องยาและดูแลการจัดยาให้เหมาะสมกับคนไข้ 5) การอธิบายผลข้างเคียงของยาและการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของยา 6) การให้คำปรึกษาผ่านอีเมล/โทรศัพท์/ช่องทางอื่นๆ 7) การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น และ 8) การรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยต้นทุนส่วนเพิ่มกับร้านยา อยู่ในช่วง 822–1,378 บาทต่อวัน หรือ 187.50–312.50 บาทต่อผู้ป่วย 1 คน ในการเข้ารับบริการ 1 ครั้ง ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณในส่วนนี้แก่ร้านยาชุมชนที่เข้าร่วมบริการ
บทคัดย่อ
The problem of overcrowded large hospitals remains severe and ongoing, exacerbated by the COVID-19 pandemic. To alleviate hospital congestion and reduce hospital infections, one approach is to provide extended pharmaceutical services at quality community pharmacies outside the hospital. The main objectives of this research were: (1) to study the public’s demand for pharmaceutical services that extended to participating community pharmacies, and (2) to assess the potential costs incurred. In this study, chi-square statistic was used to test statistical hypotheses regarding the public’s demand for services at the pharmacies. The cost analysis was based on an activity-based costing concept to estimate the marginal cost of providing or improving additional pharmaceutical services at the community pharmacies. The results revealed that (1) the most highly demanded services included preliminary disease screening, chronic disease management, various urgent medication-related consultations, and vaccination services. (2) There were a total of 8 services that community pharmacies could offer as supplementary transferred services from hospitals, namely: 1) blood pressure measurement, 2) blood sugar monitoring, 3) home medication delivery, 4) medication counselling and appropriate medication delivery to patients, 5) medication side effects explanation and adverse drug reactions monitoring, 6) consultation through email/phone/other channels, 7) preliminary disease screening, and 8) chronic disease management. The marginal cost incurred by the pharmacies ranged from 822 to 1,378 baht per day, or 187.50 to 312.50 baht per patient visit. The government should consider compensating this marginal cost to community pharmacies offering these services.