บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) สืบเนื่องจากมีการนำแนวคิดการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบบูรณาการขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: Integrated Care for Older People, WHO: ICOPE) มาใช้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการค้นหาภาวะถดถอยโดยใช้เครื่องมือคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้านเพื่อสร้างเสริมสุขภาพป้องกันการเกิดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่ระดับชุมชนที่มีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นผู้ร่วมดำเนินการ จึงทำการศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการนำนวัตกรรมการคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้านในชุมชนทางระบบเว็บมาใช้ การศึกษานี้ทำใน อสม. ของเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 116 คน ทำการศึกษาเชิงปริมาณโดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์ต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานของ อสม. จากนั้นจึงได้ทำการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มกับ อสม. และพี่เลี้ยง รวมจำนวน 15 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและสถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติ multiple linear regression เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานของ อสม. และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความคาดหวังต่อประสิทธิภาพ ด้านการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา มีผลโดยตรงต่อการยอมรับการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และปัจจัยประสบการณ์และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) นอกจากนี้ยังรวมถึง สังคมรอบข้างมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทดลองใช้ คุณภาพของข้อมูลและระบบงาน การมีทีมพี่เลี้ยงสำหรับสอนงานโดยเจ้าหน้าที่ก็เป็นอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะเรียนรู้การใช้งานนวัตกรรมเช่นกัน
บทคัดย่อ
This present study employed mixed methods research to investigate factors affecting the village health volunteers’ acceptance in using web-based health screening innovation among older persons in the community. The World Health Organization Integrated Care for Older People (WHO: ICOPE) helped frame the nine-domain screening tool of elderly dependency prevention. Quantitative research was conducted in 116 village health volunteers (VHVs) of the Phetchabun municipality family doctor clinic using questionnaire exploring factors affecting the acceptance of information technology (IT) use at village level. Selected 15 VHVs and supervisors participated in qualitative focus group discussions. Multiple linear regression was used to find factors affecting the acceptance of VHVs in using the technology. The significant influencing factors (p-value < 0.05) included expectation on efficiency from IT use, support from supervisors, experiences and behavior of IT use. The peer pressure was an important influence for first time users. The qualities of information and report system and the supervisor guidance were the positive reinforcements for further usage.