บทคัดย่อ
ในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีความร่วมมือเพื่อยกระดับมาตรฐานโรงพยาบาล/สถานพยาบาลปลอดบุหรี่ส่งเสริมสุขภาพไปสู่มาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบกลุ่มบำบัดนิโคติน การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อกำหนดมาตรฐาน ทั้ง 2 นี้ จึงเป็นประโยชน์ต่อสถานพยาบาลที่มีแผนดำเนินการขอรับรองมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบในกลุ่มภาวะติดนิโคติน ในการศึกษานี้มีการเปรียบเทียบข้อแตกต่างมาตรฐานทั้ง 2 เป็น 3 กรณีคือ 1) เอกสารในการขอรับรอง 2) จำนวน และรายละเอียดของข้อกำหนด และ 3) เกณฑ์การพิจารณา ผลการศึกษาพบว่า 1) เอกสารในการขอรับรองมีความแตกต่างกันทั้งจำนวนและรายการ โดยมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบจะมีรายการเอกสารมากกว่า 2) ข้อกำหนดของสองมาตรฐานมีจำนวนเท่ากันแต่ต่างกันในรายละเอียดของเนื้อหา โดยมาตรฐานโรงพยาบาล/สถานพยาบาลปลอดบุหรี่มีความจำเพาะในกระบวนการและผลลัพธ์ของการเลิกบุหรี่ ส่วนข้อกำหนดของมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบเน้นกระบวนการดูแลผู้ป่วย และระบบงานสำคัญ โดยเน้นการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ 3) เกณฑ์การพิจารณาอ้างอิงมาตรฐานตาม scoring guideline 1-5 คะแนน เหมือนกันทั้ง 2 มาตรฐาน โดยมาตรฐานโรงพยาบาล/สถานพยาบาลปลอดบุหรี่แยกเกณฑ์ มาตรฐานข้อที่ 1-7 กับมาตรฐานข้อที่ 8 และยังมีการคำนวณคะแนนด้วยค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละข้อมาตรฐาน ไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำในขณะที่มาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบกำหนดให้ตอนที่ III กระบวนการดูแลผู้ป่วย ควรได้คะแนนมากกว่า 3.0 โดย สถานพยาบาลควรเริ่มจาก 1) จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการที่ประกอบด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ 2) จัดทำแผนปฏิบัติในการขอรับรอง 3) กำหนดตัวชี้วัดพร้อมกำหนดค่าเป้าหมาย 4) ส่งเสริมการพัฒนางานด้วยผลงานวิชาการ ทั้งนี้สำหรับสถานพยาบาลที่เริ่มต้นใหม่อาจจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้ได้เห็นผลลัพธ์กระบวนการดูแลและกระบวนการพัฒนาของสถานพยาบาล
บทคัดย่อ
In 2023, Thailand started collaborating to upgrade the smoke-free hospital standard to the program and disease specific standard (PDSS). A comparative study of the similarities and differences in these two standard requirements would be beneficial to hospitals planning to apply for the PDSS certification particularly nicotine addiction. This study compared the differences between the two standards in 3 areas: 1) application documents, 2) number and details of requirements, and 3) scoring for decision-making. The study found that 1) the documents requesting for the PDSS certification were higher in both number and items within the documents. 2) The number of requirements for the two standards were consistent but differed in detail. Smoke-free hospital standard was specific to the process and outcome of smoking cessation, but the PDSS focused on patient care process and key hospital system of interdisciplinary teamwork. 3) Both standards employed the same 1–5-point scoring guideline. The smoke-free hospital standard calculated scores of 1-7 criteria separated from criterion 8 and weighting for the overall scores without specified passing minimum score. The PDSS required part III-patient care process scores of higher than 3.0. For PDSS certification, hospitals should start from 1) establishing a multidisciplinary team, 2) creating an action plan for accreditation, 3) setting performance indicators and targets, to 4) promoting continuity quality improvement. For new hospitals, it may take at least 3 years to see results and care process improvements.