• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 7 การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิ

อุดม ทุมโฆสิต; Udom Tumkosit; ประยงค์ เต็มชวาลา; Prayong Temchavala; สุรชัย พรหมพันธุ์; Surachai Phromphan; อลงกต สารกาล; Alongkot Sarakarn; สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว; Supatjit Ladbuakhao;
วันที่: 2567-06
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลลัพธ์ และผลกระทบต่อประชาชนในด้านบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แต่ละขนาด (2) ประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการของ รพ.สต. (3) ประเมินศักยภาพและเจตนารมณ์ในการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อระบบสุขภาพในเขตพื้นที่ รพ.สต. (4) วิเคราะห์รูปแบบ และเสนอแนะรูปแบบแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในด้านวิธีวิทยาการวิจัยใช้การวิจัยผสมผสาน มีหน่วยในการวิเคราะห์ คือ ประชาชนใน 32 รพ.สต. โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,744 ตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้มีอาชีพให้บริการสุขภาพในพื้นที่ (2) กลุ่มผู้นำชุมชน และ (3) กลุ่มประชาชน ผู้เคยได้รับบริการทั้งก่อน และหลังการถ่ายโอน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า ในด้านทัศนคติของประชาชนด้านผลลัพธ์ของบริการโดย รพ.สต. มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี โดยหลังการถ่ายโอนประชาชนมีความพึงพอใจมากขึ้น ประชาชนมีความเชื่อมั่นการให้บริการของ รพ.สต. ภายใต้สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มากขึ้น เนื่องจากเชื่อว่า อบจ. เป็นหน่วยงานในพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน สามารถดูแลบริการสุขภาพปฐมภูมิได้ดีกว่า โดยผลวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ระดับความพึงพอใจของประชาชนหลังการถ่ายโอนดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 สำหรับแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วม ควรปลูกฝังค่านิยมในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในพื้นที่ให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยการรณรงค์สร้างค่านิยม “สร้างสุขภาวะโดยการพึ่งตนเอง และความร่วมมือในลักษณะพหุภาคี” โดยพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

บทคัดย่อ
The objectives of this research are to (1) evaluate the results and impacts on the people regarding the services of each size of subdistrict health promotion hospitals (2) assess people's satisfaction with the services of subdistrict health promotion Hospitals (3) evaluate the potential and intentions in health participation of the people in the health system in the subdistrict health promotion hospital area (4) analyze patterns and suggest guidelines for developing public sector participation. In terms of research methodology, mixed research was used. the unit of analysis was the people in 32 subdistrict health promotion hospitals, with a total sample size of 1,744. the sample group consisted of (1) a group of people with health service professionals in the area, (2) a group of community leaders, and (3) a group of citizens who had received Service both before and after transfer The data was collected using surveys, interviews, and focus groups. The results of the study found that in terms of people's attitudes regarding the results of services provided by subdistrict health promoting hospital, there has been a positive change. After the transfer, people were more satisfied, and have more confidence in the services provided by subdistrict health promoting hospital under the provincial administrative organization. Because they view that, the provincial administrative organization as an agency in the area that is close to them which. can provide better care for primary health care services, The results of the quantitative research found that the satisfaction levels of the people between after the transfer were better than before significantly different at the 95 percent confidence level. For guidelines for developing participation the value of taking care of one's own health should be instilled in the people in the area. By campaigning to create values “create health through self-reliance and multilateral cooperation” by strengthening current participation mechanisms.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3155.pdf
ขนาด: 1.862Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 29
ปีพุทธศักราชนี้: 22
รวมทั้งหมด: 67
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2478]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย 

    อนุสรณ์ อุดปล้อง; Anusorn Udplong; ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul; ฟาติมา ยีหมาด; Fartima Yeemard (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)
    การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงราย คือ ...
  • การเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 

    นภชา สิงห์วีรธรรม; Noppcha Singweratham; ตวงรัตน์ โพธะ; Tuangrat Phodha; วิน เตชะเคหะกิจ; Win Techakehakij; ธีระศักดิ์ วงศ์ใหญ่; Dherasak Wongyai; อำพล บุญเพียร; Aumpol Bunpean; พัลลภ เซียวชัยสกุล; Pallop Siewchaisakul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-12)
    การถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาคและเท่าเทียม ...
  • การพัฒนาแบบจำลองทำนายความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประเทศไทยเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อระบบหลักประกันสุขภาพและระบบสุขภาพ 

    ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย; Piya Hanvoravongchai; เสกสรร เกียรติสุไพบูลย์; Seksan Kiatsupaibul; วิฐรา พึ่งพาพงศ์; Vitara Pungpapong; อรลักษณ์ พัฒนาประทีป; Oraluck Pattanaprateep; มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์; Montarat Thavorncharoensap; วศิน เลาหวินิจ; Wasin Laohavinij; จิดาภา หาญวรวงศ์ชัย; Jidapa Hanvoravongchai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-10)
    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองทำนายความเสี่ยง 2 แบบจำลองหลัก คือ 1.1 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรทั่วไป และ 1.2 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสีย ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1288]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [229]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV