Show simple item record

Medicine Prices Situation Survey in Thailand and Design the Pricing Policy

dc.contributor.authorชะอรสิน สุขศรีวงศ์th_TH
dc.contributor.authorChaoncin Sooksriwongth_TH
dc.contributor.authorศนิตา หิรัญรัศมีth_TH
dc.contributor.authorSanita Hirunrassameeth_TH
dc.contributor.authorกุสาวดี เมลืองนนท์th_TH
dc.contributor.authorKusawadee Maluangnonth_TH
dc.contributor.authorสิริวัฒน์ สุวัฒนปรีดาth_TH
dc.contributor.authorSiriwat Suwattanapreedath_TH
dc.contributor.authorถิรพิชญ์ เจือจันทร์th_TH
dc.contributor.authorThirapich Chuachantrath_TH
dc.date.accessioned2024-09-05T08:16:48Z
dc.date.available2024-09-05T08:16:48Z
dc.date.issued2567-06-01
dc.identifier.otherhs3164
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6143
dc.description.abstractที่มา มาตรการของภาครัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคายาได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ที่มีการพัฒนานโยบายแห่งชาติด้านยาฉบับแรกของประเทศไทย จึงควรมีการวิจัยเพื่อประเมินผลกระทบต่อราคายาที่เกิดจากมาตรการต่างๆ เพื่อนำเสนอนโยบายราคายา การกำกับดูแลระบบราคายาที่เหมาะสม ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ฐานข้อมูลการซื้อยาจากกรมบัญชีกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561- 2565 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2560-30 กันยายน พ.ศ. 2565) รวม 5 ปี กลุ่มตัวอย่างยาจัดแบ่งตามกลุ่มการรักษายาที่มีผู้ผลิต/ผู้นำเข้าเพียงรายเดียว และหลายราย ยาชีววัตถุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม excel การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยนำผลการวิจัยเชิงปริมาณเข้าสู่ที่ประชุมกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียกับราคายา วิเคราะห์เนื้อหาจากการประชุมกลุ่มจัดทำเป็นร่างนโยบายแห่งชาติด้านยาที่จะใช้เป็นแนวทางการกำกับดูแลราคายา ผลการศึกษาได้นำเสนอร่างนโยบายแห่งชาติด้านยา โดยใช้ผลจากการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) จากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ราคากลางเป็นมาตรการควบคุมราคายาที่มีผลต่อราคาจัดซื้อมากกว่ามาตรการอื่นๆ วิธีการจัดซื้อมีผลต่อราคาซื้อยาต้นแบบไม่แตกต่างกันมาก แต่มีผลต่อยาสามัญโดยพบว่าราคายาลดลง ยาต้นแบบที่มีผู้จำหน่ายรายเดียวพบราคาซื้อแตกต่างกันระหว่างโรงพยาบาล การมียาคู่แข่งขันเพิ่มทำให้ราคาลดลง ระยะทางไม่มีผลต่อราคาจัดซื้อ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ข้อมูลมาตรการใหม่ที่ควรทำ เช่น การกำหนดให้ยามีราคาเดียวจะช่วยให้สามารถจัดซื้อยากลุ่มนี้ได้ในราคาที่ไม่แตกต่างกัน ยาราคาแพงและอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติควรใช้วิธีการต่อรองราคาและการจัดซื้อรวม ควรมีการกำหนดราคาในระดับก่อนออกจำหน่ายโดยเฉพาะยาราคาแพงและยาต้นแบบ ปรับกระบวนการต่อรองราคาและกระบวนการจัดซื้อที่เหมาะสมกับยาแต่ละประเภท สรุป รัฐควรจัดให้มีนโยบายแห่งชาติด้านราคายาที่เหมาะสมกับประเทศไทย พัฒนาระบบการควบคุมกำกับราคายา ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ครอบคลุมการจัดทำหลักเกณฑ์กำหนดราคากลาง และกำหนดราคายาให้เหมาะสมกับความสามารถในการจ่าย เพื่อประโยชน์ในการวางแผนด้านงบประมาณของประเทศ ความเป็นธรรมของการเข้าถึงยา และการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ กุญแจของความสำเร็จของแผนการพัฒนานโยบายแห่งชาติด้านราคายา ควรประกอบด้วย Flow SEB ดังนี้ คือ F: Flow of work S: Single policy E: Exclusive authorized organization B: Bundle measuresth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectDrugth_TH
dc.subjectยา--ราคาth_TH
dc.subjectยา--การจัดซื้อth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสำรวจสถานการณ์ราคายาและออกแบบนโยบายราคายาของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeMedicine Prices Situation Survey in Thailand and Design the Pricing Policyth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Government measures related to drug pricing have been done continuously since 1981, when Thailand's the first National Drug Policy was developed. Therefore, there should be a study to monitor the impacts of these measures to offer a proper drug pricing policy for Thailand. Methods: The study employed a mixed-method approach. The quantitative analysis used records from the Comptroller General’s Department from fiscal years 2018 to 2022 (1 October 2017–30 September 2022), a total of 5 years. Drug samples were sampling according to the treatment group, monopoly, oligopoly, and biological drugs. Data was analyzed by Excel program. The qualitative research gathered information from focus group meetings of parties involved in drug prices. The result of quantitative part was the input of meetings. Analyze the content to develop a draft national drug policy. Results: The draft National Drug Pricing Policy was proposed from the quantitative and qualitative research. 1) The quantitative research. It was found that the reference pricing measure having high impact on prices. The procurement method impacted more on prices of generic drugs than innovative drugs. Procured prices of innovators varied among public hospitals. Market competition lowered the drug prices and distances from Bangkok did not affect on prices. 2) The qualitative research. It was found that new measures were suggested as; single price policy to solve price the variation problem, the national negotiation and procurement for high price drugs under UC, price setting prior launching to the market for high price and innovator drugs, and adjust the process of price negotiation and procurement. Conclusion: The appropriate National Drug Pricing Policy for Thailand, with all stakeholder collaboration, should be developed to control drug pricing along the supply chain. Thus, to obtain the benefits in planning for national budget, equity of drug accessibility, and sustainability of local pharmaceutical industry. Key to success of the development of the National Drug Pricing Policy should be “Flow SEB”, as F: Flow of work S: Single policy E: Exclusive authorized organization B: Bundle measures.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ช377ก 2567
dc.identifier.contactno65-145
.custom.citationชะอรสิน สุขศรีวงศ์, Chaoncin Sooksriwong, ศนิตา หิรัญรัศมี, Sanita Hirunrassamee, กุสาวดี เมลืองนนท์, Kusawadee Maluangnon, สิริวัฒน์ สุวัฒนปรีดา, Siriwat Suwattanapreeda, ถิรพิชญ์ เจือจันทร์ and Thirapich Chuachantra. "การสำรวจสถานการณ์ราคายาและออกแบบนโยบายราคายาของประเทศไทย." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6143">http://hdl.handle.net/11228/6143</a>.
.custom.total_download21
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year21
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs3164.pdf
Size: 4.714Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record