บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการทบทวนเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของการถ่ายโอนสถานบริการสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 รวมถึงหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2564 ผลการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการถ่ายโอนภารกิจสถานบริการสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบันมีการปรับปรุงให้มีความชัดเจนและยืดหยุ่นมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกณฑ์การประเมินความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการแบ่งระดับเป็นขั้น เพื่อให้ทุกองค์กรสามารถรับการถ่ายโอนภารกิจได้ตามศักยภาพของตนเอง อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ยังคงเป็นความท้าทายมาโดยตลอดก็คือกฎหมายและระเบียบรองรับการดำเนินงาน เช่น การควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและอื่นๆ การถ่ายโอนบุคลากรทุกประเภท การบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างหน่วยบริการประจำและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอน แต่ยังพบปัญหาอุปสรรค คือขาดความต่อเนื่องในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจและการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ข้อจำกัดด้านกฎหมาย ส่วนปัญหาด้านการถ่ายโอนบุคลากร พบปัญหาความไม่ชัดเจนในการแบ่งหน้าที่ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การศึกษานี้มีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ 1) ควรพิจารณาทบทวน ปรับปรุงและแก้ไขกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวกับการดําเนินงานของหน่วยบริการสุขภาพที่ถูกถ่ายโอน เพื่อให้การบริหารจัดการและการให้บริการมีประสิทธิภาพ 2) ควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ในการเพิ่มกรอบอัตรากําลังบุคลากรเพื่อให้สถานบริการสุขภาพที่ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวตามบริบทของตน ตามปัญหาและข้อจํากัดในแต่ละพื้นที่ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณด้านบุคลากร และ 3) ควรมีการจัดสรรงบประมาณตามภาระงานที่สถานบริการสุขภาพที่ถ่ายโอนไปในแต่ละพื้นที่ต้องรับผิดชอบ เพื่อสถานบริการเหล่านั้นจะได้มีความมั่นคงด้านรายได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งสามารถวางแผนการจัดการทรัพยากรและรายได้ของตนเองเพื่อจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและเกิดประสิทธิผล
บทคัดย่อ
This qualitative research reviewed documents to investigate the progress of health facility decentralization according to sequential plans, decrees following revisions of the Decentralization Plan Act.
Specifically, this research examined the criteria and procedures of transferring the Chaloem Phra Kiat 60
Years Nawamintrachini Health Centers and sub-district health promoting hospitals to local government
organizations in 2021. The results reveal continuous improvements in the clarity and flexibility of the
transfer criteria and conditions. Notably, the transfer criteria have been segmented into stages to evaluate the readiness and potential of local government organizations for the expected responsibilities.
However, significant challenges persist, particularly regarding the laws and regulations governing the
operations of medical and health professionals, including all other categories of human resources, and
budgetary management by the National Health Security Office related to primary health care function
of the transferred facilities. These challenges were compounded by a lack of continuity in decentralization and operational plans, budgetary constraints, legal issues encountered in the transfer of human
resources, and an unclear division of duties between related units. The study offers policy proposals as
follows: 1) review and amend the Ministry of Interior’s regulations regarding the operations of transferred
health facilities to enhance efficient management and service delivery. 2) Amend regulations to increase
workforce flexibility of transferred health facilities to local government organizations taking account of
local contexts, issues, and limitations within the personnel budget framework. 3) Allocate budgets according to the responsibilities of transferred health facilities to ensure stable income to attain self-managed revenues for effective health service delivery.