บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และปรับปรุงการกำหนดรายการ และราคาเบิกจ่ายค่ายาในรูปแบบ fixed-fee schedule สำหรับการเบิกจ่ายค่ายารายรายการภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีงบประมาณ 2567 ตลอดไปจนถึงการจำลอง และประเมินผลกระทบ เพื่อเสนอแนวทาง และข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง หรือพัฒนาระบบ กระบวนการหรือแนวปฏิบัติในอนาคต การศึกษานี้ใช้แบบวิจัยและพัฒนาระบบผ่านปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมดำเนินการวิจัย และพัฒนาระบบการเบิกจ่ายค่ายารายรายการร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในระบบการเบิกจ่ายจริง โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนด และปรับปรุงรายการ และราคาเบิกจ่ายค่ายาสำหรับปีงบประมาณ 2567 2) การรับฟังความคิดเห็นหน่วยบริการต่อร่างบัญชีรายการ และอัตราเบิกจ่ายค่ายากับหน่วยบริการ และ 3) การจำลอง และประเมินผลกระทบทางการเงิน ร่างบัญชีรายการ และอัตราเบิกจ่ายค่ายาสำหรับปีงบประมาณ 2567 ประกอบด้วย 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาทางการค้า (commercial products) ผลิตภัณฑ์ยาเตรียมโรงพยาบาล (hospital preparations) และผลิตภัณฑ์สมุนไพร (herbal products) จากการรับฟังความคิดเห็นกับหน่วยบริการ ผู้วิจัยได้รับการทักท้วงให้พิจารณาราคาเบิกจ่ายค่ายาจากหน่วยบริการจำนวน 27 หน่วยบริการ ผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมรายการ และพิจารณาข้อทักท้วง ปรับปรุงเป็นบัญชีรายการ และราคาเบิกจ่ายค่ายาฉบับเสนอเพื่อประกาศใช้ อย่างไรก็ตาม มีประกาศใช้เฉพาะส่วนของผลิตภัณฑ์ทางการค้าให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567 ทั้งนี้ ชะลอการใช้รายการ และราคาเบิกจ่ายส่วนของยาเตรียมโรงพยาบาลและยาสมุนไพรไปก่อน เนื่องจากยังไม่สามารถจำลองผลกระทบงบประมาณได้ชัดเจน จากข้อจำกัดของข้อมูลการเบิกจ่ายปีก่อนหน้าซึ่งยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานข้อมูลโดยเฉพาะในส่วนของหน่วยนับปริมาณ การกำหนดขนาดบรรจุ และรหัสบ่งชี้รายการยา ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานข้อมูลก่อนที่จะนำบัญชีรายการ และราคาเบิกจ่ายค่ายาที่กำหนดไปใช้ได้ การติดตามข้อมูลการเบิกจ่ายในช่วง 3 เดือนแรกหลังการประกาศใช้ (มีนาคม – พฤษภาคม พ.ศ. 2567) ในบริการผู้ป่วยนอกส่งต่อ ผู้ป่วยนอกผู้พิการ และผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉิน พบว่าในภาพรวมทุกประเภทการบริการ และประเภทหน่วยบริการมีมูลค่าการเบิกจ่ายตามบัญชีรายการ และราคาเบิกจ่ายฉบับปรับปรุงต่ำกว่ามูลค่าที่เรียกเก็บ 2.4% เทียบกับกับอัตราจ่ายตาม fee schedule 2566 ในช่วงเดือนเดียวกันมีมูลค่าการเบิกจ่ายต่ำกว่ามูลค่าที่เรียกเก็บ 4.3% จำเป็นต้องมีการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับมีช่องทางให้หน่วยบริการติดต่อสื่อสาร เพื่อดำเนินการปรับปรุงบัญชียารายการ และราคาเบิกจ่ายระหว่างปี การพัฒนาหลักเกณฑ์ และการปรับปรุงมาตรฐานข้อมูลเพื่อให้เกิดการเบิกจ่ายในส่วนของยาเตรียมโรงพยาบาล และยาสมุนไพร และควรมีการศึกษา และพัฒนากลไกการเบิกจ่ายค่ายารายรายการเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้สำหรับร้านยาซึ่งมีความแตกต่างของโครงสร้างราคาแตกต่างจากโรงพยาบาล
บทคัดย่อ
This research project aims to develop and improve the listing and reimbursement
pricing of drugs under a fixed-fee schedule for line-item drug reimbursements under the
National Health Security Scheme for the fiscal year 2024. It also seeks to simulate and
assess the impacts to provide recommendations for future improvements or developments in
the system, processes, or practices. The study utilizes a research and development approach
through participatory action research, working with the National Health Security Office
(NHSO) on the actual reimbursement system. The project involves three key steps: 1)
determining and revising the drug list and reimbursement prices for the fiscal year 2024, 2)
gathering feedback from service providers on the draft drug list and reimbursement rates, and
3) simulating and evaluating the financial impacts. The draft drug list and reimbursement rates
for the fiscal year 2024 include 3 product categories: commercial products, hospital
preparations, and herbal products. Based on feedback from 27 service providers, the
researcher compiled the comments, revised the list, and finalized the reimbursement prices for
implementation. However, only the commercial product segment was implemented, effective
March 1, 2024, while the implementation of the hospital preparations and herbal products was
postponed due to the budgetary impacts cannot be clearly simulated. This postponement was
necessary due to limitations in the previous year's reimbursement data, particularly the lack of
standardized information regarding units of measure, packaging sizes, and drug item codes,
which need to be addressed before the drug list and reimbursement prices can be fully
implemented. Monitoring of reimbursement data for the first three months after implementation
(March - May 2024) for referred outpatient services, disabled outpatient services, and
emergency outpatient services showed that the overall reimbursement value under the revised
drug list and reimbursement prices was 2.4% lower than the invoiced amount. This compares
to a 4.3% lower reimbursement value under the 2023 fee schedule for the same period.
Continuous monitoring and evaluation are necessary, along with establishing communication
channels for service providers to report issues so that adjustments can be made to the drug
list and reimbursement prices throughout the year. Additionally, it is essential to develop
criteria and improve data standards to enable reimbursement for hospital preparations and
herbal products. Further studies should be conducted to develop a reimbursement mechanism
that accommodates pharmacies, which have different price structures from hospitals.