• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การเปรียบเทียบบริการสุขภาพสำหรับดูแลผู้ป่วยอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยากับแผนกผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล : การศึกษาเชิงคุณภาพ

ตวงรัตน์ โพธะ; Tuangrat Phodha; ศรวณีย์ อวนศรี; Sonvanee Uansri; กุสาวดี เมลืองนนท์; Kusawadee Maluangnon; ปรุฬห์ รุจนธำรงค์; Parun Rutjanathamrong; กิตติยา จันทรธานีวัฒน์; Kittiya Jantarathaneewat; ศิริรัตน์ จตุรพูลลาภ; Sirirat Jaturapullarp; พีรพัฒน์ ทรัพย์พฤทธิกุล; Pheeraphat Sarppreuttikun; ฐิติณัชช์ เด็ดแก้ว; Thitinat Dedkaew; ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน; Thanawat Wongphan;
วันที่: 2568-05
บทคัดย่อ
ที่มา การเปรียบเทียบบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยระหว่างร้านยาและแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจพฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสุขภาพของประชาชน ข้อมูลที่ได้จากการเปรียบเทียบนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาแนวทางการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงง่ายในบริบทที่หลากหลาย ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษานี้ใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพในการเปรียบเทียบบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยระหว่างร้านยาและแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การทบทวนเอกสารเกี่ยวกับบริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยและนโยบายจากประเทศที่ให้ความสำคัญ เช่น แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และแอฟริกาใต้ 2) การเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยและเภสัชกร รวมถึงการสำรวจความหวังและความพึงพอใจของผู้ป่วยเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ใช้บริการในร้านยาและแผนกผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล โดยการใช้แบบสำรวจเชิงคุณภาพ ใน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯและปริมณฑล, เชียงใหม่, อุดรธานี, สุโขทัย, สระแก้ว และยะลา มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 48 คน และ 3) การจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 25 คน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษา (1) การทบทวนเอกสารเกี่ยวกับบริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยและนโยบาย พบว่า โครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในร้านยาของแต่ละประเทศมีความแตกต่างตามระบบประกันสุขภาพและบทบาทของเภสัชกร โดยประเทศที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสนับสนุนบทบาทเภสัชกรผ่านโครงการเฉพาะ เช่น อังกฤษและไต้หวัน ส่วนเกาหลีใต้และแอฟริกาใต้เผชิญข้อจำกัดด้านกฎหมายและการกระจายร้านยา ระบบค่าตอบแทนมีผลต่อความยั่งยืนของโครงการ โดยประเทศที่มีระบบเบิกจ่ายที่ดี เช่น อังกฤษและแคนาดา มีอัตราการเข้าร่วมโครงการสูง ขณะที่ประเทศที่ใช้ระบบร่วมจ่าย เช่น ออสเตรเลียและไต้หวัน อาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการ (2) ผลด้านเส้นทางการใช้บริการ พบว่าผู้ป่วยเลือกใช้ร้านยาเพราะสะดวกและรวดเร็ว ขณะที่โรงพยาบาลมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน อุปสรรคของโครงการร้านยาคือการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ระบบเบิกจ่ายที่ไม่เสถียร และความเข้าใจผิดของผู้ป่วยเกี่ยวกับบทบาทของร้านยา เช่น การเลือกยาเองโดยไม่ต้องซักประวัติ นอกจากนี้ ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างร้านยาและโรงพยาบาลยังไม่มีประสิทธิภาพ และ (3) ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ พบว่าผู้รับบริการมีความคาดหวังสูงทั้งต่อร้านยาและโรงพยาบาล โดยเฉพาะด้านความสะดวกในการเข้าถึง (ร้านยา x ̅ = 4.7, SD = 0.5 ร้อยละ 95.0; โรงพยาบาล x ̅ = 4.8, SD = 0.4 ร้อยละ 96.0) และการให้บริการของบุคลากร (ร้านยา x ̅ = 4.9 SD = 0.4, ร้อยละ 97.2; โรงพยาบาล x ̅ = 5.0, SD = 0.0 ร้อยละ 100.0) อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลได้รับคะแนนสูงกว่าในด้านขนาดสถานที่ (ร้านยาx ̅ = 4.5, SD = 0.7 ร้อยละ 90.7; โรงพยาบาล x ̅ = 4.6, SD = 0.6 ร้อยละ 91.8) และความครบถ้วนของรายการยา (ร้านยา x ̅ = 4.7, SD = 0.6 ร้อยละ 93.7; โรงพยาบาล x ̅ = 4.8, SD = 0.4 ร้อยละ 95.6) ส่วนร้านยาได้รับคะแนนสูงด้านความรวดเร็วของบริการ (ร้านยา x ̅ = 4.7, SD = 0.6 ร้อยละ 94.0; โรงพยาบาล x ̅ = 4.7, SD = 0.7 ร้อยละ 93.9) ด้านความพึงพอใจพบว่าผู้รับบริการให้คะแนนสูงทั้งสองแห่ง โดยร้านยาได้รับคะแนนสูงกว่าด้านความคุ้มค่าต่อค่าใช้จ่าย (ร้านยา x ̅ = 9.2, SD = 1.8 ร้อยละ 92.0; โรงพยาบาล x ̅ = 4.7, SD = 2.6 ร้อยละ 46.7) และความสะดวกในการเข้าถึง ส่วนโรงพยาบาลได้รับคะแนนสูงกว่าด้านคุณภาพของบริการ (ร้านยา x ̅ = 9.3, SD = 1.5 ร้อยละ 92.7; โรงพยาบาล x ̅ = 9.3, SD = 1.2 ร้อยละ 93.2) และมาตรฐานกระบวนการรักษา ในแง่ของความจงรักภักดีต่อบริการ พบว่าผู้รับบริการมีแนวโน้มใช้บริการร้านยาในอนาคตมากกว่าการกลับไปใช้โรงพยาบาล (ร้านยา x ̅ = 9.6, SD = 1.2 ร้อยละ 95.6; โรงพยาบาล x ̅ = 5.8, SD = 1.6 ร้อยละ 58.3) และมีแนวโน้มแนะนำร้านยามากกว่าโรงพยาบาล (ร้านยา x ̅ = 9.6, SD = 1.2 ร้อยละ 95.6; โรงพยาบาล x ̅ = 6.1, SD = 2.1 ร้อยละ 61.1) สรุป การตอบรับเชิงบวกจากทั้งผู้ป่วยและเภสัชกรแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของโครงการในการตอบสนองความต้องการด้านการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดภาระของแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่พบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความเข้าใจของผู้ป่วยและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค บ่งชี้ถึงประเด็นที่ต้องได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ การที่เภสัชกรเน้นย้ำถึงความซื่อสัตย์ในฐานะปัจจัยแห่งความยั่งยืน ตอกย้ำถึงความสำคัญของการรักษาความน่าเชื่อถือของโครงการ ข้อพิจารณาด้านนโยบายในอนาคตควรมุ่งเน้นไปที่การขยายความครอบคลุมของประกันสุขภาพ การเสริมสร้างระบบการจัดการ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนโครงการดูแลสุขภาพระดับชุมชนนี้ ผลการศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้บริหารด้านการดูแลสุขภาพในการปรับปรุงและขยายบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิในลักษณะเดียวกัน ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา 1) ด้านระบบบริการควรมีการพัฒนาระบบบริการโดยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างร้านยาและหน่วยบริการสุขภาพ พร้อมจัดทำแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน และควรขยายโครงการให้ครอบคลุมทุกสิทธิการรักษา 2) ด้านระบบการเบิกจ่ายเงินควรปรับปรุงระบบการเบิกจ่ายเงินให้รวดเร็ว โปร่งใส และพิจารณาใช้ระบบ Co-pay เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ 3) ด้านการประชาสัมพันธ์ควรเน้นการสื่อสารที่เข้าใจง่าย และเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม และ 4) ด้านธรรมาภิบาล ควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินโครงการ และมีระบบตรวจสอบร้านยาอย่างเข้มงวด ทั้งหมดนี้จะช่วยให้โครงการสามารถขยายผลและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้มากขึ้น

บทคัดย่อ
Background: Comparing healthcare services for patients with minor ailments between pharmacies and hospital outpatient departments is crucial for understanding public behavior and factors influencing healthcare service selection decisions. Data from this comparison serves as an important foundation for developing efficient and accessible service guidelines in diverse contexts. Methods: This study employed a qualitative research approach to compare healthcare services for patients with minor ailments between pharmacies and hospital outpatient departments. The research was conducted in three main phases: 1) Literature review of minor ailment care services and policies from countries with notable programs, including Canada, United Kingdom, Australia, Taiwan, South Korea, and South Africa; 2) Data collection through in-depth interviews with patients and pharmacists, along with surveys on expectations and satisfaction of minor ailment patients using services at pharmacies and hospital outpatient departments, using qualitative survey methods in 6 provinces: Bangkok and surrounding areas, Chiang Mai, Udon Thani, Sukhothai, Sa Kaeo, and Yala, with 48 informants; and 3) Expert and stakeholder meetings with 25 participants to perform content analysis of the collected data. Results: (1) Literature review revealed that pharmacy-based minor ailment programs vary across countries according to health insurance systems and pharmacist roles. Countries with universal health coverage support pharmacist roles through specific programs, such as the UK and Taiwan, while South Korea and South Africa face legal constraints and pharmacy distribution issues. Compensation systems affect program sustainability, with countries having good reimbursement systems like the UK and Canada showing high program participation rates, while countries using co-payment systems like Australia and Taiwan may have service access limitations. (2) Service pathway findings showed patients chose pharmacies for convenience and speed, while hospitals had complex procedures and time-consuming processes. Program barriers included unclear communication, unstable reimbursement systems, and patient misunderstandings about pharmacy roles, such as self-medication without health history taking. Additionally, data linkage systems between pharmacies and hospitals remained inefficient. (3) Comparison of expectations and satisfaction revealed service users had high expectations for both pharmacies and hospitals, particularly in accessibility (pharmacy x ̅ = 4.7, SD = 0.5, 95.0%; hospital x ̅ = 4.8, SD = 0.4, 96.0%) and staff service (pharmacy x ̅ = 4.9, SD = 0.4, 97.2%; hospital x ̅ = 5.0, SD = 0.0, 100.0%). However, hospitals scored higher in facility size (pharmacy x ̅ = 4.5, SD = 0.7, 90.7%; hospital x ̅ = 4.6, SD = 0.6, 91.8%) and medication completeness (pharmacy x ̅ = 4.7, SD = 0.6, 93.7%; hospital x ̅ = 4.8, SD = 0.4, 95.6%), while pharmacies scored higher in service speed (pharmacy x ̅ = 4.7, SD = 0.6, 94.0%; hospital x ̅ = 4.7, SD = 0.7, 93.9%). Satisfaction findings showed high scores for both settings, with pharmacies receiving higher scores for value for money (pharmacy x ̅ = 9.2, SD = 1.8, 92.0%; hospital x ̅ = 4.7, SD = 2.6, 46.7%) and accessibility, while hospitals scored higher in service quality (pharmacy x ̅ = 9.3, SD = 1.5, 92.7%; hospital x ̅ = 9.3, SD = 1.2, 93.2%) and treatment process standards. Service loyalty showed users were more likely to use pharmacy services in the future than return to hospitals (pharmacy x ̅ = 9.6, SD = 1.2, 95.6%; hospital x ̅ = 5.8, SD = 1.6, 58.3%) and more likely to recommend pharmacies than hospitals (pharmacy x ̅ = 9.6, SD = 1.2, 95.6%; hospital x ̅ = 6.1, SD = 2.1, 61.1%). Conclusion: The positive reception from both patients and pharmacists demonstrates the program's potential for addressing primary healthcare needs while reducing the burden on hospital outpatient departments. However, identified challenges, particularly regarding patient understanding and technical infrastructure, indicate areas requiring development to enhance program efficiency. Pharmacists' emphasis on honesty as a sustainability factor underscores the importance of maintaining program integrity. Future policy considerations should focus on expanding health insurance coverage, strengthening management systems, and developing technological infrastructure to support this community-based healthcare initiative. These findings provide valuable insights for policymakers and healthcare administrators in refining and scaling similar primary care pharmacy services. Recommendations: 1) Service systems should develop integrated data linkage between pharmacies and healthcare units, establish standardized practice guidelines, and expand programs to cover all treatment rights; 2) Reimbursement systems should be improved for speed and transparency, with consideration of co-payment systems to reduce government budget burden; 3) Public relations should emphasize easily understood communication and increase promotional channels to reach all population groups; and 4) Governance should ensure transparency in program operations and implement rigorous pharmacy monitoring systems. These measures will enable program expansion and increase public confidence.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3263.pdf
ขนาด: 4.216Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 9
ปีงบประมาณนี้: 9
ปีพุทธศักราชนี้: 9
รวมทั้งหมด: 9
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2470]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1282]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV