Show simple item record

Development of a Care Model Integrating Health Behavior Modification and Telemedicine for Glycemic Control in Uncontrolled Type 2 Diabetes Mellitus

dc.contributor.authorเจษฎา บุญญานุภาพพงศ์th_TH
dc.contributor.authorJedsada Boonyanupapongth_TH
dc.contributor.authorภูวดล พลพวกth_TH
dc.contributor.authorPuwadol Polpuakth_TH
dc.contributor.authorฐาปนันทน์ อมรางกูรth_TH
dc.contributor.authorThapanan Amarangkulth_TH
dc.contributor.authorศิระ ปานแย้มth_TH
dc.contributor.authorSira Panyamth_TH
dc.contributor.authorนิภาวรรณ เนินเพิ่มพิสุทธิ์th_TH
dc.contributor.authorNipawan Nernpermpisoothth_TH
dc.date.accessioned2025-06-30T08:49:53Z
dc.date.available2025-06-30T08:49:53Z
dc.date.issued2568-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 19,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2568) : 117-146th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6280
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล: กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลก การศึกษานี้มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้อาหารพร่องแป้งและระบบเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความสามารถจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระเบียบวิธีศึกษา: รูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งการศึกษาทั้งหมดเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วยการศึกษาสภาพปัญหา การพัฒนารูปแบบและการศึกษาประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างการศึกษาเชิงคุณภาพในระยะที่ 1 ประกอบด้วยกลุ่มผู้ให้บริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 7 ราย และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จำนวน 15 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานจากการวิเคราะห์ปัญหาในระยะที่ 1 ร่วมกับการประยุกต์รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ความรอบรู้ด้านสุขภาพและทฤษฎีแรงจูงใจ ระยะที่ 3 เป็นการศึกษากึ่งทดลองกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนำร่อง 4 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และกลุ่มเปรียบเทียบที่ใช้การรักษาในรูปแบบเดิมกลุ่มละ 20 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบมีระบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา Fisher’s exact test, independent t-test และ multivariable regression analysis ผลการศึกษา: ระบบการให้บริการรูปแบบเดิมไม่สามารถประเมินและให้คำแนะนำการจัดการตนเองแก่ผู้ป่วยเป็นรายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิผล เกิดปัญหาความแออัดในการรอรับบริการ ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จึงได้พัฒนาระบบการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำในการจัดการตนเอง มีการส่งต่อข้อมูลร่วมกับการติดตามโดยใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น สามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ควบคุมระดับไขมันในเลือดและสามารถลดปริมาณการใช้ยาลดระดับน้ำตาลได้ ข้อยุติ: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิผลที่ดีในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ดังนั้นจึงควรขยายผลการดำเนินงานการใช้รูปแบบไปยังโรงพยาบาลชุมชนอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ หรือนำไปพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectType 2 Diabetesth_TH
dc.subjectเบาหวานชนิดที่ 2th_TH
dc.subjectDiabetesth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์th_TH
dc.subjectTelemedicineth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและระบบเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of a Care Model Integrating Health Behavior Modification and Telemedicine for Glycemic Control in Uncontrolled Type 2 Diabetes Mellitusth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: The Ministry of Public Health has realized improving quality of diabetes care in response to the escalating global burden of diabetes. This study aimed to develop an integrated chronic care model promoting dietary behavior changes through a low-carbohydrate diet and strengthening self-care engagement via telemedicine. The intervention aimed to enhance self-management capacities, achieve glycemic control. Methodology: The study employed a research and development design divided into three phases: problem situation analysis, model development, and evaluation of the model’s effectiveness. In phase 1, a qualitative study was conducted involving 7 service providers from the noncommunicable clinic and 15 uncontrolled type 2 diabetes patients purposively selected. Phase 2 focused on developing an integrated diabetes care model based on phase 1 findings, incorporating elements of the chronic care model, health literacy principles, and motivational theory. In phase 3, a quasi-experimental study was conducted among uncontrolled type 2 diabetes patients at four pilot sub-district health promoting hospitals. Participants were systematically allocated into two groups: an experimental group receiving the health behavior modification interventions and a comparison group receiving standard usual care. Each group consisted of 20 participants. Qualitative data were analyzed using content analysis, while quantitative data were analyzed using descriptive statistics, Fisher’s exact test, independent t-test, and multivariable regression analysis. Results: The standard usual care service was ineffective in assessing patients’ self-management needs and providing individualized advice, resulting in service overcrowding and persistent inappropriate health behaviors among patients with diabetes. To address these issues, an integrated care system was developed, offering personalized self-management support, data transfer, and telemedicine-based follow-up at sub-district health promoting hospitals. Following implementation, patients demonstrated improved self-care behaviors, significant reductions in HbA1C levels, improved lipid profiles, and decreased use of glucose-lowering medications. Conclusion: The integrated diabetes care model was effective in better glycemic and lipid control among uncontrolled type 2 diabetes patients. Scaling the implementation of this model to additional community hospitals could enhance effective diabetes care delivery at the local level. Furthermore, the model could be adapted as a diabetes remission model at sub-district health promoting hospitals.th_TH
dc.subject.keywordการอดอาหารเป็นช่วงเวลาth_TH
dc.subject.keywordIntermittent Fastingth_TH
dc.subject.keywordเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลth_TH
.custom.citationเจษฎา บุญญานุภาพพงศ์, Jedsada Boonyanupapong, ภูวดล พลพวก, Puwadol Polpuak, ฐาปนันทน์ อมรางกูร, Thapanan Amarangkul, ศิระ ปานแย้ม, Sira Panyam, นิภาวรรณ เนินเพิ่มพิสุทธิ์ and Nipawan Nernpermpisooth. "การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและระบบเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6280">http://hdl.handle.net/11228/6280</a>.
.custom.total_download8
.custom.downloaded_today5
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Thumbnail
Name: hsri-journal-v19n ...
Size: 9.259Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1372]
    บทความวิชาการ

Show simple item record