บทคัดย่อ
เมื่อ พ.ศ. 2549 และ 2550 รัฐบาลไทยประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาด้านเอชไอวีและยาสลายลิ่มเลือดรวม 3 รายการ. นโยบายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ป่วยที่รับการรักษาพยาบาลในภาครัฐเข้าถึงยามากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามมาตรการยืดหยุ่นในข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (Agreement on Trade-related Aspects of Intellectual Property Rights,TRIPS) คณะผู้วิจัยได้ใช้การศึกษาวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าการใช้มาตรการยืดหยุ่นตามข้อตกลงทริปส์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็นได้รับการยอมรับเป็นนโยบาย เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ารับตำแหน่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเดือนกันยายน 2549 นโยบายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุข, กลุ่มผู้ป่วย และนักวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศ แต่ถูกต่อต้านโดยผู้ทรงสิทธิบัตร, อุตสาหกรรมยาข้ามชาติ และรัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้ว ความร่วมมือจากภาคประชาสังคมได้เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนด้านวิชาการ, การจัดการรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในขณะที่ประเทศมหาอำนาจบางประเทศใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าและสร้างแรงกดดันทางการเมือง ความตระหนักของชาติต่อผลกระทบของสิทธิบัตรยาที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงยาจำเป็นในประเทศยากจนได้ส่งผลดีต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลไทย อนึ่ง ความเป็นไปได้ที่การใช้มาตรการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ดำเนินการตาม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการคัดค้านอย่างแข็งขันจากฝ่ายที่เสียผลประโยชน์
บทคัดย่อ
In late 2006 and early 2007, the Thai government announced its intention to introduce the use by the
government of patents for three pharmaceutical products: two antiretrovirals (ARVs) and an anti-thrombotic
drug. This action, which was aimed at improving access to essential medicines in the public sector,
complied with the flexibilities of the Agreement on Trade-related Aspects of Intellectual Property Rights
(TRIPS). By employing qualitative approaches, this study assesses the involvement of key stakeholders in
the policy process. This analysis suggests that the idea of enforcing TRIPS flexibilities for expanded access to essential
medicines in Thailand was adopted as a public policy when the new government took office after a change
in the political system in September 2006. This policy obtained significant support from non-governmental
organizations in the health sector, patient groups and academics, both inside and outside the country.
However, the action by Thailand was strongly opposed by patent-holding companies, the multinational
medical industry and their national governments. The contributions from civil society were managed in
several forms, such as technical and information support and demonstrations to advocate the policy. Meanwhile,
powerful nations introduced trade retaliation and put political pressure on the Thai side. Global
concern about the unaffordable costs of patented medicines that hampered access to essential health care
in the South was beneficial to the enforcement of the government use provision. The potential diffusion of
this policy from Thailand to other developing countries triggered serious opposition from stakeholders
who lost their benefits.