บทคัดย่อ
งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะวิกฤตทางการเงินด้านสุขภาพหลายชิ้นในระยะหลังใช้สัดส่วนรายจ่ายด้านสุขภาพต่อรายรับหรือรายจ่ายรวมของครัวเรือนเป็นตัวชี้วัดภาวะวิกฤตการเงินด้านสุขภาพของครัวเรือนซึ่งบางครั้งได้ผลลัพธ์ที่ขัดกับสามัญสำนึก เช่น พบว่าครัวเรือนกลุ่มที่รวยที่สุดมีโอกาสที่จะประสบภาวะวิกฤตทางการเงินด้านสุขภาพค่อนข้างสูงและในหลายกรณีสูงกว่าครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า บทความนี้ใช้ข้อมูลการสำรวจชุดเดียวกันมาแสดงให้เห็นว่าตัวชี้วัดดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวชี้วัดที่ดี ทั้งนี้เมื่อศึกษาครัวเรือนที่มีรายได้ที่ตกลงไปอยู่ใต้เส้นความยากจนหลังจากที่หักรายจ่ายด้านสุขภาพออกแล้ว พบว่าในบรรดาครัวเรือนที่มีรายได้สูงกว่ามัธยฐานนั้น แทบจะไม่มีครัวเรือน ใดเลยที่มีรายได้ที่เมื่อหักค่ารักษาพยาบาลออกแล้วจะตกไปอยู่ใต้เส้นความยากจนที่คำนวณขึ้นสำหรับครัวเรือนนั้นเลย อย่างไรก็ตาม การใช้จำนวนคนจนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพเป็นตัววัดภาวะวิกฤตทางการเงินด้านสุขภาพมีข้อจำกัดที่ตัวชี้วัดนี้ไม่ไวต่อความเปลี่ยนแปลงสำหรับครัวเรือนกลุ่มที่อยู่ใต้เส้นความยากจนตั้งแต่แรกแล้ว บทความนี้จึงได้เสนอตัวชี้วัดที่ควรนำมาพิจารณาประกอบกัน ซึ่งก็คือสัดส่วนของช่องว่างความยากจนที่เปลี่ยนแปลงไปจากการมีรายจ่ายด้านสุขภาพ ตัวชี้วัดนี้นอกจากจะสามารถวัดผลกระทบของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่มีต่อขนาดของความยากจนโดยให้น้ำหนักกับครัวเรือนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนตั้งแต่แรกมากกว่ากลุ่มอื่นแล้ว วิธีนี้เมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ผ่านมายังช่วยให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของนโยบายหลักประกันสุขภาพในการลดความยากจนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยได้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย
บทคัดย่อ
Recent studies on catastrophic health expenditures often use arbitrary and universally cut-off shares
(e.g., 10 percent) of health expenditures on household income (or on total household expenditure) as the
main indicator of catastrophic health expenditure. However, some empirical studies in Thailand which
employed such indicators ended up with counter-intuitive findings, e.g., a substantial percentage of households
in the richest quintile were found to be prone to catastrophic health expenditures, and more often
than not, at higher rates than those with lower income.
This paper uses the same set of data to demonstrate that the counterintuitive results resulted from
such faulty indicators. Using sophisticated household-specific poverty lines as a measure of household catastrophic expenditure, the study finds that, unlike households in the two lowest quintiles, it is extremely
rare for those with higher-than-median income to have their post-health-expenditure income fall
below the poverty line, a result which is completely opposite to those derived from the former indicator.
However, since the head count of health-related impoverished households is not sentitive for those
households that are already below the poverty line, the study proposes a supplemental indicator, that is,
changes in the normalized poverty gap due to health expenditure, as an indicator that measures the healthexpenditure
impact on poverty.