Research Reports: Recent submissions
Now showing items 401-420 of 2466
-
การสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อกำหนดชุดสิทธิประโยชน์ของการให้บริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-01)ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่ไตเกิดการสูญเสียการทำงานลงในช่วงเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน หากรักษาด้วยยาไม่หาย การบำบัดทดแทนไตจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่รอดได้ ซึ่งการบำบัดทดแทนไตในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 ... -
การศึกษาประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนากรอบการติดตามและการประเมินผลของนโยบายวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-01)วัคซีนโควิด-19 ถือเป็นมาตรการที่เป็นความหวังอันสำคัญในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอย่างยั่งยืน และส่งผลทางอ้อมให้ภาครัฐสามารถผ่อนปรนมาตรการอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ฉะนั้น ... -
การสังเคราะห์ทางเลือกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-04-28)การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)/อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน ... -
ประสิทธิผลการใช้พลาสมาของผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 สำหรับรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ที่มีภาวะปอดบวมระดับปานกลางถึงรุนแรง
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565)โรคอุบัติใหม่โควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีการระบาดไปทั่วโลก โดยเริ่มพบการแพร่ระบาดของเชื้อครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การ ... -
การติดตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิต้านทานระยะยาวต่อ SARS-CoV-2 ในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-01)ประเทศไทยเป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข และ เศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเชื้อ SARS-CoV-2 ให้รวดเร็วที่สุด จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นงานวิจัยนี้ ... -
การพัฒนาเครื่องมือและประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชนไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-12)การวิจัยนี้เป็นการประเมินระดับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชนไทย (Rational Drug Use Literacy, RDUL) แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDUL ... -
การศึกษาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-05-06)โรงพยาบาลบุษราคัมเป็นโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่เฉพาะด้านในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ชั่วคราวที่มีความทันสมัยในการดูแลผู้ป่วยครบวงจร ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ตามมาตรฐานการรักษา รวมทั้งระบบการส่งต่อ อย่างไรก็ตามการศึกษาระบบบริหาร ... -
บทบาทของเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-03)การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) โดยการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จังหวัดละ 2 อำเภอ รวม 6 อำเภอ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของเครือข่ายในระบบ ... -
การศึกษาปัจจัยเสี่ยงช่วงตั้งครรภ์และช่วงขวบปีแรก กับการเกิดเมตาบอลิกซินโดรมและโรคหลอดเลือด เมื่ออายุ 30 ปี
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-03)งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกับกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรมของบุตรที่ได้ศึกษาน้ำหนักแรกเกิดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทั้งนี้ยังทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่า ... -
ระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ไวรัสโควิด–19 ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตภาคใต้
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565)สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานในมิติสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคตลอดจนการดูแลต่อเนื่อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และผลลัพธ์ของระบบการดูแลผู้สูงอาย ... -
แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-02)ปัญหาสุขภาพจิตส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและคนใกล้ตัว แม้การดูแลสุขภาพจิตจะมีความสำคัญแต่ก็มีข้อจำกัด เช่น ค่าใช้จ่ายสูง และจำนวนบุคลากรด้านสุขภาพจิตไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพั ... -
ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีทัณฑสถานและชุมชนในกรุงเทพมหานคร
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-04)การศึกษาเชิงคุณภาพแบบบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลกระทบและกลไกการปรับตัวของทัณฑสถานและชุมชนในกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 รวมถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง 2) สังเคราะห์บทเรียนที่จำเป็นต่อการปร ... -
นำร่องการวิจัยสำหรับจีโนมิกส์ประเทศไทย: การศึกษาข้อมูลรหัสพันธุกรรมของผู้ป่วยมะเร็งชาวไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-03)โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรไทย โดยมะเร็งเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ การกลายพันธุ์ของยีนก่อมะเร็งที่พบสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด อันได้แก่ การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นเองในเนื้อเยื่อปกติ (somatic ... -
การทำนายผลการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดโดยใช้การวิเคราะห์ระดับทรานสคริปโตมิกส์และโปรตีโอมิกส์ในผู้ป่วยมะเร็งปอด
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-04)มะเร็งปอดชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมามีอุบัติการณ์การเกิดและการตายสูงเป็นลำดับต้นๆ ของประชากรโลก ยาเคมีบำบัดยังคงเป็นส่วนสำคัญในการรักษา แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตอบสนองต่อการรักษาก็ยังต่ำ การศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ค้นหาโป ... -
การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 4
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-01)การวิจัยเรื่องการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 4 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา (Research & Development) ในรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ... -
การพัฒนาแนวทางและรูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสม ระหว่าง ภาคชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในการบริหารจัดการและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-02)การวิจัยเรื่อง การพัฒนาแนวทางและรูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสม ระหว่าง ภาคชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในการบริหารจัดการและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางและรูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสม ระหว่างภาคชุมชน ... -
การบริหารจัดการเวชภัณฑ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: ปัญหา อุปสรรคในการจัดซื้อของภาครัฐ ภาคเอกชน และแนวทางแก้ไข
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-02)การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการเวชภัณฑ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 : ปัญหา อุปสรรคในการจัดซื้อของภาครัฐ ภาคเอกชน และแนวทางแก้ไข มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดหาเวชภัณฑ์เกี่ยวกับโรค COVID-19 ได้แก่ วัคซีน ... -
การพัฒนาเครื่องมือการประเมินสมรรถนะการดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพของนักเรียนแพทย์ เภสัชกร และสัตวแพทย์ก่อนสำเร็จการศึกษาในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2021-11-30)Antimicrobial stewardship is an essential competency for all health care professions. Antimicrobial stewardship has incorporated managerial aspects as well as knowledge, awareness, and practice of antimicrobial use and ... -
การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพในภาวะที่มีการระบาดหรือภายหลังการระบาดของโรค COVID-19: กรณีศึกษา จังหวัดสงขลา
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-02)การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ COVID-19 และพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ COVID-19 ... -
การศึกษาความชุกของวัณโรคดื้อยาในเด็กไทยและเภสัชจลนศาสตร์และความปลอดภัยของยาลีโวฟอกซาซินในการรักษาวัณโรคในเด็ก
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-01)แผนงานวัณโรคดื้อยาในเด็ก ประกอบไปด้วย 2 โครงการ คือ โครงการความชุกของวัณโรคดื้อยาในเด็กไทย และโครงการเภสัชจลนศาสตร์และความปลอดภัยของยาลีโวฟอกซาซินในการรักษาวัณโรคในเด็ก ซึ่งดำเนินงานใน 3 สถาบัน (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ...