Research Reports: Recent submissions
Now showing items 61-80 of 2463
-
การพัฒนาระบบบริการระเบียนสุขภาพดิจิทัลหมอพร้อม: โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-10)รายงานการวิจัย โครงการพัฒนาระบบบริการระเบียนสุขภาพดิจิทัลหมอพร้อม : โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฉบับนี้ เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบโดยการต่อยอดจากระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (PHR) ต้นแบบ ขยายเป้าหมายจากพื้น ... -
การศึกษาระยะยาวและติดตามโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงของคนวัยทำงานเขตเมืองในบางกอกน้อย (โครงการศิริราชวันเฮลท์)
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-09)วัตถุประสงค์การวิจัย: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามอาสาสมัครในระยะยาว โดยศึกษาความชุกและการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพ ชีวเคมี ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม และพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ... -
การพัฒนาแนวทางการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะลองโควิด สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในชุมชน กรุงเทพมหานคร
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-10)การศึกษาครั้งนี้ มีรูปแบบการการวิจัยผสมผสาน การวิจัยแบบการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) และการวิจัยแบบการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) แบ่งการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง ... -
รูปแบบการใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-09)วัตถุประสงค์ โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อ 1) อธิบายรูปแบบพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและผลกระทบจากการใช้กัญชาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และสร้างแบบสอบถามเพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคต่อความร่วมมือในการรักษา ... -
การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะที่ 2 การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังและการจัดทำกรณีศึกษา
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-10-05)โครงการประเมินผลฯ ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่มีต่อประชาชน อันอาจเป็นผลเชื่อมโยงมาจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในปีงบประมาณ 2566 ทั้งในส่วนของผลกระทบจากการให้บริการสุข ... -
การสำรวจพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดในประชากรไทย ผลกระทบจากกัญชาต่อความเป็นธรรมทางสุขภาพ และต้นทุนการเจ็บป่วยจากการใช้กัญชา
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-10-09)การนำพืชกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ในปี พ.ศ. 2565 โดยมีการอนุญาตให้ปลูก จำหน่าย และทำให้เกิดการใช้กัญชาได้ในประเทศไทยนอกหนือจากการใช้ทางการแพทย์ จำเป็นต้องมีการประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องถึงจำนวน ... -
การพัฒนาระบบรายงานข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ และการเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-08)ความเป็นมา ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์เริ่มต้นการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ในชื่อ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา กองโรงพยาบาลภูมิภาค ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศหลักการและมาตรการปฏิรูประบบบบริหารเวชภัณฑ์ ... -
การวิจัยประเมินคุณภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล ในบริบทการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2567-09)ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 วิวัฒนาการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของไทยเกิดการริเริ่มในทิศทางที่สอดคล้องกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอีกขั้นหนึ่ง ด้วยการถ่ายโอนศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจากโรงพยาบาลไปยังองค์การบริหาร ... -
การพัฒนาสิทธิประโยชน์ในการจัดบริการครอบฟันโลหะไร้สนิมในฟันน้ำนม ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-10)ปัจจุบันการรักษาฟันผุในฟันน้ำนมด้วยการบูรณะฟันด้วยวัสดุอุด การรักษารากฟัน และการถอนฟันอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่การบูรณะด้วยครอบฟันโลหะไร้สนิมไม่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ครอบฟันโลหะฯ เป็นครอบฟันสำเร็ ... -
การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึม ในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-10)วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ ผลกระทบด้านงบประมาณ และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึม ในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทย วิธีการศึกษา การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ จะใช้แบบจำลองแผนภูมิต้นไม้ ... -
กระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลอย่างเร็วเพื่อตอบคำถามเชิงนโยบายสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทย และการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-08)การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology assessment, HTA) และข้อมูลวิชาการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อประกอบการกำหนดนโยบายของผู้กำหนดนโยบาย อย่างไรก็ตามกระบวนการ HTA และสังเคราะห์ข้อมูลวิชาการที่จำเป็นเหล่านี้ ... -
การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการส่งเสริม และพัฒนาระบบการเข้าถึงอาหารทางการแพทย์ของประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-05)การวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบการเข้าถึงอาหารทางการแพทย์ของประเทศ ในระยะ 10 ปี จากการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic foresight) เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน ... -
การสำรวจความคิดเห็นสาธารณะในสื่อสังคมออนไลน์ และข่าวอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับกัญชาในหนังสือพิมพ์ก่อนและหลังการออกนโยบายกัญชา
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-07)ประเด็นกัญชาเสรีเป็นเรื่องใหม่และอยู่ในกระแสความสนใจสำหรับคนไทย การทำความเข้าใจความคิดเห็นและท่าทีที่มีต่อกัญชาผ่านวาทกรรมทางสังคมในสื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องแสวงหาความจริงเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้พื้นฐาน ... -
การสำรวจพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติดชนิดอื่น การเข้าถึงความรู้ และทัศนคติต่อกัญชาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษา
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-08)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ย่อย 4 ข้อ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้กัญชาและสารเสพติด การเข้าถึง แบบอย่างการใช้ฯ การรับรู้ประโยชน์/โทษ ผลกระทบของการใช้กัญชาต่อตนเองและผู้อื่น และทัศนคติต่อกัญชาในนักเรียนระดั ... -
การศึกษาสถานการณ์ของการเตรียมยาฉีดผสมให้ทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลและความพร้อมของระบบในการนำระบบอัตโนมัติครบวงจรมาใช้ในทางปฏิบัติ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-06)การเตรียมยาฉีดผสมให้ทางหลอดเลือดดำ (intravenous admixture หรือ IV admixture) เป็นหนึ่งในงานบริการทางเภสัชกรรมที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล ปัจจุบันมีการเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมากตามคำส ... -
การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อประสิทธิภาพกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-07)การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่หลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ... -
การศึกษาประสิทธิภาพของการเสริมธาตุเหล็กทุกวันและสัปดาห์ละครั้งต่อความชุกภาวะโลหิตจางในเด็กทารกไทยอายุ 6-12 เดือน
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-08)บทนำ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ยังคงพบในประเทศไทย อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนมาตรการการเสริมธาตุเหล็กในเด็กทารกจากการเสริมแบบสัปดาห์ละครั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นการเสริมวันละครั ... -
โรคหายาก โรควินิจฉัยไม่ได้ ความพิการและโรคพันธุกรรม: การพัฒนาระบบการวินิจฉัยและการจัดการงานวิจัย (ปีที่ 2)
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-09)ผู้ป่วยโรคหายาก โรควินิจฉัยไม่ได้ พิการและโรคพันธุกรรม ที่มีกว่าร้อยละ 5 ของประชากร ผู้ป่วยแต่ละคน ต้องการทรัพยากรจำนวนมากในการดูแลรักษา ส่งผลกระทบทางสุขภาพทั้งกายและใจ เศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก ทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ... -
ประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมส่งเสริมสุขอนามัยและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชชาย : การพัฒนาต่อยอดของโถปัสสาวะชายเคลื่อนที่แบบจำกัดกลิ่น (ระยะที่ 2)
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-09)ในประเทศไทย มีรายงานการศึกษาความชุกของกลุ่มผู้ป่วยโรคจิตที่มีอาการดื่มน้ำมากผิดปกติจากสถาบันหรือโรงพยาบาลด้านจิตเวชหลายแห่งพบความชุกร้อยละ 6–17 ของผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรัง และประมาณ 1 ใน 4 ถึงครึ่งหนึ่งจะมีอาการของภาวะน้ำเป็นพิษ ... -
การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-06)วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยศึกษาจากการดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของ อปท. ในพื้นที่ศึกษา จำนวน 12 แห่ง ...