บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมแรงดันเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคโลหิตสูงที่มารับการรักษาต่อเนื่องที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านไป จำนวน 340 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การศึกษาทำในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 28 ธันวาคม 2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมแรงดันเลือดด้วยสถิติการทดสอบไฆ-สแควร์ ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ รายได้ ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ดัชนีมวลกาย ระยะเวลาที่เป็นโรค และภาวะมีโรคร่วม โดยพิจารณากลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมแรงดันเลือดได้ที่ระดับแรงดันเลือดต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อย่างน้อย 3 ครั้ง และยอมให้ค่าแรงดันเลือดไดแอสทอลิคสูงกว่า 5 ครั้ง คือกลุ่มที่ควบคุมแรงดันเลือดไม่ได้ การศึกษาพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมแรงดันเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อาชีพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับการควบคุมแรงดันเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลจากการศึกษาครั้งนี้อาจใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนาวิธีดำเนินการให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมแรงดันเลือดอย่างเหมาะสมต่อไป
บทคัดย่อ
This descriptive research aimed at studying factors related to blood pressure
controls in patients with hypertension attending Thabsakae Hospital, Prachuap Kiri Khan
Province. The subjects comprised 340 patients with hypertension who continuously attended
the outpatient department of Thabsakae Hospital in the period October 1 to December 30,
2007. Simple random sampling was conducted by using an interview questionnaire. The method for analyzing the data were frequency, percentage, mean and standard deviation.
A chi-square test was employed to determine the factors associated with blood pressure
controls.
The factors were identified as age, sex, marital status, education, occupation,
income, knowledge about hypertension, self-care behavior, body mass index, period of
illness and presence of other co-morbidities, by compliant hypertensive patient care control
groups, that is, those with a blood pressure of less than 140/90 mm Hg (at least 3 SD),
and accepting those with a diastolic blood pressure of more than 140/90 mm Hg (only 1
SD); however, those with a diastolic blood pressure equal to or more than 92 mm
Hg were those considered as having high blood pressure that could not be controlled
(at least 5 SD), The research results show that occupation, self-care behavior and body
mass index were statistically significant with blood pressure controls in patients with
hypertension (p<0.05). This finding can be applied to plan and develop an appropriate
method for controlling blood pressure in patients with hypertension.