• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลการประเมินระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ระหว่างโรงพยาบาลหนองวัวซอกับศูนย์แพทย์ชุมชนโนนหวาย อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ทวีรัชต์ ศรีกุลวงศ์; Taweerach Srikulwong;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบเพื่อประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือด ตัวแปรทางเวชกรรมอื่นๆ และความรู้การปฏิบัติและความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวาน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และปรับปรุงนำมาใช้กับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลหนองวัวซอ และศูนย์แพทย์ชุมชนโนนหวาย อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี แห่งละ 271 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาเป็นจำนวนและค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความรู้ การปฏิบัติตัว ความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานและผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอื่นๆ โดยใช้สถิติการทดสอบที นำเสนอพร้อมค่า Degree of Freedom และค่าพี ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงร้อยละ 70.1 อายุ 20-86 ปี อายุมัธยฐาน 58 ปี อยู่ในช่วงอายุ 51-60 ปี ร้อยละ 74.2 มีสถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 71.2 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 97 มีสถานะครอบครัวปานกลาง ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 3.5 ปี และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.2 ปี เมื่อเปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างกัน ระดับน้ำตาลและข้อมูลอื่นๆ ของผู้ป่วยเบาหวานจำแนกรายตัวชี้วัด พบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ศูนย์แพทย์โนนหวาย มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหารและระดับอัลบูมินในปัสสาวะต่ำกว่าผู้ป่วยที่รับบริการที่คลินิกแบบรวดเดียวจบของโรงพยาบาลหนองวัวซออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี =0.003 และ 0.05 ตามลำดับ) สำหรับระดับฮีโมโกลบินเอวันซี โฆเรสเตอรอลและไตรกลีย์เศอไรด์ในเลือด และค่าดัชนีมวลกายไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม ในภาพรวมของความรู้ พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกแบบรวดเดียวจบของโรงพยาบาลหนองวัวซอ มีค่าเฉลี่ยรวมทุกประเด็นเท่ากับ 23 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.4 ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ศูนย์แพทย์โนนหวายที่มีค่าเฉลี่ยรวมทุกประเด็นเท่ากับ 24.2 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี < 0.0001) ในภาพรวมของการปฏิบัติตัวพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหนองวัวซอมีค่าเฉลี่ยรวมทุกประเด็นเท่ากับ 18.8 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.3 ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ศูนย์แพทย์โนนหวายที่มีค่าเฉลี่ยรวมทุกประเด็นเท่ากับ 19.1 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.0 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี = 0.32 ) และความพึงพอใจในภาพรวมของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหนองวัวซอ มีค่าเฉลี่ยรวมทุกประเด็นเท่ากับ 23.9 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.4 ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ศูนย์แพทย์โนนหวาย ที่มีค่าเฉลี่ยรวมทุกประเด็นเท่ากับ 24.3 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี = 0.05) จากผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ศูนย์แพทย์โนนหวายมีแนวโน้มที่ดีกว่าโรงพยาบาลหนองวัวซอ จึงควรพิจารณาปรับเปลี่ยนแนวทางการดูแลรักษาเบาหวานในระดับปฐมภูมิตามที่ค้นพบในการศึกษานี้ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่พบอาจจะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ทีมบริการ ความสนิทสนมคุ้นเคย และความสะดวกสบายของการบริการ เนื่องจากลักษณะการศึกษานี้ไม่ใช่การวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม จึงควรมีการศึกษาวิจัยเชิงทดลองต่อไป

บทคัดย่อ
The objectives of this study were to compare the results of the care services provided at two primary care settings, a one-stop service clinic of Nongwuasaw Hospital and the Nonwai Medical Care Center, both located in Udon Thani Province. A simple random sampling method was used according to the specified criteria in order to recruit the subjects for study in the period from March to May 2008. As a result, 271 patients from each of the medical centers were obtained. The variables to be compared were fasting blood sugar levels, other clinical variables, knowledge, practice and satisfaction of the patients. The questionnaires approved by five experts were used for collecting study data. The descriptive statistics, number, percentage, mean, standard deviation, median, minimum and maximum values were used to analyze the data obtained. The student t-test was used to show the differences in the knowledge, practice, patientsû satisfaction and the results in controlling the level of the fasting blood sugar in the blood as well as other parameters; the results were presented along with the degree of freedom, df, and p-value at the statistically significant level of 0.05. Most of the subjects (70.1%) were females; the subjects were aged 20-86 years, with the median age being 58 years and 31.4 percent were 51-60 years old; 74.2 percent were married and 71.2 percent had completed primary school; the economic status of almost all of the subjects (97 percent) was at the average level; and they were diabetic for 3.5 ± 2.2 years. These general characteristics of the subjects of the two centers were compared, and showed no statistically significant differences. The results of the clinical parameters, however, showed that the levels of fasting blood sugar and urine albumin of the DM patients who had received services from the Nonwai Medical Center were statistically lower than that of the DM patients who had attended the One- stop Service Clinic of Nongwuasaw Hospital (p-values = 0.003 and 0.05, respectively). The levels of HbA1c, cholesterol and triglyceride in the blood and the body mass index of both groups were not statistically different. With regard to DM knowledge, the patients who had received services at the One-stop Service Clinic of Nongwuasaw Hospital had lower knowledge scores than those who had received services at the Nonwai Medical Care Center (p-value < 0.001). However, there was no statistical difference in terms of practice scores. Patients who had received services at the One- stop Service Clinic of Nongwuasaw Hospital had significantly lower satisfaction scores than those who had received services at the Nonwai Medical Care Center (p-value = 0.05). The study concluded that diabetic care at the Nonwai Medical Care Center is more efficient than that of the One-stop Service Clinic of Nongwuasaw Hospital. However, the study had a limitation in that it was not a randomized controlled trial; therefore, such study is needed in the future to make conclusions.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n3 ...
ขนาด: 281.5Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 6
ปีงบประมาณนี้: 70
ปีพุทธศักราชนี้: 44
รวมทั้งหมด: 847
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV