DSpace at Health Systems Research Institute (HSRI): ชิ้นงานเข้าใหม่
แสดงรายการ 1-20 จาก 5868
-
การศึกษาพันธุกรรมของภาวะค่าสายตาผิดปกติมากในเด็กในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-03)บทนำ ภาวะสายตาผิดปกติขั้นรุนแรงในเด็ก เช่น สายตาสั้นมาก (High Myopia) และสายตายาวมาก (High Hyperopia) เป็นปัญหาสำคัญทางสุขภาพตาที่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ต้อหิน จอตาเสื่อม และภาวะตาบอดถาวร งานวิจัยนี้มุ่งศึกษา ... -
การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากฝุ่นละออง PM2.5 ในจังหวัดนครพนม ประเทศไทย: การศึกษานำร่อง
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-03)ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง PM2.5 (particulate matter ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร) ที่เกินมาตรฐานทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดนครพนมซึ่งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 8 นั้นได้รับผลกระทบอย่างมาก การศึกษานี้ม ... -
การสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าในวิชาชีพของนักกายภาพบำบัดในสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-03)การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างตำแหน่งและเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพของนักกายภาพบำบัดในสถานพยาบาลภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระด ... -
ปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับความหนาแน่นของกระดูกสะโพกและการทำนายภาวะกระดูกพรุน
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-03)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย (body mass index: BMI) การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กับค่าความหนาแน่นของกระดูกสะโพก (bone mineral density: BMD) รวมถึงการทำนาย ... -
การประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคฟันผุ โรคปริทันต์และการสูญเสียฟันในช่องปากของคนไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-03)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินภาระของโรคในช่องปากของคนไทย โดยใช้แนวคิดของการศึกษาต้นทุนความเจ็บป่วย การวิเคราะห์ใช้ประมาณการความชุก (prevalence based) ของโรคในช่องปาก จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ ... -
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของเด็กไทย อายุ 6-18 ปี
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-03)ดัชนีมวลกายเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงสถานะทางสุขภาพและโภชนาการ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของเด็กไทยอายุ 6-18 ปี โดยใช้ข้อมูลจากโครงกา ... -
ความชุกของความผิดปกติแต่กำเนิดในประเทศไทยระหว่างปี 2551-2565: การศึกษาย้อนหลังจากฐานข้อมูลมาตรฐานด้านสุขภาพ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-03)ความผิดปกติแต่กำเนิดยังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีการศึกษาความชุกของความผิดปกติแต่กำเนิดของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2557-2559 แต่ไม่มีข้อมูลหลังจากนั้น จึงศึกษาย้อนหลังเพื่อดูสถานการณ์ความชุกของ ... -
การประเมินเชิงพัฒนาการเข้าถึงและคุณภาพบริการดูแลระยะกลาง การปฏิรูประบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-02)การดูแลระยะกลาง หรือ intermediate care (IMC) คือการดูแลผู้ป่วยที่ผ่านพ้นระยะเฉียบพลัน (acute phase) และมีอาการคงที่ แต่ยังคงมีความบกพร่องทางร่างกายบางส่วนที่จำกัดการทำกิจวัตรประจำวัน และการมีส่วนร่วมในสังคม เช่น ... -
การพัฒนาตัวชี้วัดและจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หมวดการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-12)มาตรา 25(5) และ มาตรา 27(3) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติ และให้สำนักงานคณะกรรมการส ... -
การพัฒนาชุดตัวชี้วัดระบบสุขภาพเพื่อติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เรื่อง ระบบสุขภาพชุมชนเมือง
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-03)ที่มาและความสำคัญ: การขยายตัวของความเป็นเมืองในประเทศไทยก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน โดยเฉพาะในประเด็นสุขภาวะเขตเมืองที่ซับซ้อนและแตกต่างจากบริบทชนบท ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. ... -
การประเมินความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ของการใช้สายสวนหลอดเลือดชนิดขดลวดเคลือบยาต้านการตีบซ้ำในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายชนิดรุนแรงในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-02)ภูมิหลังและเหตุผล: โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (peripheral arterial disease, PAD) ชนิดรุนแรงที่รวมถึงกลุ่มอาการขาขาดเลือดขั้นวิกฤต (critical limb ischemia, CLI) ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้ ปัจจุบันมีการเป ... -
การขยายผลองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพสู่ศูนย์สาธิตการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการรับมือกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ระดับเขตสุขภาพ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-02)โครงการวิจัย เรื่องการขยายผลองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพสู่ศูนย์สาธิตการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการรับมือกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระดับเขตสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลกระบวนการขยายผลที่เหมาะสมในการขยายผลอง ... -
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพชีวิตของเด็กหูหนวกที่ได้รับการฝังประสาทหูเทียมในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-02)ประสาทหูเทียม เป็นอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาหูหนวกที่มีราคาแพง และมีข้อมูลประสิทธิผลในประเทศไทยน้อย ในปี พ.ศ. 2560 ทางสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ให้ทุนวิจัยเพื่อจัดตั้งโครงการประสาทหูเทียมในประเทศไทย เพื่อติดตา ... -
คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-03)บทนำ โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยยังคงเป็นปัญหาที่ชุกชุมถึงแม้จะมีความพยายามในการหยุดยั้งโรคนี้อย่างต่อเนื่อง การประเมินผลกระทบของโรคฟันผุปฐมวัยที่ผ่านมามีเฉพาะผลต่ออาการและการทำหน้าที่ของฟันเท่านั้น การศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาแร ... -
การถอดบทเรียนเพื่อนําไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนานโยบายการบําบัดทดแทนไตภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-01)หลักการและเหตุผล : ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End stage kidney disease, ESKD) เป็นโรคที่คุกคามชีวิตผู้คนจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้มีชีวิตยืนยาว ประเทศไทยเริ่มให้สิทธิใน ... -
การวิจัยเชิงสังเคราะห์ : การพัฒนาชุดตัวชี้วัดระบบสุขภาพ ติดตาม ประเมินผล เพื่อจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เรื่องกำลังคนด้านสุขภาพ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-12)จากธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 มีเป้าหมายในระยะ 5 ปี เพื่อให้มีการกระจายบุคลากรระหว่างพื้นที่มีความเป็นธรรม มีการปรับการทำงานจากเชิงกายภาพสู่ดิจิทัล และมีระบบการศึกษา การผลิต และการพัฒนากำลังคนด้ ... -
การออกแบบระบบและการพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้คัดเลือกนวัตกรรมด้านสุขภาพในระยะเริ่มต้น ก่อนลงทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อให้มีโอกาสบรรจุเข้าในชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-11)โครงการออกแบบระบบและการพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้คัดเลือกนวัตกรรมด้านสุขภาพในระยะเริ่มต้นก่อนลงทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อให้มีโอกาสบรรจุเข้าในชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการพัฒนา ... -
การประเมินผลกระทบการให้วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติ หลังจากดำเนินการมา 30 ปี และความชุกของโรคตับอักเสบ เอ บี และซี ในประเทศไทย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-02)ไวรัสตับอักเสบเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประชากรโลก สำหรับประเทศไทย ไวรัสตับอักเสบเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลัน เรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ รวมทั้งเป็นสาเหตุให้เพศชาย พบมะเร็งตับสูงที่สุดในบรรดามะเร็งทั้งหมด ... -
การศึกษาการออกฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชสมุนไพร เพื่อใช้ในการรักษาผู้สูงวัยที่มีภาวะกระดูกพรุนและภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-02)งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัด curcuminoids-rich extract (CRE) ที่นำพาด้วย hydroxypropyl-β-cyclodextrin-polyvinylpyrrolidone K30 ซึ่งเรียกว่า CRE-Ter ในการกระตุ้นการสร้างกระดูก การยับยั้งการสร้างเซลล์ ... -
การพัฒนาศักยภาพของกรรมการจริยธรรมที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน (layperson) ระยะที่ 2
(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-01)คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่เป็นผู้แทนภาคประชาชน คือบุคคลธรรมดาทั่วไป ที่โดยพื้นฐานการศึกษาจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์และการวิจัย เป็นผู้ที่สามารถสะท้อนมุมมองของคนทั่วไปในสังคม แต่ปัญหาหนึ่งในการ ...