A Survey of Thai Traditional and Alternative Medicine Services of Ministry of Public Health Hospitals in 2014
dc.contributor.author | มณฑกา ธีรชัยสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Monthaka Teerachaisakul | en_US |
dc.contributor.author | วรรณศิริ นิลเนตร | th_TH |
dc.contributor.author | Wansiri Nilnate | en_US |
dc.contributor.author | อานนท์ วรยิ่งยง | th_TH |
dc.contributor.author | Arnond Warrayingyong | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-06-17T08:37:39Z | |
dc.date.available | 2016-06-17T08:37:39Z | |
dc.date.issued | 2559-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 10,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2559) : 117-127 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4441 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล: มีแนวโน้มว่า มีการนำการแพทย์พื้นบ้านหรือการแพทย์ท้องถิ่นและการแพทย์ทางเลือกมาใช้ประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆ และในหลายประเทศประชาชนยังคงใช้การแพทย์แผนดั้งเดิมเป็นหลัก ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ปัจจุบันบริการการแพทย์แผนไทยจัดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนไทย ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของประเทศไทย แต่ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดที่สำรวจการให้บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร่วมกัน ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลการให้บริการดังกล่าว ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการด้านนี้ ในสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยสะท้อนผ่านจำนวนครั้งของการให้บริการผู้ป่วยนอก ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการสำรวจข้อมูลบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ของสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึง มีนาคม 2557 โดยใช้แบบเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นตามแนวคิด โครงสร้าง-กระบวนการ-ผลลัพธ์ และเก็บข้อมูลจากผู้แทนงานแพทย์แผนไทยในจังหวัดต่างๆ ทั้ง 76 จังหวัด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้วยการถดถอยพหุแบบเส้นตรง (multiple linear regressions) แบบ enter method ผลการศึกษา: จากแบบเก็บข้อมูล 456 ฉบับ มีการตอบกลับทั้งสิ้น 266 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 58.33 สามารถนำมาประมวลผลได้ทั้งสิ้น 231 ฉบับ (ร้อยละ 86.84) ระบุว่า มีการจัดบริการแพทย์แผนไทยทั้งหมด (ร้อยละ 100) แบ่งเป็น โรงพยาบาลที่จัดบริการแพทย์แผนไทยเพียงอย่างเดียว จำนวน 186 แห่ง (ร้อยละ 80.52) และโรงพยาบาลอีก 45 แห่ง (ร้อยละ 19.48) ระบุว่าจัดทั้งบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ผู้ป่วยนอกที่ได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกคิดเป็นร้อยละ 10.93 โดยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนครั้งของผู้ป่วยนอกที่ได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ จำนวนบุคลากรทั้งหมดของหน่วยงาน (p-value<0.001) ศักยภาพในการจัดบริการผู้ป่วยใน (p-value=0.002) จำนวนบุคลากรที่ได้รับเงินเดือนอย่างน้อย 15,000 บาทต่อเดือน (p-value=0.017) การได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งศึกษาดูงาน/ฝึกงานของสถาบันการศึกษา (p-value=0.011) จำนวนปีที่เปิดให้บริการ (p-value=0.004) ตลอดจนมูลค่าการสั่งจ่ายยาสมุนไพร (p-value <0.001) ข้อเสนอแนะ: เพื่อให้การสนับสนุนการจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบเป็นไปอย่างจริงจังและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น หน่วยงานเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องควรกำหนดกรอบอัตรากำลัง ในหน่วยบริการให้มีความเหมาะสมมากขึ้น รวมถึงให้บุคลากรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมด้วย นอกจากนี้ การพัฒนาศักยภาพทางคลินิกของแพทย์แผนไทย และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรจากสถาบันการศึกษาก็มีความสำคัญ ที่ควรจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การแพทย์แผนไทย | th_TH |
dc.subject | การแพทย์ทางเลือก | th_TH |
dc.subject | Thai Traditional Medicine | en_US |
dc.subject | Complementary Medicine | en_US |
dc.subject | Alternative Medicine | en_US |
dc.title | การสำรวจการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2557 | th_TH |
dc.title.alternative | A Survey of Thai Traditional and Alternative Medicine Services of Ministry of Public Health Hospitals in 2014 | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: Increasing trend of traditional and alternative medicine use has been documented worldwide. In many developing countries, the majority of the population continues to use traditional medicine to meet its primary health care needs. In Thailand, the Thai traditional medicine service using is a fundamental right for all Thais according to the constitution as well as Universal Health Care Coverage program. However, none of the study has been conducted to survey for Thai traditional and alternative medicine (TT & AM) services together. This study therefore aimed to survey the data of TT & AM services as well as to study the factors influencing utilization of TT & AM services in the outpatient department of the hospitals under Ministry of Public Health. Method: The data of TT & AM services were collected from October 2013 to March 2014. 456 data collecting forms were distributed through representatives of Thai Traditional services in 76 Provincial Health Offices under Ministry of Public Health. The factors influencing the utilization of TT & AM services at the outpatient department were analyzed with multiple linear regressions. Results: 266 out of 456 data collecting forms were filled and sent back. The response rate was 58.33%. Only 231 hospital responses (86.84%) could be analyzed. 186 hospitals (80.52%) provided only Thai traditional medicine services while 45 hospitals (19.48%) provided Thai traditional medicine services together with alternative medicine service. 10.93% of the total outpatient department (OPD) visits was the utilization of TT & AM services. Factors influencing outpatient department utilization of TT & AM services were the number of staffs (p-value < 0.001), clinical competency for inpatient services (p-value = 0.002), the number of staff receiving wage at least 15,000 Baht per month (p-value = 0.017), being a study/visiting site for education (p-value = 0.011), continuing year of services (p-value = 0.004) and herbal consumption value (p-value < 0.001). Recommendations: To strengthen the support of TT & AM service, the relevant agency should develop more suitable workforce in service units and pay them appropriate salary. In addition, the practitioners need to be developed in their clinical competency and academic networking with universities is also crucial for implementation. | en_US |
.custom.citation | มณฑกา ธีรชัยสกุล, Monthaka Teerachaisakul, วรรณศิริ นิลเนตร, Wansiri Nilnate, อานนท์ วรยิ่งยง and Arnond Warrayingyong. "การสำรวจการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2557." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4441">http://hdl.handle.net/11228/4441</a>. | |
.custom.total_download | 1242 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 146 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 25 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ