• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การมีส่วนร่วมของคนงานในการพัฒนาคุณภาพบริการ ของสถานพยาบาลประกันสังคม

บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ; Bandit Thanachaisethawuti;
วันที่: 2540
บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของคนงานในการพัฒนาคุณภาพบริการของสถานพยาบาลประกันสังคม โครงสร้างการบริหารงานกองทุนประกันสังคมจะเป็นระบบไตรภาคีประกอบด้วยผู้แทน ฝ่ายลูกจ้างฝ่ายนายจ้างและรัฐบาลในรูปของคณะกรรมการการประกันสังคม ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทดแทน ต่าง ๆ รวมทั้งมาตรฐานสถานพยาบาลและกฏเกณฑ์คุณภาพการบริการในโครงการประกันสังคมที่คณะกรรมการการแพทย์ จะเป็นผู้ศึกษารวบรวมข้อมูลให้พิจารณาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลหลายแห่งในโครงการประกันสังคมได้รับการร้องเรียน วิพากษ์วิจารณ์จากผู้ประกันตนเสมอมา โดยมีสาเหตุปัจจัยเกี่ยวขัองกับบุคคลและกลไกสำคัญอย่างน้อย 4 ฝ่ายคือ ลูกจ้างผู้ประกันตน ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภค บริการทางการแพทย์ และผู้แทนลูกจ้าง-องค์แรงงานที่มีบทบาทคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของสมาชิกคนงาน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งในระดับผู้บริหารโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการในสถานพยาบาลแต่ละแห่ง สำนักงานประกันสังคมซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการรับรองและตรวจสอบคุณภาพของสถานพยาบาล และการรักษาพยาบาล และให้มีคำแนะนำช่วยเหลือแก่ผู้ประกันตน นายจ้าง/ฝ่ายจัดการ ซึ่งมีบทบาทร่วมมือกับสำนักงานประกันสังคมเกี่ยวกับการจัดส่งข้อมูล ผู้ประกันตนและการดำเนินงานให้ลูกจ้างเลือกใช้สถานพยาบาล ฝ่ายลูกจ้าง นั้นประสบอุปสรรคและข้อจำกัดหลายประการ เช่น การเผชิญกันคุณภาพการรักษาพยาบาลและบริการของโรงพยาบาลที่ไม่เป็นตามความคาดหวัง ความเข้าใจส่วนตน การไม่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลที่ใช้ตัดสินใจกำหนดสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ คนงานจำนวนมากไม่มีโอกาสได้รับบริการทางการแพทย์อย่างเท่าเทียมกับ บุคคลที่อยู่นอกโครงการประกันสังคม เป็นต้น คนจำนวนมากยังไม่มีสิทธิเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเองอย่างแท้จริง เพราะสาเหตุหลายอย่าง เช่น ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของสำนักงานประกันสังคมที่ไม่สามารถ ส่งข้อมูลสถานพยาบาลให้ผู้ประกันตนโดยตรงทั้งหมด หรือฝ่ายบุคคลของบริษัทไม่ส่งแบบเลือกสถานพยาบาลและรายชื่อโรงพยาบาลให้ผู้ประกันตนได้มีโอกาสคัดเลือกอย่างรวดเร็วถูกต้องตามระยะเวลาที่กำหนดหรือคนงานขาดความพร้อมและไม่มีข้อมูลเพียงพอในการพิจารณา เลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง เป็นต้น แม้ว่าจะมีผู้แทนฝ่ายลูกจ้างอยู่ในคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการอุทธรณ์ และอนุกรรมการประกันสังคมจังหวัด แต่ลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่รู้จักผู้แทนเหล่านั้น องค์กรแรงงานส่วนใหญ่ยังไม่มีสิทธิคัดเลือกผู้แทนของตนเองอย่างแท้จริงให้ เข้าร่วมการบริหารงานประกันสังคม บทบาทขององค์แรงงานในระดับต่าง ๆ ต่อการมีส่วนร่วมตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพการบริการของสถานพยาบาลประกันสังคมยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบจริงจัง เพราะมีภารกิจเฉพาะหน้าในการต่อรองเพื่อแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ รายได้ต่ำเป็นประจำ ตลอดจนขาดการรวมตัว ร่วมมืออย่างกว้างขวางเพื่อวางแผนจัดสร้างกลไก กระบวนการติดตาม ตรวจสอบ และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาคุณภาพบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0077.pdf
ขนาด: 3.719Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 82
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV