• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การทบทวนความหมายของคำและนิยามในทางวิชาการและในภาคปฏิบัติของกลุ่มคำที่ใช้ในการร่างหลักการของร่างพรบ.สุขภาพแห่งชาติ

สุวจี กู๊ด; Suvajee Good;
วันที่: 2546
บทคัดย่อ
การทบทวนความหมายของคำและนิยามทางวิชาการและในภาคปฏิบัติการของกลุ่มคำที่ใช้ในการร่างหลักการของ ร่าง พรบ. สุขภาพแห่งชาติ การศึกษานี้เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาตินั้น เป็นการศึกษาเพื่อเกิดความเข้าใจในเนื้อหาและประเด็นที่ครอบคลุมในเรื่องนั้นๆ จากมุมมองทางวิชาการ จากข้อตกลงระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดคำนิยามและความหมายในร่างพ.ร.บ. คำที่นำมาศึกษาทั้งหมดมีสิบคำด้วยกันคือ สุขภาพ ระบบสุขภาพ ความมั่นคงทางสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ปัญหาคุกคามสุขภาพ การบริการสุขภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ซึ่งจากการศึกษาทบทวนก็พบว่า คำเหล่านี้ยังมีการระบุคาดเคลื่อนและไม่ครอบคลุมประเด็นอีกหลายๆ ประเด็นที่มีระบุไว้ในเอกสารสำคัญๆ เช่น จากองค์การอนามัยโลก ทั้งๆ ที่จะเห็นได้ว่า คำเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในลักษณะที่ยืมมาจากองค์การต่างประเทศโดยเฉพาะในองค์การอนามัยโลก แต่ยังมีการแปลที่คลาดเคลื่อนและไม่ครบตามประเด็น ในเนื้อหาสาระที่แท้จริงของคำ บางคำจะมีการแปลที่เฉพาะประเด็นที่ทำให้ตีความได้แตกต่างไป เช่น ความมั่นคงทางสุขภาพ นโยบายสาธารณะและปัญหาคุกคามสุขภาพ ซึ่งในหลักวิชาการและการใช้ในเวทีนานาชาติ เช่น สมัชชาสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (World Health Assembly) จะมีความหมายครอบคลุมอีกหลายๆ ประเด็นที่ยังไม่มีการพิจารณาในสังคมไทย เมื่อแปลเป็นคำดังกล่าว ผู้รับสารสามารถตีความและเข้าใจความหมายและความสำคัญของคำเหล่านี้ผิดพลาดไป โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางสุขภาพ ในบริบทสังคมไทยยังใช้ในเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง เมื่อนำมาใช้กับสุขภาพ จึงมีความเข้าใจผิดไปได้ว่ากำลังใช้คำที่เป็นการเมืองเพื่อลอกเลียนพระราชบัญญัติอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึงความมั่นคงและยังมีคำอีกหลายๆ คำที่สะท้อนแนวคิดที่แสดงถึงมุมมองเรื่องสุขภาพ ที่กว้างขวางกว่าคำนิยามที่ให้ไว้ในร่างพระราชบัญญัติ เช่น สุขภาพผู้หญิง ระบบบริการสุขภาพ ที่ไม่ใช่เพียงเรื่องการให้บริการทางสาธารณสุข เป็นต้น การศึกษาครั้งนี้จึงพยายามศึกษาให้ลึกลงไปในความเป็นมาของคำที่บัญญัติในหลักสากลและทางวิชาการว่ามีบริบทของความเป็นมา เพื่อให้มีการประยุกต์ใช้กับบริบทของสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม ตามหลักการและอุดมการณ์ของการปฏิรูประบบสุขภาพต่อไป ในทุกๆ คำศัพท์จะมีบริบททางวิทยาการความรู้ ผสมผสานไปกับ แนวคิดทางการเมืองและการต่อรองทางอำนาจในสังคมต่างๆ ที่เป็นแม่บทในการร่างศัพท์เหล่านี้ไว้ด้วย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0975.pdf
ขนาด: 796.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 89
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV