• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ระบบกายภาพบำบัดของคนไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2548-2557)

พรพิมล จันทรวิโรจน์; Pornphimon Chantrawirot;
วันที่: 2550
บทคัดย่อ
องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของการมีสุขภาพดี คือ การที่ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปรกติ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ทำงานบ้าน งานอดิเรก และกิจกรรมทางสังคม "กายภาพบำบัด" เป็นกระบวนการที่ช่วยเสริมสร้างและแก้ไขฟื้นฟูศักยภาพทางกายของมนุษย์ โดยอาศัยพลังงานทางกายภาพ เช่น ความร้อน ความเย็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เทคโนโลยีทางกายภาพบำบัดมีทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น เครื่องออกกำลังกายในสถานฟิตเนส วิธีการและท่าทางในการออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ เช่น จี้กง โยคะ รำดาบ และด้านการรักษาและฟื้นฟูสภาพ เช่น เครื่องไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อในผู้ป่วยอัมพาต เครื่องอัลตราชาวด์เพื่อลดการอักเสบ เตียงสำหรับดึงกระดูกสันหลัง และรถเข็นสำหรับผู้พิการ (wheel chair) การใช้กายภาพบำบัดช่วยในการรักษาพยาบาลของการแพทย์แผนปัจจุบัน เริ่มแพร่หลายในประเทศไทยมาได้ประมาณ 40 ปี แต่ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทางกายภาพที่ช่วยในการบำบัดรักษามีอยู่ในสังคมไทยมาแต่ดั้งเดิม ในรูปแบบของการรักษาแบบแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน และการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว (เช่น การประคบไพล การนวด การละเล่นต่างๆ) กายภาพบำบัดเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางกายของมนุษย์จึงต้องครอบคลุมทั้งระบบกายภาพบำบัดของการแพทย์แผนปัจจุบัน และการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิมของการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ โดยอยู่บนฐานคิดของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม และปัญญา ความรู้ด้านกายภาพบำบัดมีบทบาทสูงต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในด้านการเติมเต็มศักยภาพทางกาย แต่ปัจจุบันงานด้านกายภาพบำบัดถูกจำกัดกรอบให้เป็นบทบาทเฉพาะของนักกายภาพบำบัด ซึ่งทำงานแบบตั้งรับในสถานพยาบาล เน้นการพัฒนาสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยให้ความสำคัญไม่มากนักกับเป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้ประชาชนมีศักยภาพทางกายที่สมบูรณ์ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงการบริการในระบบ จึงใช้กระบวนการวิจัยของการวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อค้นหาประเด็นสำคัญของสถานการณ์ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันคาดคะเนภาพในอนาคต ทำให้ได้ข้อเสนอแนะในการสร้างยุทธศาสตร์หลักเพื่อระบบกายภาพบำบัดของประชาชนไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2548 - 2557) คือ (1) ส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีความรู้เกี่ยวกับการเติมเต็มศักยภาพทางกาย (2) ส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทางกายภาพที่มีดั้งเดิมของไทยในการเติมเต็มศักยภาพทางกาย (3) จัดระบบบริการทางกายภาพบำบัดที่ประชาชนสามารถเข้าถึงงานบริการได้อย่างทั่วถึง (4) พัฒนานักวิชาชีพทางกายภาพบำบัดให้มีระบบคิดที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพแบบองค์รวม (5) พัฒนางานบริการของนักวิชาการทางกายภาพบำบัดให้มีคุณภาพและมาตรฐานเพียงพอในการแข่งขันในระดับโลก
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v1n1 ...
ขนาด: 141.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 96
ปีพุทธศักราชนี้: 45
รวมทั้งหมด: 819
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV