บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งคอมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ประชากรตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ทฤษฎีรูปแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพเป็นแนวทางในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 40 45 50 55 และ 60 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี251 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ในช่วงเดือนมิถุนายน 2550 -เดือนกรกฎาคม 2550 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไฆสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การสำรวจพบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 46.6 มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งคอมดลูกอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 97.2 มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งคอมดลูกอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.1 การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคมะเร็งคอมดลูกอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.9 มีการรับรู้ผลดีของการมาตรวจคัดกรองโรคมะเร็งคอมดลูกในระดับสูง และร้อยละ 60.6 มีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งคอมดลูกในระดับสูง และสตรีกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 53 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งคอมดลูก ร้อยละ 10.7 ไม่ได้รับการตรวจ สถานภาพสมรสและความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งคอมดลูก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งคอมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกท่าน ควรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งคอมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายเป็นประจำ เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งคอมดลูกเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีของกลุ่มเป้าหมายต่อไป
บทคัดย่อ
This survey research study was aimed at to examining the self-health-care behavior
of women in preventing cervical cancer among a target group of women in Tambol Nong Ya Sai, Amphur Nong Ya Sai, Suphan Buri. Applying the Health Belief Model Theory as
a guideline, the research had been performed during June and July 2007 using purposive
sampling on 251 target women aged 35, 40, 45, 50, 55 and 60 in the area under the responsibility
of Nong Ya Sai Hospital. The research workflow consisted of interviewing, data
collection and analyzing processes, using frequency distribution, percentage, means, standard
deviation, chi-square test and Pearson’s correlation coefficient.
The results indicated that 46.6 percent of the target group of women had an intermediate
level of knowledge about cervical cancer, 97.2 percent had an intermediate level
of acknowledging risk opportunities in having cervical cancer, 68.1 percent had an intermediate
level of acknowledging cervical cancer, 72.9 percent had a high level of acknowledging
the benefit of having a Pap smear test, 60.6 percent had a high level of self-care
behavior in preventing cervical cancer, 53.0 percent had a Pap smear test, while 10.7 percent
did not undergo that test. The research also informs that marriage status and knowledge
about cervical cancer have a significant relationship with self-care behavior in preventing
cervical cancer (p value ≤ 0.05).
Recommendation: Public health officials should provide knowledge about cervical
cancer to increase the number of target group women who have undergone a Pap smear
test, which will lead to good health.