บทคัดย่อ
การกระจายอำนาจการให้บริการสาธารณสุข เป็นนโยบายและวาระสำคัญของชาติ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยหลักการ คือ งานบริหารราชการส่วนกลาง โดย กระทรวงสาธารณสุขต้องกระจายอำนาจงานบริการด้านสาธารณสุขและทรัพยากรไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนี้กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดตั้งสำนักงานสนับสนุนและพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ (สพกส.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานระดับนโยบาย และเตรียมความพร้อมรองรับการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน พ.ศ. 2550 มีการนำร่องการถ่ายโอนสถานีอนามัย จำนวน 22 แห่ง ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่งในพื้นที่ 16 จังหวัด การรับรู้ถึงสถานการณ์และเงื่อนไขการงานตลอดจนประสบการณ์การเรียนรู้ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการถ่ายโอนครั้งนี้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจด้านบริการสาธารณสุขในรูปแบบการถ่ายโอนสถานีอนามัย ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นจุดเปลี่ยนของการพัฒนาระบบสุขภาพ ที่ต้องใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพประชาชน กระบวนการถ่ายโอนนี้พบว่า การสื่อสารมีความสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจเรื่องเป้าหมาย ประโยชน์ กระบวนการที่จะดำเนินการ ข้อพึงระวัง และแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการถ่ายโอน ปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการถ่ายโอนให้ลุล่วงไปได้มี 2 ด้าน คือ 1. แรงจูงใจ เช่น มีงบประมาณในการทำงานมากขึ้น มีอัตราตำแหน่งมากขึ้น หรือมีความก้าวหน้าสูงขึ้น หรือมีสายบังคับบัญชาที่สั้นลง ทำให้ปฏิบัติงานได้สะดวกยิ่งขึ้น 2. คุณสมบัติเดิมที่มีอยู่หรือความพร้อมที่บังเกิดขึ้นในระหว่างเตรียมการ เช่น มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันอยู่แล้ว ผู้นำมีภาวะผู้นำสูง มีการประชาสัมพันธ์อย่างดีเยี่ยม มีการระดมการมีส่วนร่วมอย่างได้ผล ประสบการณ์การกระจายอำนาจในรูปแบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยนำร่องนี้ มีข้อคิดเห็น/ข้อเสนอว่า การทำความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวข้างต้นต้องเกิดขึ้นในทุกระดับตั้งแต่นโยบายส่วนกลางจนถึงระดับท้องถิ่น การถ่ายโอนไม่ควรดำเนินการแบบเร่งรัดเกินไป ควรสื่อสารกันตลอดเวลาและร่วมกันหาทางออกที่ดีที่สุด ควรคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างอัตรากำลังกับภารกิจใหม่ให้มาก และควรมีศูนย์บริหารจัดการถ่ายโอนระดับจังหวัดทำหน้าที่ประสานงานและให้ความช่วยเหลือในทุกๆ ด้าน รวมทั้งต้องมีระบบสนับสนุนการดำเนินงานในทุกระดับและทุกระยะตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังการถ่ายโอน ตลอดจนมีระบบติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพราะผลลัพธ์ไม่ได้อยู่ที่ให้เกิดการถ่ายโอนเพียงอย่างเดียว การเรียนรู้เพื่อให้เกิดบทเรียนและแนวทางปฏิบัติที่มีคุณภาพ ต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาปรับใช้กับการดำเนินงานในระยะต่อไป หรือข้อมูลจากการเรียนรู้อาจก่อให้เกิดแนวคิดนวัตกรรมในรูปแบบทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากรูปแบบการถ่ายโอนก็เป็นได้
บทคัดย่อ
Public health decentralization has been an item on the national agenda in compliance with the 1997 Constitution of Thailand. In principle, the central administration of the Ministry of Public Health was responsible for decentralizing its part of public health programs and resources to local administrative organizations according to the Decentralization Plan for Local Administration. The Ministry of Public Health established the Office for Supporting Public Health Decentralization so that it could act as a policy coordinator and a preparation facilitator for transferring public health programs and activities to local administrative organizations. In 2007, the Ministry of Public Health initiated a pilot project to transfer 22
health centers to 19 local administrative organizations in 16 provinces. The individual experiences of this project indicate that community participation was necessary. Other important factors on part of local administrative organizations were their supplementary budgets for public health activities and investment, shortened command-control line, clearer pathway of health personnel positions and leadership of
community development. Good relationship between health centers and local administrative organizations were undeniably helpful for the transferring processes. Lessons learned from this project were if the transferring would carry out for more health centers, communication of the transfer vision, processes, advantages, precaution and possible contingencies and solutions should be thoroughly made from policy
to implementation level. Human resources for transferred public health programs must be carefully planned. Administrative and Consultative Office at provincial level should be established to help solve out administrative inquiries and provide technical consultation from the starting point to monitoring and continuous evaluations. Then, the lessons learned and applications from local levels would help support the better development.