• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินการทดลองอบรมหลักสูตรพื้นฐานการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด

สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย; มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์; โครงการปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการพัฒนาศักยภาพการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด;
วันที่: 2553
บทคัดย่อ
การประเมินผลหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดให้กับนักสังคมสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งทางภาครัฐและองค์กรสาธารณประโยชน์และเพื่อสร้างการพัฒนากลไกและระบบสนับสนุนการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด ให้สามารถปฏิบัติงานในขอบข่ายหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่มือใหม่ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ตึกคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ การประเมินผลโครงการฝึกอบรมเป็นการประเมินเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้ต่างๆ ในการเรียนการสอน โดยใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมิน “ก่อน” และ “หลัง” การให้ความรู้ในสิ่งที่ต้องการฝึกอบรมไปแล้ว โดยใช้สถิติ t-test ในการวิเคราะห์แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยแบบเลือกตอบชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ผลจากแบบทดสอบ “ก่อน” และ “หลัง” จากการฝึกอบรมปรากฏว่าได้ค่า t = -3.979 ซึ่งถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จึงสรุปได้ว่าการฝึกอบรมมีผลทำให้ความสามารถของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ด้านการสอนเพิ่มขึ้นจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการประเมินการฝึกอบรบด้านของประโยชน์และคุณค่าต่อการปฏิบัติงานของหลักสูตรการ ฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติดประเมินโดยใช้แบบสอบถาม ความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผลปรากฏว่า มีประโยชน์และคุณค่าในระดับมากต่อการปฏิบัติงาน ส่วนผลการประเมินด้านกระบวนการจัดการฝึกอบรม เช่น สถานที่จัดการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม วิทยากร โดยภาพรวม ระยะเวลาการฝึกอบรม เอกสารประกอบการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน บรรยากาศของการฝึกอบรม อาหาร การอำนวยความสะดวกของทีมผู้จัด การดำเนินงานและประสานงานแจ้งข่าวการฝึกอบรม โดยภาพรวมผู้เข้ารับการฝึกอบรมเห็นว่าทุกหัวข้อมีความเหมาะสม ผลการติดตามประเมินผลหลังการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด หลังการฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้เทคนิคจากการอบรมไปใช้เพิ่มมากขึ้นในลักษณะการประยุกต์ใช้ความรู้โดยการให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ ใช้หลักการเชื่อในศักยภาพ และเชื่อในสิทธิการเป็นมนุษย์และหลักการยอมรับการตัดสินใจของผู้รับบริการเป็นหลัก ข้อเสนอแนะ อยากให้มีหลักสูตรการอบรมแบบพักค้างและมีการฝึกปฏิบัติระหว่างการฝึกอบรม เพื่อลดระยะเวลาในการเดินทางมาอบรมและผู้เข้าอบรมจะได้มีเวลาในการแสดงข้อคิดเห็นร่วมกันมากขึ้น ผู้เข้ารับการอบรมความคิดเห็นว่าควรมีการนำเสนอโครงการ/แผนงานที่เกี่ยวกับหลักสูตรให้กับนักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบัติงานที่เรือนจำทั่วประเทศ โดยการจัดทำหลักสูตรต่างๆ และควรนำหลักสูตรนี้ไปจัดอบรมให้บุคลากรที่ได้รับการบรรจุใหม่ที่ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด พร้อมทั้งน่าที่จะมีการบรรจุข้อมูลความรู้ทางการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติดเป็นหนึ่งรายวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ส่วนสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขคือควรจัดโปรแกรมหลักสูตรให้แน่นขึ้นและนำวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีเทคนิคกระบวนการใหม่มาอบรมให้ความรู้ ผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นที่ว่าความรู้ที่ได้รับยังไม่สอดคล้องต่อลักษณะการทำงานด้านเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า ในการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด ทีมงานผู้ประเมินจะต้องมีการวางแผนในการประเมินนั้นจะต้องพิจารณาทั้งด้านองค์ความรู้ที่จะให้ การฝึกปฏิบัติ การบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ทำการการจัดฝึกอบรมว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยที่ทีมงานผู้ประเมินต้องเลือกแบบประเมินให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการที่จะประเมิน เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็น จึงเป็นผลทำให้ทีมผู้จัดได้ทราบถึงจุดเด่นจุดด้อยของโครงการเพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ให้ดีขึ้น เมื่อมีโครงการฝึกอบรมแบบเดียวกันนี้ต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1720.pdf
ขนาด: 611.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 73
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การศึกษาแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมของประเทศไทย 

    ถาวร สกุลพาณิชย์; พัฒนาวิไล อินใหม; อรรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล; บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ; เอื้อมพร พิชัยสนิธ; ภัททา เกิดเรือง; ครรชิต สุขนาค; ขวัญพลอย ชีช้าง (ส่วนงานสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2559-09)
    ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เริ่มมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลง มีค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม สำหรับบริบทของประเทศที่เปลี่ยนไป การศึกษาครั้งนี้ ...
  • รายวิชาการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีวิชา สค.๔๙๖ วิชาการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์สำหรับผู้ติดยาและสารเสพติด 

    โครงการปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการพัฒนาศักยภาพของนักสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด (โครงการปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการพัฒนาศักยภาพของนักสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด, 2553)
    วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีพื้นฐานการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด สามารถนำไปประยุกต์ใช้เมื่อออกไปปฏิบัติงานจริงได้ 2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน และผลกระทบของยาเส ...
  • การศึกษาความต้องการฝึกอบรมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด 

    ปรียานุช โชคธนวณิชย์; ชานนย์ โกมลมาลย์ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2553)
    มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนักสังคมสงเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในการฝึกอบรมความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านยาเสพติด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดและผู้เกี่ยวข้อง ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV