บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้เกี่ยวกับกราฟโภชนาการ และเส้นทางลูกรัก กับการปฏิบัติตนระหว่างมีครรภ์และน้ำหนักทารกแรกคลอดของผู้มาคลอด โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างหญิงมีครรภ์ 371 คน ด้วยแบบสอบถามที่โรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดศรีสะเกษ การวิเคราะห์ข้อมูใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยใช้สถิติทดสอบที ไฆ-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทดสอบความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล และการรับรู้กราฟโภชนาการและเส้นทางลูกรัก กับการใช้ประโยชน์กราฟโภชนาการและเส้นทางลูกรัก น้ำหนักทารกแรกคลอด และการฝากครรภ์คุณภาพ การศึกษาพบว่าระดับการศึกษาและอายุของผู้มาคลอดมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกคลอด (ค่าพี = 0.003 และ 0.002) ลำดับการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์คุณภาพ (ค่าพี = 0.0049) สัดส่วนการฝากครรภ์ครบคุณภาพของผู้ตั้งครรภ์ที่ 2-4 สูงกว่าผู้ตั้งครรภ์ครรภ์แรก/ครรภ์ที่ 5 1.57 เท่า (95%CI=1.000-2.454) การรับรู้กราฟโภชนาการมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์กราฟโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ และเส้นทางลูกรัก (ค่าพี = 0.000 และ 0.000) การรับรู้เส้นทางลูกรักมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์กราฟโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และเส้นทางลูกรัก (ค่าพี = 0.000 และ 0.000)
บทคัดย่อ
The objectives of this cross-sectional study were to analyze the correlation between
Personal Qualities and the Pregnancy’s Perception Factors, such as the pregnancy nutrition
graph and pregnancy pathway, as they related to self-care during pregnancy and antenatal care for newborns’ birth weight. The subjects were 371 pregnant women who
visited community hospitals in Sisaket when going into labor. The data were collected
using self-administered questionnaires and these were analyzed using t-test, chi-square
and Pearson’s correlation coefficient.
The results revealed that both the educational level and age were significantly correlated
to the newborn’s birth weight (p=0.034 and 0.002). Gravidity was significantly
correlated to quality of antenatal care (p=0.049). The quality of antenatal care of second to
fourth gravidity was 1.57 times significantly higher than the first and fifth gravidity. Perception
on the pregnancy pathway was significantly correlated to the utilization of the
pregnancy nutrition graph and pregnancy pathway (r=0.403, p-value=0.000 and r=0.407,
p=0.000). Perceptions on the pregnancy pathway were significantly correlated to the utilization
of the pregnancy nutrition graph and the pregnancy pathway (r=0.416, pvalue=
0.000 and r=0.487, p=0.000).