• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานสู่ระบบบริการระดับปฐมภูมิในเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.ปัว จ.น่าน

กอบกุล ยศณรงค์; Kobkul Yodnarong;
วันที่: 2555-06
บทคัดย่อ
ปัญหาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว (รพร.ปัว) คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด สาเหตุสำคัญเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลต้องใช้เวลายาวนานในการเดินทางเพื่อเข้ารับการรักษาที่รพร.ปัว อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังขาดความไว้วางใจต่อการเข้ารับการรักษาในสถานบริการปฐมภูมิ การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้จึงได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ด้วยวิธีการที่เรียกว่า การดูแลรักษาแบบองค์รวมด้วยพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว โดยมีแพทย์ประจำจากรพร.ปัวเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2553 - 30 กันยายน 2554 การวิจัยนี้ศึกษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วง 70 – 130 มก./ดล.และมีระดับ HbA1c<7% จำนวนทั้งสิ้น 418 คน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่รพ.สต. 11 แห่งจำนวน 98 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานรพร.ปัว จำนวน 320 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาที่รพ.สต.สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ป่วยที่รับการรักษาที่คลินิกเบาหวานของรพร.ปัว โดยมีผู้ป่วยของรพ.สต.และของรพร.ปัวที่สามารถควบคุมระดับ HbA1c <7% เท่ากับ ร้อยละ 72.55 และ ร้อยละ 54.37 ตามลำดับ ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าการพัฒนาวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยการดูแลรักษาแบบองค์รวมด้วยพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวเป็นรูปแบบที่สามารถเพิ่มคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวให้มีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยในระดับปฐมภูมิให้มากยิ่งขึ้น

บทคัดย่อ
Since the number of diabetic patients has been dramatic increasing in Thailand year by year, so the good medical care is needed for serving all patients’ requirement. In the present, the medical care for diabetic patients in Pua district still has many problems.Most patients could not meet the standard outcomes on controlling the plasma glucose. This problem has been found to relate on the obstacle of transportation to DM clinic in hospital and the confidence in the service of intermediate facilities. The aim of this research was to develop primary care for diabetic patient by Nurse Practitioner. The period of quasiexperimental research was started from 1st October 2010 to 30th September 2011. The study was focused on the 418 patients that had well control of plasma glucose from 70 - 130 mg/dl and had level of HbA1C< 7%. The patients were divided into two groups. The first group was the 98 patients that received service at the Subdistrict health promoting hospital. The second was the 320 patients that received service at Pua Crown Prince Hospital. The result showed that the DM patients from Subdistrict health promoting hospital could control the level of plasma glucose better than those from Pua Crown Prince Hospital. The level of HbA1c< 7% of the DM patients from primary medical care and Pua Crown Prince Hospital were 72.55% and 54.37% respectively. In conclusion, the developing primary care for diabetic patient by Nurse Practitioner had found to be suitable for applying in Pua Contracting Unit Care. This concept is better to put more effort and need simultaneous development for keeping fast track on the observation.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v6n2 ...
ขนาด: 234.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 6
ปีงบประมาณนี้: 105
ปีพุทธศักราชนี้: 55
รวมทั้งหมด: 1,742
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1282]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV