• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การใช้บริการสุขภาพของผู้ป่วยชาวลาวในประเทศไทย

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์;
วันที่: 2554-09
บทคัดย่อ
การใช้บริการสุขภาพข้ามพรมแดนของผู้ป่วยชาวลาวในโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทย เป็นสถานการณ์ที่ยังไม่มีรายงานการศึกษาทั้งข้อมูลสถานการณ์และผลกระทบต่อโรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทย จึงเป็นที่มาและวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ที่จะต้องการศึกษาสถานการณ์การใช้บริการสุขภาพข้ามพรมแดนของผู้ป่วยชาวลาวในโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทย โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนา(Cross-sectional descriptive study) ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลทั้งวิธีการเชิงคุณภาพ(Qualitative method) และวิธีการเชิงปริมาณ(Quantitative method) ผลการศึกษาพบว่า บริบทด้านพื้นที่ของผู้ป่วยส่งผลต่อความสามารถในการจ่ายค่าบริการ โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีพื้นที่ติดกับชายแดนในเขตพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเศรษฐกิจหรือเมืองใหญ่ อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองของประเทศลาว เดินทางได้ลำบากเมื่อเทียบกับเดินทางข้ามพรมแดนเข้ามาในประเทศไทย จะได้รับผลกระทบด้านภาระการเงินค่อนข้างมาก เพราะไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ป่วยได้ มีการแก้ปัญหาโดยใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลในการรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ส่วนบริบทด้านการบริหารจัดการจะส่งผลต่อการเรียกเก็บค่าบริการ โดยโรงพยาบาลขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ติดกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจของประเทศลาว ต้องแข่งขันกับสถานบริการสุขภาพเอกชนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยที่มีความสามารถในการจ่ายสูงจะไปใช้บริการที่สถานบริการสุขภาพเอกชน หรือใช้บริการที่สถานบริการเอกชนจนถึงขีดความสามารถจะจ่ายได้จึงจะกลับมาใช้บริการของรัฐ ส่วนผู้ที่มีความสามารถในการจ่ายต่ำกว่าจะเลือกใช้บริการของรัฐอยู่แล้ว ทำให้โรงพยาบาลของรัฐที่มีขนาดเล็กกลุ่มนี้พบกับปัญหาไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้ส่วนโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ไม่ได้ติดพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ทำให้ไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้ ซึ่งส่งผลให้โรงพยาบาลขนาดเล็กมีภาระค่าใช้จ่ายต่อการให้สังคมสงเคราะห์ต่อผู้ป่วยชาวลาวเป็นจำนวนสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ในขณะที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีการใช้ทรัพยากรในการรักษามากกว่า เนื่องจากผู้ป่วยที่มาใช้บริการมักมีอาการซับซ้อนหรือรุนแรงกว่า ผลกระทบที่ตามมาคือผู้ป่วยไม่สามารถจ่ายค่าบริการได้เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาจะสะท้อนให้เห็นว่า การบริหารจัดการในระดับโรงพยาบาลสามารถลดความรุนแรงผลกระทบด้านสถานการณ์การเงินจากการใช้บริการของผู้ป่วยชาวลาวได้ นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาใช้บริการในประเทศไทยของผู้ป่วยชาวลาว คือความเชื่อมั่นและความศรัทธาต่อคุณภาพของบริการทางการแพทย์ในประเทศไทย เนื่องจากการใช้ บริการไม่สอดคล้องกับลักษณะความรุนแรงของโรคหรือความซับซ้อนทางด้านการรักษา รายงานการศึกษานี้จะสะท้อนสถานการณ์การใช้บริการและการให้บริการสุขภาพข้ามพรมแดนของผู้ป่วยชาวลาว พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการสถานการณ์ในบริบทต่างๆ และเสนอแนะแนวทางสำหรับการจัดการเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพต่อไปในอนาคต
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1924.pdf
ขนาด: 5.145Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 357
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV