Show simple item record

Comparison of antibiotic-dispensing vs. non-antibiotic-dispensing practices by community pharmacies on patients’ health outcome and satisfaction

dc.contributor.authorวิรัตน์ ทองรอดth_TH
dc.contributor.authorWirat Tongroden_US
dc.contributor.authorกฤติน บัณฑิตานุกูลth_TH
dc.contributor.authorKrittin Bunditanukulen_US
dc.contributor.authorกิติยศ ยศสมบัติth_TH
dc.contributor.authorKitiyot Yotsombuten_US
dc.contributor.authorวราวุธ เสริมสินสิริth_TH
dc.contributor.authorVaravoot Sermsinsirien_US
dc.contributor.authorณีรนุช ทรัพย์ทวีth_TH
dc.contributor.authorNiranut Subthaweeen_US
dc.contributor.authorสมบัติ แก้วจินดาth_TH
dc.contributor.authorSombat Kaeochindaen_US
dc.contributor.authorนิธิมา สุ่มประดิษฐ์th_TH
dc.contributor.authorNithima Sumpraditen_US
dc.date.accessioned2013-11-15T07:06:37Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:20:46Z
dc.date.available2013-11-15T07:06:37Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:20:46Z
dc.date.issued2556-06en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 7,2 (เม.ย.-มิ.ย.2556) : 261-267en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3904en_US
dc.description.abstractร้านยาเป็นแหล่งให้บริการด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิที่สำคัญ แต่ร้านยาหลายแห่งยังจ่ายยาปฏิชีวนะในโรคที่พบบ่อยซึ่งส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก สาเหตุสำคัญ คือ ความไม่มั่นใจด้านผลการรักษาโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะต่อสุขภาพและความพึงพอใจของผู้ป่วย การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการจากร้านยาด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก ระหว่างกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะและกลุ่มที่ไม่ได้ยาปฏิชีวนะ การเก็บข้อมูลดำเนินการในเดือนตุลาคม 2555 ร้านยาอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมการใช้ยาปฏิชีวนะสมเหตุผลมีจำนวน 97 แห่ง ร้านยาที่ส่งข้อมูลสมบูรณ์กลับมีจำนวน 54 แห่ง (ร้อยละ 55.7) ผู้ป่วยที่ถูกสัมภาษณ์หลังให้บริการ 3-7 วันมีจำนวน 1,021 ราย ผู้ป่วยให้ข้อมูลครบถ้วนจำนวน 998 ราย (ร้อยละ 97.7) ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน แผลเลือดออก และโรคท้องร่วงเฉียบพลัน ร้อยละ 71.5, 21.2 และ 7.2 ตามลำดับ คิดเป็นกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะร้อยละ 26.8 และกลุ่มที่ไม่ได้ยาปฏิชีวนะร้อยละ 73.2 ผลการสัมภาษณ์ พบว่า ร้อยละ 91.5 ของผู้ป่วยทั้งหมดแจ้งว่าหายดีเป็นปกติหรือมีอาการดีขึ้น ร้อยละ 83.9 พึงพอใจต่อการรักษาในระดับมากถึงมากที่สุด การเปรียบเทียบผลการรักษาและความพึงพอใจระหว่างกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะและกลุ่มที่ไม่ได้ยาปฏิชีวนะไม่พบความแตกต่าง (p-value > 0.05) ผลการรักษาและความพึงพอใจระหว่าง 3 กลุ่มโรคเป้าหมาย ไม่พบความแตกต่าง (p-value > 0.05) ผลการศึกษาสอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมาว่าโรคเป้าหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่หายเองโดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent160610 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectยาปฏิชีวนะen_US
dc.subjectAntibioticen_US
dc.titleการเปรียบเทียบผลของการจ่ายและการไม่จ่ายยาปฏิชีวนะของร้านยาในโรคที่พบบ่อยต่อสุขภาพและความพึงพอใจของผู้ป่วยth_TH
dc.title.alternativeComparison of antibiotic-dispensing vs. non-antibiotic-dispensing practices by community pharmacies on patients’ health outcome and satisfactionen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeOveruse of antibiotics for common, self-limited diseases such as upper respiratory infection (URI), acute diarrhea and simple wound is rampant in Thai community pharmacies. A major reason is a lack of confidence in the effects of non-antibiotic therapy on patient health and satisfaction. The study aims to compare health outcomes and patients satisfaction between the antibiotic-dispensed group and the non antibiotic-dispensed group of patients afflicted with three targeted diseases: URI, acute diarrhea and simple wound. Data collection was conducted in October 2012. Pharmacists from 97 community pharmacies who attended the Antibiotics Smart Use training session were asked to make a follow-up telephone interview with their patients 3-7 days after the pharmacy visit. Pharmacists from 54 pharmacies (55.7%) completed the interviews of 1,021 patients. Responses from 998 patients (97.7%) were usable for data analysis. The responses were from the patients with URI 71.5%, simple wound 21.2% and acute diarrhea 7.2%. The proportion between the antibiotic-dispensed group and the non antibiotic-dispensed group were 26.8% and 73.2%, respectively. Interview results showed that 91.2% of patients were fully recovered or better and 83.9% were satisfied and very satisfied with the treatment. There were no statistical differences on patients’ health outcome and satisfaction between the antibiotic-dispensed group and the non antibiotic-dispensed group (p-value > 0.05) and no statistical difference across the three targeted diseases (p-value > 0.05). The study confirms previous studies that URI, diarrhea and simple wound can be cured without antibiotics.en_US
dc.subject.keywordร้านยาen_US
dc.subject.keywordPatient Satisfactionen_US
dc.subject.keywordCommunity Pharmacyen_US
dc.subject.keywordการใช้ยาสมเหตุผลen_US
.custom.citationวิรัตน์ ทองรอด, Wirat Tongrod, กฤติน บัณฑิตานุกูล, Krittin Bunditanukul, กิติยศ ยศสมบัติ, Kitiyot Yotsombut, วราวุธ เสริมสินสิริ, Varavoot Sermsinsiri, ณีรนุช ทรัพย์ทวี, Niranut Subthawee, สมบัติ แก้วจินดา, Sombat Kaeochinda, นิธิมา สุ่มประดิษฐ์ and Nithima Sumpradit. "การเปรียบเทียบผลของการจ่ายและการไม่จ่ายยาปฏิชีวนะของร้านยาในโรคที่พบบ่อยต่อสุขภาพและความพึงพอใจของผู้ป่วย." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3904">http://hdl.handle.net/11228/3904</a>.
.custom.total_download1675
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month9
.custom.downloaded_this_year154
.custom.downloaded_fiscal_year19

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v7n2 ...
Size: 156.8Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record