• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระดับประชากรในประเทศไทยด้วยแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์

นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร; Naiyana Praditsitthikorn;
วันที่: 2556-09
บทคัดย่อ
มะเร็งปากมดลูกก่อให้เกิดความสูญเสียในสตรีไทย ภารกิจที่ท้าทายผู้บริหาร คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันและควบคุมโรค การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าของมาตรการปัจจุบัน คือ การคัดกรองสตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ทุก ๕ ปี เปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น ได้แก่ การขยายเป้าหมายให้ครอบคลุมสตรีอายุน้อยกว่า ๓๐ ปี และเพิ่มความถี่เป็นทุก ๓ และ ๑ ปี การศึกษาปรับปรุงแบบจำลอง Markov ที่พัฒนาในปี ๒๕๕๐ ต้นทุนใช้มุมมองทางสังคม โดยปรับค่าเป็นปี ๒๕๕๕ ผ่านดัชนีราคาผู้บริโภคจากสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และปรับค่าอรรถประโยชน์ของมะเร็งปากมดลูกผ่านสมการของประชากรไทย การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับการไม่คัดกรอง มาตรการปัจจุบัน เมื่อดำเนินการภายใต้อัตราคัดกรองร้อยละ ๘๐ มีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ ๔๐ ทางเลือกที่ดีที่สุดและควรพิจารณา หากต้องการขยายการคัดกรอง คือ เพิ่มความถี่การคัดกรองจากทุก ๕ ปีเป็นทุก ๓ ปี โดยคงกลุ่มอายุเดิมจะช่วยลดอุบัติการณ์อีกปีละ ๙๐๐ ราย และป้องกันการเสียชีวิตปีละ ๔๕๐ ราย ลดต้นทุนการรักษามะเร็งปากมดลูกได้ปีละ ๑,๒๐๐ ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม -๗๓,๓๐๐ บาทต่อปีสุขภาวะ แต่จำเป็นต้องพัฒนานักเซลล์วิทยาเพิ่มอีกอย่างน้อย ๑๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๒ ของกำลังคนในปัจจุบัน การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบันที่ให้สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี รับบริการคัดกรองสม่ำเสมอทุก ๕ ปี เป็นมาตรการที่คุ้มค่า เหมาะสม และปฏิบัติได้ แต่ควรควบคุมประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายอัตราคัดกรองในประชากรที่ตั้งไว้ร้อยละ ๘๐ ส่วนการเพิ่มความถี่ในการคัดกรองเป็นทุก ๓ ปี ถึงแม้จะมีความคุ้มค่าและได้ประโยชน์เพิ่ม แต่ควรวางแผนด้านบุคลากรและระบบให้พร้อม

บทคัดย่อ
As cervical cancer is the second most common cancer in Thai women, it is important for policy makers to effectively implement the screening program. The aim of this study was to assess the incremental cost-effectiveness of the current 5-yearly screening practice for all women aged 30-60 years, compared with the alternative options that differ in the screening interval and target age groups. The study adopted a Markov model conducted in 2007 under the Thai healthcare setting. All costs were estimated under societal perspective and converted to the year 2012 values using the Thai consumer price index. Utility score was calculated based on the Thai scoring algorithm. We found that screening cervical cancer in Thai women was cost-effective compared to no screening. The current practice showed a certain benefit of 40 percent reduction in incidence and mortality. The second most efficient strategy was a 3-yearly screening for women aged 30-60 years, with the incremental cost-effectiveness ratio -73,300 baht per quality-adjusted life year gained and the expected prevention of 900 cervical cancer cases and 450 deaths per year. Treatment cost was reduced to 1.2 billion baht per year. But more than 180 cytologists and pathologists are needed to cope with increasing demand. Strengthening the current program by increasing the number of women for screening to reach the targeted coverage rate of 80 percent is the most cost-effective and pragmatic option in Thailand.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v7n3 ...
ขนาด: 440.7Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 10
ปีงบประมาณนี้: 97
ปีพุทธศักราชนี้: 64
รวมทั้งหมด: 1,457
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV