• TH
    • EN
    • Register
    • Login
    • Forgot Password
    • Help
    • Contact
  • Register
  • Login
  • Forgot Password
  • Help
  • Contact
  • EN 
    • TH
    • EN
View Item 
  •   Home
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • View Item
  •   Home
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

รูปแบบการใช้บริการและค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยนอกในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

คเณศ สัมพุทธานนท์; Kanet Sumputtanon; นิลวรรณ อยู่ภักดี; Nilawan Upakdee; ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย;
Date: 2557-03
Abstract
ในปี 2554 ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นการประกันสุขภาพของภาครัฐมีความครอบคลุมประชากรไทยประมาณ 48.3 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 74.3 ของประชากรทั้งประเทศ) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบของการใช้บริการผู้ป่วยนอกในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยต่อคนต่อปีและความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยกับรูปแบบการใช้บริการในแผนกผู้ป่วยนอกต่อปี วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลผู้ป่วยนอกรายบุคคลที่ใช้บริการในปี 2554 จาก 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น ลำปาง สงขลา กำหนดรูปแบบการใช้บริการ 31 รูปแบบ จาก 5 ประเภทหน่วยบริการประกอบด้วย สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยต่อคนต่อปีกับรูปแบบของการใช้บริการ ผลการศึกษาพบว่าการใช้บริการในหน่วยบริการประเภทเดียวมีการใช้บริการในสถานีอนามัยเฉลี่ยร้อยละ 29.1, ที่โรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 19.8 ลำดับที่สามคือโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ร้อยละ 7.5 การใช้บริการหน่วยบริการ 2 ประเภท พบว่ามีการใช้บริการสูงสุดที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลชุมชนคิดเป็นร้อยละ 20.8, เป็นที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ร้อยละ 4.5, โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปร้อยละ 2.1 สำหรับการใช้หน่วยบริการ 3 ประเภทพบว่าใช้บริการสูงสุดที่สถานีอนามัย,โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ร้อยละ 2.8 สำหรับรูปแบบการใช้บริการอื่นๆ มีการใช้บริการน้อยกว่าร้อยละ 1.0 ด้านค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยต่อคนต่อปี พบว่าค่าใช้จ่ายต่ำสุดอยู่ที่การใช้บริการที่สถานีอนามัย คิดเป็น 295.4 บาทต่อคนต่อปี และสูงสุดที่โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย คิดเป็น 13,236.2 บาทต่อคนต่อปี จากการหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายกับรูปแบบการใช้บริการทั้ง 31 รูปแบบสรุปได้ว่าค่าใช้จ่ายสามารถจัดกลุ่มรูปแบบการใช้บริการได้ 7 กลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันจากการศึกษารูปแบบการใช้บริการมีความสอดคล้องกับนโยบายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความแตกต่างของรูปแบบการใช้บริการมีผลต่อค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในการจัดสรรงบประมาณ และพัฒนาระบบการจ่ายเงินสำหรับผู้ป่วยนอก ผู้กำหนดนโยบายควรคำนึงถึงรูปแบบการใช้บริการผู้ป่วยนอกด้วย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
Fulltext
Thumbnail
Name: hsri_journal_v8n1 ...
Size: 215.6Kb
Format: PDF
Download

User Manual
(* In case of download problems)

Total downloads:
Today: 1
This month: 9
This budget year: 120
This year: 74
All: 1,340
 

 
 


 
 
Show full item record
Collections
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
Privacy Policy | Contact Us | Send Feedback
Theme by 
Atmire NV
 

 

Browse

HSRI Knowledge BankDashboardCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsSubjectsการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
Privacy Policy | Contact Us | Send Feedback
Theme by 
Atmire NV