บทคัดย่อ
Background: In 2011, the Universal Health Coverage (UHC), which is a public health insurance
scheme, covered approximately 48.3 million (74.3%) of the Thai population. This study aims to examine
the patterns of outpatient services and analyze the difference between mean of charge in healthcare per
patient per year among the various outpatient-service patterns.
Methods: The data was gathered from outpatient service providers in Chiang Mai, Khon Kaen,
Lampang and Songkla in 2011. We generated thirty-one patterns of outpatient services based on five
categories of existing healthcare providers: 1) Health Centers (HC); 2) Community Hospitals (CH); 3)
General/Regional Hospitals (GH/RH); 4) University Hospitals (UH); and 5) Other Hospitals (OH).
Descriptive statistical analysis and one-way analysis of variance (ANOVA) were used to assess the
difference between mean of charge in healthcare per patient per year among the various outpatient-service
patterns.
Results: For those accessing a single health facility, 29.1 % occurred in HC, 19.8% occurred in CH,
and 7.5% occurred in GH/RH. For those accessing two different health facilities, 20.8% occurred in HC
and CH, 4.5% occurred in HC and GH/RH, and 2.1% occurred in CH and GH/RH. For those accessing
three different health facilities, 2.8% occurred in HC, CH and GH/RH. Other patterns of access in outpatient
service in excess of three health facilities per year were less than 1.0%. In terms of charge (per patient
per year), HC generated the lowest (295.4 Baht) while both GH/RH and UH generated the highest (13,236.2
Baht). The mean of charge in healthcare services among the thirty-one patterns were significantly different.
A subset of seven groups was classified that corresponded to the patterns.
Conclusions: Outpatient-service patterns were consistent with policy of Universal Health Coverage
Scheme (UCS). UCS patients are able to access a variety of healthcare services from primary to tertiary care.
Different service patterns affected charges differently. To allocate budget and improve the payment system
for outpatient services, UCS policymakers should consider the impact of patterns on outpatient services.
บทคัดย่อ
ในปี 2554 ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นการประกันสุขภาพของภาครัฐมีความครอบคลุมประชากรไทยประมาณ 48.3 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 74.3 ของประชากรทั้งประเทศ) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบของการใช้บริการผู้ป่วยนอกในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยต่อคนต่อปีและความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยกับรูปแบบการใช้บริการในแผนกผู้ป่วยนอกต่อปี วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลผู้ป่วยนอกรายบุคคลที่ใช้บริการในปี 2554 จาก 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น ลำปาง สงขลา กำหนดรูปแบบการใช้บริการ 31 รูปแบบ จาก 5 ประเภทหน่วยบริการประกอบด้วย สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยต่อคนต่อปีกับรูปแบบของการใช้บริการ ผลการศึกษาพบว่าการใช้บริการในหน่วยบริการประเภทเดียวมีการใช้บริการในสถานีอนามัยเฉลี่ยร้อยละ 29.1, ที่โรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 19.8 ลำดับที่สามคือโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ร้อยละ 7.5 การใช้บริการหน่วยบริการ 2 ประเภท พบว่ามีการใช้บริการสูงสุดที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลชุมชนคิดเป็นร้อยละ 20.8, เป็นที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ร้อยละ 4.5, โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปร้อยละ 2.1 สำหรับการใช้หน่วยบริการ 3 ประเภทพบว่าใช้บริการสูงสุดที่สถานีอนามัย,โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ร้อยละ 2.8 สำหรับรูปแบบการใช้บริการอื่นๆ มีการใช้บริการน้อยกว่าร้อยละ 1.0 ด้านค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยต่อคนต่อปี พบว่าค่าใช้จ่ายต่ำสุดอยู่ที่การใช้บริการที่สถานีอนามัย คิดเป็น 295.4 บาทต่อคนต่อปี และสูงสุดที่โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย คิดเป็น 13,236.2 บาทต่อคนต่อปี จากการหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายกับรูปแบบการใช้บริการทั้ง 31 รูปแบบสรุปได้ว่าค่าใช้จ่ายสามารถจัดกลุ่มรูปแบบการใช้บริการได้ 7 กลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันจากการศึกษารูปแบบการใช้บริการมีความสอดคล้องกับนโยบายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความแตกต่างของรูปแบบการใช้บริการมีผลต่อค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในการจัดสรรงบประมาณ และพัฒนาระบบการจ่ายเงินสำหรับผู้ป่วยนอก ผู้กำหนดนโยบายควรคำนึงถึงรูปแบบการใช้บริการผู้ป่วยนอกด้วย