• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เศรษฐกิจพอเพียงกับโรงพยาบาลชุมชน : ประสบการณ์โรงพยาบาลร้องกวาง

สมศักดิ์ โสฬสลิขิต; Somsak Soroslikhit; ประภัสสร ก้อนแก้ว; Praphatsorn Konkaew; อุราพร สิงห์เห; Uraporn Singhhae;
วันที่: 2550
บทคัดย่อ
การศึกษาประเมินผลการดำเนินงานภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงพยาบาลร้องกวางเพื่อประกอบการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและโรงพยาบาล โดยทำการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง เพื่อเปรียบเทียบสภาพคล่องทางการเงิน คุณภาพบริการการรักษาพยาบาล และความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ก่อนและหลังการดำเนินงาน จากการศึกษาพบว่าสภาพคล่องทางการเงินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80.82 จากก่อนการดำเนินงานมีค่าเท่ากับ 0.99 และหลังการดำเนินงานมีค่าเท่ากับ 1.80 โดยลดค่าใช้จ่ายลง คือ ค่าสาธารณูปโภคลดลง ร้อยละ 7.64 ค่าวัสดุทางชันสูตรลดลง ร้อยละ 0.08 ค่ายาที่ใช้รักษาตามอาการลดลง ร้อยละ 28.63 ค่าวัสดุทั่วไปลดลง ร้อยละ 10.42 ประสิทธิผลการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยคือ อัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคหรืออาการเดิมภายใน 7 วัน ลดลงจากร้อยละ 2.00 เป็นร้อยละ 0.01 อัตราการกลับเข้านอนในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน ลดลงจากร้อยละ 3.16 เป็นร้อยละ 3.05 อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการผู้ป่วยนอก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.62 เป็นร้อยละ 95.49 อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการผู้ป่วยใน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 87.61 เป็นร้อยละ 100 และอัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่เพิ่มจากร้อยละ 74.75 เป็นร้อยละ 75.31 สรุปว่าการดำเนินงานภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงพยาบาลร้องกวางทำให้สภาพคล่องทางการเงินเพิ่มขึ้นโดยไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลของการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่

บทคัดย่อ
The purpose of this study was to consider the result of the management of Rongkwang Hospital in “sufficient economy.” The authors planned continuous management and changed the way of creating suitable benefits for consumers, care-givers and the hospital. This retrospective study compared financial liquidity, the quality of healthcare services, the contentment of officers with the “sufficient economy” theory both premanagement and post-management. Result of the study indicated that the average in-crease in financial liquidity was 80.82 percnt, which in pre-value and post-value measure were 0.99 and 1.80, respectively. The decreased expenses included the public utility’s value at 7.64, investigated material’s value at 0.08, and supportive medicine’s value at 28.63. The value of other materials was 10.42 when the quality service of health care in the remedication rate for seven days decreased from 2 to 0.01 percent, the readmission rate decreased in 28 days from 3.16 to 3.05 percent, the OPD consumer contentment rate increased from 84.62 to 95.49 percent, the IPD consumer contentment rate increased from 87.61 to 100 percent and the officer contentment rate increased from 74.75 to 75.31 percent. In conclusion, the result shows that management, in utilizing the principle of a “sufficient economy” in Rongkwang Hospital, increased its financial liquidity without any adverse effect on the quality of health-care services and the satisfaction of the officers concerned.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v1n3 ...
ขนาด: 181.3Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 3
เดือนนี้: 13
ปีงบประมาณนี้: 673
ปีพุทธศักราชนี้: 349
รวมทั้งหมด: 5,302
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV