บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการสุ่มตรวจประเมินคุณภาพบริการตามมาตรฐานบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2550 ของโรงพยาบาลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ทำการศึกษาแบบย้อนหลังจากข้อมูลการสุ่มตรวจประเมินคุณภาพบริการตามมาตรฐานสาธารณสุขของโรงพยาบาลสูงเม่น ในวันที่ 27 มิถุนายน 2550 โดยการสุ่มตัวอย่างผู้มารับบริการ ณ จุดสัมผัสบริการ 10 จุด ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เกี่ยวกับคุณภาพของสิ่งส่งมอบที่ให้กับผู้รับบริการตามมาตรฐานบริการสาธารณสุข พ.ศ.2550 สถิติที่ใช้ในการพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ จากการศึกษาแสดงว่า ผลการประเมินคุณภาพทั้งโรงพยาบาลในประเด็นของการได้รับสิ่งส่งมอบ ระดับความเข้าใจ และความพึงพอใจของผู้รับบริการ มีดังนี้ ผู้รับบริการได้รับสิ่งส่งมอบตามมาตรฐานบริการสาธารณสุขใน 4 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 85.75 ผู้รับบริการได้รับสิ่งส่งมอบตามมาตรฐานใน 4 เรื่องและมีระดับความเข้าใจ คิดเป็นร้อยละ 100 และผู้รับบริการได้รับสิ่งส่งมอบตามมาตรฐานใน 4 เรื่องและมีระดับความพอใจคิดเป็นร้อยละ 92.78 ส่วนผลการสุ่มตรวจประเมินในรูปแบบ Award Audit 10 จุดบริการ ได้แก่ ห้องฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยนอก ตึกผู้ป่วยใน ห้องคลอด ห้องยา ทันตกรรม ห้องผ่าตัด งานสาธารณสุขชุมชน ห้องชันสูตร และห้องรังสี พบว่าการสุ่มตรวจประเด็นคุณภาพผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 91.96
บทคัดย่อ
This descriptive study was aimed at assessing the results from the monitoring process
in following the quality standards of the Ministry of Public Health in Sungmen District
Hospital. The survey, which was conducted on June 27, 2007 by the Ministry of Public
Health Standards Committee, was done by random sampling of people visiting 10
health-care service interfaces: ER, OPD, IPD, LR, Dental Clinic, OR, Laboratory, X-ray,
Pharmacy and community medicine. The Ministry of Public Health standard 2007 questionnaire
was used in collecting data. Data were statistically analyzed in terms of the
quality of services received compared with the service specifications subjects’ understanding
and satisfaction.
It was found that (1) 85.75 percent of the respondents received services as stated in
the service specification (covering four aspects of the Ministry of Public Health standard),
and all respondents understood the process of services, with 92.78 percent of them being
satisfied with the services, (2) the result of the award audit monitoring among the 10
health-care service interfaces was 91.96 percent.