• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเขาไร่ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

ปิติ ทั้งไพศาล; Piti Tangpaisarn; ระดา พันธุ์เชื้อ; Rada Punchuea; อภิญญา อรบุตร; Arpinya Oraboot; รุ่งทิวา ศรีเดช; Rungtiwa Sridach;
วันที่: 2550
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาโดยการสำรวจศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลเขวาไร่ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประชากรตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ทั้งชายและหญิงที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลเขวาไร่ จำนวน 248 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มจาก 18 หมู่บ้าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสมพันธ์ของเพียร์สันในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตตำบลเขวาไร่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การปฏิบัติด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย สุขนิสัยประจำวัน การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การจัดการกับความเครียดและความรับผิดชอบต่อสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตตำบลเขวาไร่โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยและสังคมอยู่ในระดับน้อย ส่วนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอนามัย นันทนาการและความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเองอยู่ในระดับสูง พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนได้ โดยการดำเนินงานควรทำในลักษณะของเครือข่ายสุขภาพ อาศัยการร่วมมือกันของเจ้าหน้าที่ทั้งจากโรงพยาบาล สถานีอนามัย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในภาพรวมให้ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ ไม่ว่าเป็นในด้านของสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพอนามัย

บทคัดย่อ
The study involved descriptive research using the survey method to study the healthpromoting behavior, quality of life and relationship between health-promoting behavior and quality of life of the elderly in Khowrai subdistrict. It was conducted in the period February-May 2007. Data were collected by interviewing the sample population using modified questionnaires of Kwanjai Tantiwattasatien, Pechara Intarapanich and Daowrueng Khommuang puk, which utilized alpha coefficient for accuracy. Samples included the elderly over 60 years old. Both men and women subjects lived in Khowrai subdistrict; 248 persons were selected by cluster sampling from 18 villages. Data were analyzed by descriptive statistics, mean, percentage, standard diviation and Pearson’s coefficient for assessing the relationship between health-promoting behavior and quality of life. The findings were as follows: health-promoting behavior regarding nutrition, exercise, daily hygiene, sociability, stress management, and health responsibility were medium grade; quality of life was high grade by if considered in detail the quality of life in terms of residence and social interaction were low level, but the quality of life in health, recreation and self-assessment were high. Health-promoting behavior relates significantly to quality of life. The results can be used for policy and strategic planning for health promoting innovation for the elderly by cooperating with health personnel and subdistrict organizations to solve social, economic and health problem in the elderly.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v1n3 ...
ขนาด: 183.5Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 161
ปีพุทธศักราชนี้: 86
รวมทั้งหมด: 2,513
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1372]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV