บทคัดย่อ
ทันตแพทยสภาได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางทันตกรรม ในปี พ.ศ. 2553 ให้สมาชิกได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติโดยประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริการในบริบทของตน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดกับทั้งผู้รับและผู้ให้บริการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลดอนตาลตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางทันตกรรม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้ป่วยในการประเมินคุณภาพการรักษาตามเกณฑ์ Dental Quality and Outcome Framework ในผู้ป่วย 240 ราย ประเมินความสมบูรณ์ของเวชระเบียนจำนวน 240 ฉบับ และการวิเคราะห์แบบประเมินตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะเวลาดำเนินการระหว่าง 1 - 30 กรกฎาคม 2557 การศึกษาพบว่า การประเมินคุณภาพการรักษาจากมุมมองของผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.8 ความครบถ้วนของการบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนทันตกรรมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 66.3 และการประเมินตนเองคิดเป็นร้อยละ 89.09 มีแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย 4 ด้านหลัก ทั้งการพัฒนาด้านการสื่อสารเพื่อการรับรู้และความเข้าใจ ด้านการให้การรักษาอย่างปลอดภัย ด้านการควบคุมการติดเชื้อ และด้านการบันทึกข้อมูลสำคัญครบถ้วน อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาปรับปรุงอีก เช่น การส่งเสริมให้ทันตแพทย์ทำแผนการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกับผู้ป่วยกรณีที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการรักษา การใช้แผ่นยางกันน้ำลายในการอุดฟันในผู้ป่วยเด็ก ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการต่อไป
บทคัดย่อ
In 2010, the Dental Council has prepared Thai Dental Safety Goals and Guidelines 2010 which was
distributed to members to learn and put into practice. It could be adjusted according to different context
of use to ensure maximum safety for both service providers and recipients. The purpose of this study was
to evaluate the dental service quality in Dontan Hospital against the Thai Dental Safety Goals and Guidelines
2010. Data was collected from 240 patients using a questionnaire to access patient treatment quality
according to Thai Dental Safety Goals and Guidelines 2010. The evaluation also assessed 240 copies of
complete medical records and self-evaluation was included. The methodology used is the quantitative
analysis of frequency, percentage, mean and standard deviation. The process started from July 1 and
ended on July 30, 2014. The study found that : 1. On average, patient evaluated the quality of treatment at
92.8 percent. 2. The average of completeness of information, especially in dentistry was about 66.3 percent.
3. Self-assessment evaluation was done at 89.09 percent for patient safety, the improvement of communication,
safe dental treatment, safe infection control and complete record. Nonetheless, there are also
rooms for improvement. Written treatment plan in complicated cases needs to be recorded. Quality of
service in pediatric treatment could be improved by using the dental dam.